ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2566 ไตรมาสที่ 4 และปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 5, 2024 14:05 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 112.0 เดือนธันวาคม 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.4 เป็นผลจากการลดลงของหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นสำคัญ ลดลงร้อยละ 2.8 โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน และความต้องการใช้เหล็กของภาคการก่อสร้างในประเทศชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากปีก่อนหน้า การก่อสร้างโครงการของทางภาครัฐที่ล่าช้าในช่วงรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ขณะที่ดัชนีหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นจากความต้องการใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและระบบสาธารณูปโภค

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 โดยภาพรวมดัชนีราคาเกือบทุกหมวดค่อนข้างทรงตัว และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.6 จากความต้องการใช้เหล็กในภาคการก่อสร้างชะลอตัว หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาลดลงร้อยละ 0.2 จากการแข่งขันของผู้ประกอบการที่เร่งทำยอดขายในช่วงปลายปี และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.9จากยางมะตอยที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2565(YoY)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 8.0 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน เสาเข็มไม้ วงกบประตู และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตหยาบ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และท่อระบายน้ำคอนกรีต เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย) สูงขึ้น

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.8 จากการลดลงของเหล็กฉากเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย และลวดผูกเหล็ก เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และครอบสันโค้ง ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี)

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นโลหะ สีรองพื้นปูน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว)

          หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของอ่างล้างหน้าเซรามิก        โถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส เนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTและท่อ PVCสูงขึ้นเนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของยางมะตอยที่ ลดลงตามราคาปิโตรเลียม

2.เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์ ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มไม้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มไม้ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของเหล็กตัวซีเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อสแตนเลส และลวดผูกเหล็กเนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน และความต้องการใช้เหล็กในภาคการก่อสร้างที่ชะลอตัว

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ จากการที่ผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.9 จากการลดลงของยางมะตอย ที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค. -ธ.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน ไม้แบบ เสาเข็มไม้ และไม้โครงคร่าว เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบคอนกรีตผสมเสร็จ และท่อระบายน้ำคอนกรีต ตามการสูงขึ้นราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของเหล็กตัวซีเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กรางน้ำ และลวดผูกเหล็ก เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และกระเบื้องเคลือบปูพื้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี) สูงขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก สีรองพื้นปูน และสีรองพื้นโลหะ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (กาว)

          หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของอ่างล้างหน้าเซรามิก        ที่ปัสสาวะเซรามิก กระจกเงา และที่ใส่สบู่ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
          หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของ         สายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VAFและท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากความต้องการใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของยางมะตอยที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม

4.ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลงร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.7 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าดำเนินการ

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของปูนฉาบสำเร็จรูป จากการแข่งขันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น (หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของเหล็กตัว I และเหล็กตัว Hสูงขึ้นจากต้นทุนเหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Slab) และพลังงาน (ถ่านหินโค้ก) ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.8 จากการลดลงของกระเบื้องปูพื้น และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นโลหะและสีทาถนน ชนิดสะท้อนแสง สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.7 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก และฝักบัวอาบน้ำ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 1.9 จากการลดลงของโคมดาวน์ไลท์และเครื่องตัดไฟอัตโนมัติเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

          หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.6 จากการลดลงของยางมะตอย        ที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม5.ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
          หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา        ไม้คาน ไม้แบบ และเสาเข็มไม้ เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

หมวดซีเมนต์ ลดลงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ที่ลดลงจากการก่อสร้างโครงการของทางภาครัฐที่ล่าช้าในช่วงรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตผสมเสร็จ รางน้ำคอนกรีต และท่อระบายน้ำคอนกรีต เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.0 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กเส้นผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย และลวดผูกเหล็ก เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของของกระเบื้องยาง PVCปูพื้นเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 4.3 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก สายน้ำดี สายฉีดชำระ และฝักบัวอาบน้ำ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวจาก อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการลดลงของท่อ PVC ข้อต่อท่อประปา และท่อระบายน้ำเสีย PVCความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของยางมะตอย ที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียมหมวดวัสดุฉาบผิว ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 4.3 6. ภาพรวมดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2566

          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2566 เฉลี่ยทั้งปีขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่ทำให้มีการก่อสร้าง และการปรับปรุงโครงการเชิงพาณิชย์ อาทิ โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก  เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ เป็นต้น รวมทั้งการก่อสร้างโครงการต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นต้น แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 4            ภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้น และการลงทุนในโครงการของทางภาครัฐที่อยู่ในกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กซึ่งเป็นหมวดสำคัญ ลดลงต่อเนื่อง 9เดือนติดต่อกัน เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน เป็นปัจจัยกดดันให้ราคาเหล็กตลาดโลกและในประเทศปรับลดลง ส่งผลให้ภาพรวมการก่อสร้างปี 2566 ขยายตัวเพียงเล็กน้อย7. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2567

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2567 มีแนวโน้มชะลอตัวเมื่อเทียบปี 2566 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัญหาหนี้สิน ภาคครัวเรือน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนของอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว รวมทั้งการลงทุนภาครัฐที่ล่าช้าจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง รวมถึงมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร และค่าไฟฟ้าไม่เกิน 4.2บาทต่อหน่วย จะเป็นปัจจัยให้ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างปรับลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยบวกที่เป็นแรงผลักดันให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวบ้างเล็กน้อย จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่อาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า รวมทั้งนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเหล็กของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อราคาของเหล็กในตลาดโลกและในประเทศปรับสูงขึ้น

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ