คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 39 ณ วันที่15 พฤศจิกายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สระบุรี สุโขทัย ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี
1. สงขลา เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 53 เกิดฝนตกหนักและต่อเนื่อง ปัจจุบันมีน้ำท่วมขัง 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สิงหนคร สทิงพระ บางกล่ำ ระดับประมาณ 0.30—0.50 เมตร
2. ตรัง เกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. — 1 พ.ย. 53 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง และกันตัง
3. สุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 19 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง พนม เคียนซา พุนพิน วิภาวดี เวียงสระ พระแสง ท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ บ้านนาสาร ไชยา ดอนสัก บ้านตาขุน บ้านนาเดิม คีรีรัฐนิคม เกาะพงัน ชัยบุรี เกาะสมุย ท่าชนะ ปัจจุบันมีน้ำท่วมขัง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไชยา กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก และพระแสง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 3 - 5 วัน
4. นครศรีธรรมราช มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 21 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวไทร ลานสกา สิชล ชะอวด ขนอม พิปูน นบพิดำ จุฬาภรณ์ เมือง ปากพนัง พรหมคีรี ทุ่งสง ท่าศาลา ถ้ำพรรณรา ช้างกลาง ร่อนพิบูลย์ พระพรหม ฉวาง บางขัน นาบอน ทุ่งใหญ่ ปัจจุบันมีน้ำท่วมขัง 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขนอม สิชล นบพิดำ ท่าศาลา พรหมคีรี เมืองนครศรีธรรมราช ลานสกา พระพรหมร่อนพิบูลย์ พิปูน ฉวาง ถ้ำพรรณรา นาบอน ทุ่งใหญ่ และทุ่งสง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 3-5 วัน
5. พัทลุง สถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากพะยูน ควนขนุน เขาชัยสน บางแก้ว เมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม 0.20—0.30 ม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 2-3 วัน
6. สระบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บ้านหมอ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง หนองโดน ปัจจุบันมีน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมอ และดอนพุด
7. สุโขทัย สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอกงไกลาศ ตำบลกง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน
8. ชัยนาท สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 3-4 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินขาม หันคา เมืองชัยนาท วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ สรรพยา ปัจจุบันมีน้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท วัดสิงห์ มโนรมย์ และสรรพยา คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 15 พฤศจิกายน 2553
9. พระนครศรีอยุธยา สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน อุทัย บางซ้าย ลาดบัวหลวง นครหลวง บางปะหัน บ้านแพรก สถานการณ์ปัจจุบันน้ำเริ่มลดลง
10. นนทบุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด เมืองนนทบุรี บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อย
11. ปทุมธานี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ
12. สุพรรณบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ เดิมบางนางบวช อู่ทอง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และสองพี่น้อง
13. ศรีสะเกษ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอราศีไศล กันทรารมย์ ศิลาลาด บึงบูรพ์ และยางชุมน้อย
14. สุรินทร์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19 ต.ค.53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี กาบเชิง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าตูม และรัตนบุรี
15. ขอนแก่น สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 20 ต.ค.53 ในพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงใหญ่ แวงน้อย ชนบท บ้านแฮด มัญจาคีรี โคกโพธิ์ชัย โนนศิลา เปลือยน้อย หนองสองห้อง ภูเวียงเมือง น้ำพอง อุบลรัตน์ หนองนาคำ ปัจจุบันมีน้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชนบท มัญจาคีรี เมือง และอุบลรัตน์
16. กาฬสินธุ์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย ร่องคำ ฆ้องชัย
17. มหาสารคาม สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง โกสุมพิสัย กุดรัง เชียงยืน กันทรวิชัย นาเชือก บรบือ ปัจจุบันมีน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ เมือง โกสุมพิสัย และกันทรวิชัย
18. ร้อยเอ็ด สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอจังหาร และขวัญเชียง
19. อุบลราชธานี สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง วารินชำราบ
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (15 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำ ทั้งหมด 55,923 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน(56,059 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 136 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 32,082 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (58,680 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80) จำนวน 2,757 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างจำนวน 75.41 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 102.53 ล้าน ลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 17,632 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (15 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 52,336 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน(52,467 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 131 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,813 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (55,457 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80) จำนวน 3,121 ล้านลูกบาศก์เมตร วันนี้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 69.61 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 96.03 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 17,259 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำ ในอ่างปี ใช้การได้ ไหลลงอ่าง ระบาย รับได้อีก ปริมาตรน้ำ % ปริมาตรน้ำ % วันนี้ เมื่อวาน วันนี้ เมื่อวาน 1.ภูมิพล 8,718 65 4,918 37 13.12 11.42 5 5 4,744 2.สิริกิติ์ 7,810 82 4,955 52 5.51 7.98 7.06 7.17 1,700 ภูมิพล+สิริกิติ์ 16,528 72 9,814 43 18.63 19.4 12.06 12.17 6,444 3.แควน้อยฯ 773 101 740 96 0.75 3.56 3.46 3.46 0 4.ป่าสักชลสิทธิ์ 960 100 964 100 4.65 1.77 4.65 1.73 0 รวม 4 อ่างฯ 18,261 74 11,518 47 24.03 24.73 20.17 17.36 6,444
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 22 อ่าง ดังนี้
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหล ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำรับได้อีก ลงอ่าง ปริมาตร % ความจุ ปริมาตร % ความจุ วันนี้ เมื่อ วันนี้ เมื่อ น้ำ อ่างฯ น้ำ อ่างฯ วาน วาน 1.สิริกิติ์ 7,810 82 4,960 52 5.51 7.98 7.06 7.17 1,700 2.แม่งัดฯ 280 106 258 97 0.86 0.98 0.8 0.43 0 3.กิ่วลม 103 92 99 88 1.89 0.75 1.7 0.12 9 4.กิ่วคอหมา 197 116 191 112 1 0.57 1.28 0.15 0 5.แควน้อยฯ 773 101 737 96 0.75 3.56 3.46 3.46 0 6.ห้วยหลวง 126 107 121 103 0.02 0 0.14 0.18 0 7.จุฬาภรณ์ 169 103 125 76 0.39 0.28 1.02 1.02 0 8.อุบลรัตน์ 2,621 108 2,040 84 2.19 2 28.83 28.52 0 9.ลำปาว 1,258 88 1,173 82 0 1.28 1.3 1.28 172 10. ลำตะคอง 348 111 321 102 0.98 1.4 1.17 1.21 0 11.ลำพระเพลิง 108 98 107 97 0.09 0.2 0.52 0.52 1 12.มูลบน 116 82 109 77 0.05 0.05 0.34 0.34 25 13.ลำแซะ 247 90 240 87 0.03 0.32 0.89 0.89 28 14.สิรินธร 1,587 81 756 38 0.83 0.83 0 0 379 15.ป่าสักฯ 960 100 957 100 4.65 1.77 4.65 1.73 0 16.ทับเสลา 162 101 154 96 0.45 0.45 0.45 0.45 0 17.กระเสียว 250 104 210 88 1.3 1.3 1.47 1.47 0 18.ขุนด่านฯ 219 98 214 96 0.16 0.16 0.25 0.26 5 19.คลองสียัด 419 100 389 93 0 0 0 0.65 1 20.บางพระ 95 81 83 71 0.08 0.08 0.08 0.09 22 21.หนองปลาไหล 164 100 150 92 0.42 0.39 0.4 0.37 0 22.ประแสร์ 247 100 227 92 0 0 0.06 0.3 1
2. สภาพน้ำท่า
ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น แม่น้ำมูล อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,704 ลบ.ม./วินาที(ลดลงจากเมื่อวาน 64 ลบ.ม./วินาที)
ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,516 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 32ลบ.ม./วินาที)
รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 191 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 51 ลบ.ม./วินาที) และทุ่งฝั่งตะวันตก 278 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 5 ลบ.ม./วินาที)
ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก (ปิดการระบาย) 14 พ.ย. 7 ลบ.ม./วินาที
การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
1. แจ้งเตือนให้เตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 4 ฉบับ
2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้ว จำนวน 659 เครื่อง ในพื้นที่ 38 จังหวัด ดังนี้
ภาคเหนือ 5 จังหวัด จำนวน 23 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดลำพูน(2) พิษณุโลก(2) นครสวรรค์(15) กำแพงเพชร(2) สุโขทัย(2)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด จำนวน 81 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น(24) มหาสารคาม(4) ร้อยเอ็ด(18) กาฬสินธุ์(7) อุบลราชธานี(4) บุรีรัมย์(1) ศรีสะเกษ(4) นครราชสีมา(15) สุรินทร์(4)
ภาคกลาง 14 จังหวัด 414 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(20) ลพบุรี(37) สิงห์บุรี(52) สระบุรี(12) พระนครศรีอยุธยา(36) อ่างทอง(32) อุทัยธานี(4) สุพรรณบุรี(52) นนทบุรี(57) ปทุมธานี(56) กรุงเทพฯ(3) ฉะเชิงเทรา(18) นครปฐม(31) สมุทรสาคร(4)
ภาคตะวันออก 1 จังหวัด จำนวน 5 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(5)
ภาคใต้ 9 จังหวัด จำนวน 136 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(1) สุราษฎร์ธานี(6) นครศรีธรรมราช (33) พัทลุง(9) สงขลา(58) ปัตตานี(7) ตรัง(1) ยะลา(2) นราธิวาส(19)
เครื่องผลักดันน้ำรวมจำนวน 72 เครื่อง ได้แก่จังหวัด สุพรรณบุรี (17) กรุงเทพฯ(7) พระนครศรีอยุธยา(7) นครปฐม(20) สงขลา(21)
รถบรรทุกจำนวน 5 คัน ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(5 คัน)
รถแบ็คโฮ จำนวน 21 คัน ได้แก่ ลพบุรี(21 คัน)
รถบรรทุกเทท้าย 6 ตัน จำนวน 6 คัน ได้แก่ ลพบุรี(6 คัน)
3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 2,363,830 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 577,924 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 3,926 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 652 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 509,646 ตัว (ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 141,959 ตัว)
ผลกระทบด้านการเกษตร
ด้านพืช แบ่งเป็น 3 ช่วงภัย
1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด
คาดว่าจะเสียหาย 2,757,236 ไร่ ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 4 พ.ย.53) พบว่าเสียหายแล้ว 868,225 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 778,640 ไร่ พืชไร่ 77,385 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 12,539 ไร่ เกษตรกร 101,745 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 1,008.31 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 167.48 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 100.16 ล้านบาท) เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 67.32 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 480.83 ล้านบาท
2. ช่วงภัยวันที่ 1 ตุลาคม — 12 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 53 ยกเว้น ภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 48 จังหวัด
คาดว่าจะเสียหาย 6,918,802 ไร่ แยกเป็น ข้าว 5,206,301 พืชไร่ 1,525,165 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 187,336 ไร่ เกษตรกร 555,198 ราย
3. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้ และไม่รวมพื้นที่ความเสียหายของยางพารา) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พัทลุง ปัตตานี ยะลา สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา
คาดว่าจะเสียหาย 852,604 ไร่ แยกเป็น ข้าว 374,112 พืชไร่ 38,486 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 440,006 ไร่ เกษตรกร 329,175 ราย
พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย (ยางพารา) ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พ.ย. 53) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัด นราธิวาส กระบี่ พัทลุง ปัตตานี สตูล สงขลา ชุมพร ระนอง ยะลา ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี คาดว่าจะเสียหาย 212,074 ไร่
รวม 3 ช่วงภัย
ช่วงภัย เกษตรกรราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย (ไร่) ข้าว พืชไร่ พืชสวน รวมทั้งสิ้น 1 ส.ค. - 30 ก.ย.53 293,947 2,441,369 283,617 32,250 2,757,236 1 ต.ค. — 12 พ.ย.53 555,198 5,206,301 1,525,165 187,336 6,918,802 1 พ.ย. — ปัจจุบัน (ไม่รวมยางพารา) 329,175 374,112 38,486 440,006 852,604 ยางพารา 1 พ.ย.— ปัจจุบัน(ภาคใต้) - - - 212,074 212,074 รวม 1,178,320 8,021,782 1,847,268 871,666 10,740,716
ด้านประมง แบ่งเป็นความเสียหายเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเรือประมง ดังนี้
1. พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1.1 ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 10 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 55 จังหวัด
คาดว่าจะเสียหาย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 131,550 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 105,455 ตารางเมตร เกษตรกร 84,072 ราย ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 29 ต.ค.53) พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงเสียหายแล้ว 9,496 ไร่ และ 10,267 ตารางเมตร คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 31.65 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 17.92 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 12.84 ล้านบาท เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 5.08 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 13.73 ล้านบาท
1.2 ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่จังหวัด พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
คาดว่าจะเสียหาย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 14,619 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 112,236 ตารางเมตร เกษตรกร 13,027 ราย
รวม 2 ช่วงภัย
ช่วงภัย จำนวนจังหวัด เกษตรกรราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย ไร่ ตรม. 1 ส.ค.— 10 พ.ย. 53 55 84,072 131,550 105,455 1 พ.ย. - ปัจจุบัน 10 13,027 14,619 112,236 รวม 97,099 146,169 217,691
2. เรือประมง ช่วงระหว่าง วันที่ 31 ตุลาคม — 12 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 53) ประสบภัยพิบัติทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี กระบี่ ตรัง พัทลุง ชุมพร จำนวน 1,096 ลำ แบ่งเป็น เรือประมงพานิช 67 ลำ เรือประมงพื้นบ้าน 1,029 ลำ
ด้านปศุสัตว์ แบ่งเป็น 2 ช่วงภัย
1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 11 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 41 จังหวัด
คาดว่าจะเสียหาย เกษตรกร 137,944 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 17,170,467 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 400,798 ตัว สุกร 401,414 ตัว แพะ - แกะ 22,438 ตัว สัตว์ปีก 16,345,817 ตัว แปลงหญ้า 37,467 ไร่
2. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส สงขลา กระบี่ ยะลา ชุมพร สุราษฎร์ธานี
คาดว่าจะเสียหาย เกษตรกร 112,075 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 5,302,997 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 250,962 ตัว สุกร 236,556 ตัว แพะ - แกะ 50,903 ตัว สัตว์ปีก 4,764,576 ตัว แปลงหญ้า 6,305 ไร่
รวม 2 ช่วงภัย
ช่วงภัย เกษตรกรราย คาดว่าจะเสียหาย (ตัว) โค-กระบือ สุกร แพะ-แกะ สัตว์ปีก รวม แปลงหญ้า (ไร่) 1 ส.ค. — 11 พ.ย.53 137,944 400,798 401,414 22,438 16,345,817 17,170,467 37,467 1 พ.ย. - ปัจจุบัน 112,075 250,962 236,556 50,903 4,764,576 5,302,997 6,305 รวม 250,019 651,760 637,970 73,341 21,110,393 22,473,464 43,772
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2553--จบ--