สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 41

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 1, 2010 16:39 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 41 ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การช่วยเหลือด้านการเกษตร และผลกระทบด้านการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งประเทศ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และพัทลุง

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (29 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 55,189 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน (55,410 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 221 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 31,348 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (58,268 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79) จำนวน 3,006 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (29 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 51,678 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน(51,874 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 196 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,155 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (55,006 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79) จำนวน 3,328 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                         หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
          อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                            ในอ่างปี       ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย     รับได้อีก
                      ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
          1.ภูมิพล         8,774  65      4,974   37    10.34    8.03        5      5     4,688
          2.สิริกิติ์         7,791  82      4,941   52     5.47     7.8     7.02   6.99     1,719
          ภูมิพล+สิริกิติ์     16,565  72      9,915   43    15.81   15.83    12.02  11.99     6,407
          3.แควน้อยฯ        752  98        716   93      1.6    1.61     2.59   2.59        17
          4.ป่าสักชลสิทธิ์      857  89        854   89     0.52    0.52     1.75   1.75       103
          รวม 4 อ่างฯ    18,179  74     11,485   46    17.93   17.96    16.36  16.33     6,522

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 22 อ่าง ดังนี้

                                                                                     หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำรับได้อีก
                                                                   ลงอ่าง
                    ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                        น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
1.สิริกิติ์               7,791       82      4,941        52     5.47    7.8   7.02    6.99         1,719
2.แม่งัดฯ                272      103        250        94     0.38   0.19   0.32     0.3             0
3.กิ่วลม                 104       93        100        89      3.8   3.23   4.79    3.45             8
4.กิ่วคอหมา              187      110        181       106     0.54   0.12   1.67    1.67             0
5.แควน้อยฯ              752       98        716        93      1.6   1.61   2.59    2.59            17
6.ห้วยหลวง              122      103        117        99        0      0   0.05    0.05             0
7.จุฬาภรณ์               159       97        115        70      0.1   0.24   0.91    0.96             5
8.อุบลรัตน์             2,325       96      1,744        72        0    2.8   9.15    8.89           107
9.ลำปาว              1,241       87      1,156        81        0      0      0    1.24           189
10. ลำตะคอง            343      109        316       101      2.3   1.01   0.79       0             0
11.ลำพระเพลิง           105       95        104        94      0.1   0.11      0       0             4
12.มูลบน                115       82        108        77     0.15   0.15      0       0            26
13.ลำแซะ               244       89        237        86     0.28      0      0       0            31
14.สิรินธร             1,585       81        754        38     0.83   0.83      0       0           381
15.ป่าสักฯ               857       89        854        89     0.52   0.52   1.75    1.75           103
16.ทับเสลา              161      101        153        96     0.16      0   0.16    0.16             0
17.กระเสียว             248      103        208        87      0.6   0.25   0.06    0.06             0
18.ขุนด่านฯ              214       96        209        93     0.07   0.06   0.22    0.31            10
19.คลองสียัด             404       96        374        89        0      0   1.65    1.15            16
20.บางพระ               96       82         84        72     0.07    0.1   0.08    0.07            21
21.หนองปลาไหล          163       99        149        92     0.64   0.64   0.42    0.42             1
22.ประแสร์              242       98        222        90     0.08   0.08    0.2    0.44             6

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น แม่น้ำมูล อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 674 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 48 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 325 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 66 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 177 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 29 ลบ.ม./วินาที) และรับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 214 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 1 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 25 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 5 ลบ.ม./วินาที)

การช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 1 ฉบับ พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี และภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ภูเก็ต กระบี่ สตูล และตรัง

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เครื่องผลักดันน้ำ รถบรรทุก ดังนี้

2.1 เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 538 เครื่อง ในพื้นที่ 34 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 4 จังหวัด จำนวน 8 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด จำนวน 86 เครื่อง ภาคกลาง 13 จังหวัด 293 เครื่อง ภาคตะวันออก 1 จังหวัด จำนวน 4 เครื่อง ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 147 เครื่อง

2.2 เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 77 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี (17) กรุงเทพฯ(7) พระนครศรีอยุธยา (17) นครปฐม(20) สงขลา(16)

2.3 รถบรรทุก จำนวน 5 คัน ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(5 คัน)

2.4 รถแบ็คโฮ จำนวน 21 คัน ได้แก่ จังหวัดลพบุรี(21 คัน)

2.5 รถบรรทุกเทท้าย 6 ตัน จำนวน 6 คัน ได้แก่ จังหวัดลพบุรี(6 คัน)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 3,043,105 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 41,480 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 6,834 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 143 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 593,575 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 36,242 ตัว)

ผลกระทบด้านการเกษตร

ด้านพืช แบ่งเป็น 3 ช่วงภัย

1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด พื้นที่ประสบภัย 2,757,236 ไร่ ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 19 พ.ย.53) พบว่าเป็นพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงแล้ว 1,137,460 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,047,476 ไร่ พืชไร่ 77,439 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 12,545 ไร่ เกษตรกร 120,319 ราย

2. ช่วงภัยวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 26 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ย. 53 ยกเว้น ภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 51 จังหวัด พื้นที่ประสบภัย 7,291,649 ไร่ แยกเป็น ข้าว 5,549,125 ไร่ พืชไร่ 1,542,063 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 200,461 ไร่ เกษตรกร 602,461 ราย

3. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้ และไม่รวมพื้นที่ความเสียหายของยางพารา) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พัทลุง ปัตตานี ยะลา สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลาพื้นที่ประสบภัย 900,757 ไร่ แยกเป็น ข้าว 374,375 พืชไร่ 39,763 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 486,619 ไร่ เกษตรกร 331,732 ราย

พื้นที่ประสบภัย (ยางพารา) ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พ.ย. 53) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนราธิวาส กระบี่ พัทลุง ปัตตานี สตูล สงขลา ชุมพร ระนอง ยะลา ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พื้นที่ประสบภัย 212,074 ไร่

ช่วงภัย                          จำนวน  เกษตรกร (ราย)                    พื้นที่ประสบภัย (ไร่)
                               จังหวัด                        ข้าว       พืชไร่      พืชสวน      รวมทั้งสิ้น
1 ส.ค. - 30 ก.ย.53                53        293,947   2,441,369    283,617     32,250    2,757,236
1 ต.ค. — 26 พ.ย.53                51        602,719   5,549,125  1,542,063    200,461    7,291,649
1 พ.ย. — ปัจจุบัน                    12        331,732     374,375     39,763    486,619      900,757
(เฉพาะภาคใต้และไม่รวมยางพารา)
ยางพารา 1 พ.ย.— ปัจจุบัน (ภาคใต้)     12              -           -          -    212,074      212,074
รวม                                       1,228,398   8,364,869  1,865,443    931,404   11,161,716

ด้านประมง แบ่งเป็นความเสียหายเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเรือประมง ดังนี้

1. พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งเป็น 2 ช่วงภัย

1.1 ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 23 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 53 จังหวัด เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 148,563 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 580,306 ตารางเมตร เกษตรกร 89,799 ราย ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 23 พ.ย. 53) พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงเสียหายแล้ว 19,116 ไร่ และ 14,342 ตารางเมตร

1.2 ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัด ชุมพร พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 26,979 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 152,330 ตารางเมตร เกษตรกร 21,204 ราย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                ช่วงภัย                       จำนวน    เกษตรกร          พื้นที่ประสบภัย
                                            จังหวัด      (ราย)         ไร่       ตรม.
                1 ส.ค.— 23 พ.ย. 53             55     89,799    148,563    580,306
                1 พ.ย. — ปัจจุบัน                 12     21,204     26,979    152,330

(เฉพาะภาคใต้)

                รวม                            67    111,003    175,542    732,636

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. เรือประมง ช่วงระหว่าง วันที่ 31 ตุลาคม — 12 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 53) ประสบภัยพิบัติทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี กระบี่ ตรัง พัทลุง ชุมพร จำนวน 1,096 ลำ แบ่งเป็น เรือประมงพานิช 67 ลำ เรือประมงพื้นบ้าน 1,029 ลำ

ด้านปศุสัตว์ แบ่งเป็น 2 ช่วงภัย

1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 24 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 42 จังหวัด เกษตรกร 163,669 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 22,378,286 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 436,200 ตัว สุกร 444,217 ตัว แพะ - แกะ 30,294 ตัว สัตว์ปีก 21,472,945 ตัว แปลงหญ้า 39,407 ไร่

2. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส สงขลา กระบี่ ยะลา ชุมพร สุราษฎร์-ธานี เกษตรกร 115,025 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 5,360,066 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 259,074 ตัว สุกร 237,172 ตัว แพะ - แกะ 46,656 ตัว สัตว์ปีก 4,811,794 ตัว แปลงหญ้า 6,305 ไร่

ช่วงภัย                เกษตรกร                                ประสบภัย
                       (ราย)   โค-กระบือ        สุกร   แพะ-แกะ         สัตว์ปีก           รวม    แปลงหญ้า
                                   (ตัว)       (ตัว)      (ตัว)          (ตัว)          (ตัว)       (ไร่)
1 ส.ค. — 25 พ.ย.53   163,669    436,200    444,217    30,294    21,472,945    22,378,286     39,407
1 พ.ย. — ปัจจุบัน       115,025    259,074    237,172    46,656     4,811,794     5,360,066      6,305
(เฉพาะภาคใต้)
รวม                  278,694    695,274    681,389    76,950    26,284,739    27,738,352     45,712

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ