มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 4, 2011 13:29 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม (กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัย

ยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบหลักเกณฑ์มาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์ และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย

2. เห็นชอบชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นเวลา 1 ปี คิดเป็นจำนวนไม่เกิน 15 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ บสย. เบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง โดยให้ บสย. ประสานกับสำนักงบประมาณในการเบิกจ่ายต่อไป

หลักเกณฑ์โครงการราชประสงค์ฯ

กระทรวงการคลังได้นำความเห็นจากการประชุมดังกล่าว จัดทำหลักเกณฑ์โครงการราชประสงค์ฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัท ประกันภัย โดยใช้วงเงิน 2,000 ล้านบาทเดิมของโครงการราชประสงค์ฯ ในส่วนของสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย สรุปได้ดังนี้

          รายการ               หลักเกณฑ์เดิม                              หลักเกณฑ์ใหม่
          ระยะเวลาโครงการ      สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อ ภายในวันที่ 31           สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อภายในวันที่
                               ธันวาคม 2553 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน          30 มิถุนายน 2554 หรือจนกว่าจะเต็ม
                               สินเชื่อของโครงการ                         วงเงินสินเชื่อของโครงการ
          คุณสมบัติผู้กู้             1.  เป็นผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัย       1. เป็นผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์
                               แต่ยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย      ประกันภัย แต่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน
                               ทั้งนี้ ต้องมีการดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี        จากบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ จะต้องมีหนังสือ
                               บริษัท ประกันภัยต่อศาลแล้ว                    รับรองการไม่ได้รับสินไหมทดแทนจาก
                                                                       สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม
                                                                       การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
          วัตถุประสงค์การกู้        1. เพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างอาคาร       1. เพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้าง
                               สิ่งปลูกสร้างสถานประกอบการที่ได้รับความ         อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานประกอบการ
                               เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ หรือความเสียหายที่      ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ หรือ
                               เกี่ยวเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้                   ความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้
                                                                       2. ชำระหนี้ให้สถาบันการเงินที่ได้กู้เพื่อ
                                                                       วัตถุประสงค์ตามข้อ 1
          หลักประกัน             ไม่ต้องมีหลักประกัน (Clean Loan)             กรณี วงเงินขอกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่ต้อง
                                                                       มีหลักประกัน (Clean Loan) กรณี วงเงิน
                                                                       ขอกู้เกิน 5 ล้านบาท วงเงินกู้ที่เกินจาก 5
                                                                       ล้านบาทแรก ต้องมีหลักประกัน โดย
                                                                       เลือกใช้หลักประกันแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
                                                                       หรือหลายแนวทางร่วมกัน ดังนี้
                                                                       1. ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูก
                                                                       สร้าง อาคารชุด ห้องชุด เครื่องจักร
                                                                       อุปกรณ์ การรับโอนสิทธิการเช่าใน
                                                                       อสังหาริมทรัพย์ของที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์
                                                                       ให้คิดเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 100
                                                                       ของมูลค่าราคาที่รับหลักประกันของธนาคาร
                                                                       2. บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ค้ำประกัน
                                                                       3. การค้ำประกันไขว้ (Cross Guarantee)
                                                                       ระหว่างผู้กู้ โดย ผู้กู้ และผู้ค้ำประกันต้องยื่น
                                                                       ขอสินเชื่อพร้อมกันและผ่านการอนุมัติของธนาคาร
                                                                       ทั้งคู่
                                                                       4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
                                                                       ขนาดย่อม (บสย.) ทั้งนี้ กรณีที่ บสย. รับ
                                                                       ผิดจ่ายค่าประกันชดเชยบางส่วนต้องมี
                                                                       หลักประกันตามข้อ 1 - 3 ประกันในส่วนที่
                                                                       บสย.ไม่รับผิดฯ
          การชดเชย             ไม่มี                                     เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากผู้กู้
          ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน                                            ปีที่ 1 อัตรา  1.00%  ต่อปี ของวงเงินค้ำ
          สินเชื่อของ บสย.                                                ประกัน
                                                                       ปีที่ 2 - 6 อัตรา 1.75%  ต่อปี ของ
                                                                       วงเงินค้ำประกัน รัฐชดเชยค่าธรรมเนียม
                                                                       ค้ำประกันในอัตราร้อยละ 0.75 เป็นเวลา 1 ปี

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤษภาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ