ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2566 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 5, 2023 11:57 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights
          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2566 เท่ากับ 112.6เมื่อเทียบกับ         เดือนกันยายน 2565 (YoY)ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง หากพิจารณาเป็น         รายหมวดดัชนีมีทั้งสูงขึ้นและลดลง โดยส่วนใหญ่มีทิศทางสูงขึ้น ทั้งนี้ เป็นผลจากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ        การท่องเที่ยว ยกเว้นหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลง ร้อยละ 2.3 เนื่องจากอุปทานเหล็กในตลาดเอเชียและจีนสูงกว่าปีที่ผ่านมา เป็นผลจากปัญหา                        ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งการผลิตเหล็กของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่รวมทั้งประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.8 จากการลดลงของยางมะตอยเป็นสำคัญ ซึ่งทั้งสองหมวดมีสัดส่วนน้ำหนักมาก จึงส่งผลให้ดัชนีรวมไม่เปลี่ยนแปลง

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของหมวดซีเมนต์ หมวดวัสดุฉาบผิว หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจ อาทิ โครงการก่อสร้างระบบท่อ โครงการเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดสุขภัณฑ์ดัชนีราคาลดลง1. เทียบกับเดือนกันยายน 2565(YoY)ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของไม้โครงคร่าว ไม้แบบ ไม้พื้น เสาเข็มไม้ วงกบประตู -หน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจาก ค่าดำเนินการเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากความต้องการใช้ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของท่อระบายน้ำคอนกรีตคอนกรีตผสมเสร็จ และคอนกรีตหยาบ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.3 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กตัวซี และเหล็กรางน้ำ ตามการลดลงของราคาเหล็กในเอเชียและจีน

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (หินแร่ สี วัสดุแต่งสี) รวมทั้งความต้องการใช้ในการก่อสร้างและการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่เพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.1 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะและสีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของกระจกเงา ที่ใส่สบู่ ที่ใส่กระดาษชำระและสายน้ำดี สูงขึ้นจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากการสูงขึ้นของสายไฟฟ้า VCT สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายเคเบิล THWท่อ PVCและท่อระบายน้ำเสีย PVCสูงขึ้นตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.8 จากการลดลงของยางมะตอยที่ราคาปรับลดลงจากการแข่งขันที่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมา

2.เทียบกับเดือนสิงหาคม 2566 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้รวมทุกหมวด0.1 หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1
          หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.8 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา    ไม้คาน ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว และแผ่นไม้อัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจาก    ค่าดำเนินการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป สูงขึ้นตามความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบ ท่อระบายน้ำคอนกรีต เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ตามการสูงขึ้นราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.9 จากการลดลงของเหล็กฉากเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบดำ และลวดผูกเหล็ก ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชียและจีน)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้นกระเบื้องยาง PVCปูพื้น และกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้าง เพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิค ทาภายในและภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของที่ใส่สบู่ กระจกเงา สายน้ำดี และสายฉีดชำระ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและการปรับปรุงซ่อมแซมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

          หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของ         สายเคเบิล THWสายไฟฟ้า VAFสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (ดิน หิน ทราย) เนื่องจากแหล่งผลิตมีน้อย

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้0.0 ปูนฉาบสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ผสม และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากความต้องใช้ในการก่อสร้างโครงการของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นหมวดซีเมนต์0.1 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต0.0

เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อสแตนเลส และลวดผูกเหล็กตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชียและจีน)-0.1

          หมวดกระเบื้อง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดกระเบื้อง0.0 หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของซิลิโคน เนื่องจากสิ้นสุดกิจกรรมส่งเสริมการขายหมวดวัสดุฉาบผิว0.1 หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก           ราวจับสแตนเลส เนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หมวดสุขภัณฑ์-0.9 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของท่อ PVC ท่อระบายน้ำเสีย PVCและท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์PVCเนื่องจากต้นทุน0.1

วัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก) สูงขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมทั้งความต้องการใช้หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ0.3

          หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย        ที่สูงขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม3. เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้(%) AoA หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.8 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา    รวมทุกหมวด0.2 ไม้คาน ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว และแผ่นไม้อัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจาก    ค่าดำเนินการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้5.8

ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป สูงขึ้นตามความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหมวดซีเมนต์2.5 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบ ท่อระบายน้ำคอนกรีต เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ตามการสูงขึ้นราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต1.5

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.9 จากการลดลงของเหล็กฉากเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบดำ และลวดผูกเหล็ก -3.9 ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชียและจีน)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้นกระเบื้องยาง PVCปูพื้น และกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้าง หมวดกระเบื้อง0.9

เพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ หมวดวัสดุฉาบผิว3.5 สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิค ทาภายในและภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของที่ใส่สบู่ กระจกเงา สายน้ำดี หมวดสุขภัณฑ์1.2

          และสายฉีดชำระ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและการปรับปรุงซ่อมแซมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น1.0 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของ         สายเคเบิล THWสายไฟฟ้า VAFสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพิ่มขึ้นหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ0.3

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ

4.ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลงร้อยละ 0.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าดำเนินการ

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 3.9 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบ คอนกรีตผสมเสร็จ และรางน้ำคอนกรีต เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย และลวดผูกเหล็ก สูงขึ้นจากต้นทุนพลังงาน (ถ่านหินโค้ก) ที่ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของกระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องเคลือบปูพื้น เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.7 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะครีลิคทาภายในและภายนอก สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของกระจกเงา สายน้ำดี และที่ใส่กระดาษชำระ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและการปรับปรุงซ่อมแซมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 2.0 จากการลดลงของท่อPVC ข้อต่อท่อประปา และข้องอท่อประปา จากการลดลงตามราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของอลูมิเนียมเส้น อลูมิเนียมแผ่นเรียบ ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม)

5.ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ลดลงร้อยละ 0.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของไม้คาน ไม้แบบ เสาเข็มไม้ และวงกบประตู เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

          หมวดซีเมนต์ ลดลงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม                   และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากการก่อสร้างชะลอตัวกว่าไตรมาสที่ผ่านมา

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของรางน้ำคอนกรีต คอนกรีตหยาบ และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.2 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กตัวซีเหล็กเส้นผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย และท่อสแตนเลส ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลกและวัตถุดิบ (เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องมุงหลังคา เนื่องจากความต้องการใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของซิลิโคน เนื่องจากเป็นช่วงครึ่งปีหลัง ที่ผู้ประกอบการจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของท่อ PVC ข้อต่อท่อประปา และข้องอท่อประปา ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.4 จากการลดลงของยางมะตอยเป็นช่วงท้ายของปีงบประมาณที่ความต้องการใช้ในการก่อสร้างของภาครัฐลดลง

6. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 4ปี 2566

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากมาตรการลดค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ประกอบกับสถานการณ์อุปทานเหล็กส่วนเกินจากความต้องการใช้เหล็กในตลาดจีนที่ยังซบเซา ทำให้ราคาสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกและไทยมีโอกาสลดลง ขณะที่ความต้องการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ของไทยได้รับแรงกดดันจากระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา และการเบิกจ่ายภาครัฐตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 ที่อาจล่าช้า ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการวีซ่าฟรีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว การพักชำระหนี้เกษตรกร และโครงการก่อสร้างภาคเอกชนที่อาจจะฟื้นตัวตามภาคการท่องเที่ยว จะมีส่วนสนับสนุนให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในช่วงที่เหลือของปีเพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการจำกัดการผลิตและส่งออกน้ำมันของผู้ผลิตรายสำคัญของโลก และต้นทุนวัตถุดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ