ทำเนียบรัฐบาล--4 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโน โลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับภาคเอกชน ในวงเงิน 900 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้คือ รัฐบาลลงทุน จำนวน 600 ล้านบาทภาคเอกชนสนับสนุนเงินลงทุน จำนวน 300 ล้านบาท และให้สำนัก งบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปี 2541 เป็นเงินงบประ มาณปีละ 200 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีเส้นวงจรขนาดต่ำกว่า 0.5 ไมครอนโดยร่วมมือกับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ
2) เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มากสำหรับงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยและการผลิตปริมาณต่ำของภาคเอกชนอื่น ๆ
3) เพื่อผลิตบุคลากรระดับปริญญาเอกที่ชำนาญทางด้านเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง ทางด้านการออกแบบและการประดิษฐ์วงจรรวมขนาดใหญ่มาก โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ใน ประเทศ
4) เป็นศูนย์กลางการออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก (Design Center) สำหรับมหา วิทยาลัยและภาคเอกชนต่าง ๆ
5) เป็นศูนย์กลางสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี packaging testing และ failureanalysis ของวงจรรวม
2. สถานที่ดำเนินงาน
สถานที่ตั้งศูนย์วิจัยฯ จะอยู่ในตึกไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสร้างอยู่ติดกับอาคารของศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์รังสิต ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างใน ปลายปี 2538 หรืออยู่ในบริเวณใกล้กับบริษัท ซับไมครอนเทคโนโลยี จำกัด
3. ระยะเวลาก่อสร้างที่ทำการ
ศูนย์วิจัยฯ จะใช้เวลา 3 ปี ในการเริ่มก่อตั้ง โดยเริ่มจากปีงบประมาณ 2539 จนถึงปีงบ ประมาณ 2543
4. เงินลงทุนโครงการ
1) งบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 600 ล้านบาท
2) งบประมาณสมทบจากบริษัท ซับไมครอนเทคโนโลยี จำกัด จำนวน 300 ล้านบาท
5. แผนงานวิจัยและพัฒนาโครงการย่อยในระยะ 5 ปีแรก (2539 - 2543)
1) โครงการวิจัยและพัฒนาขบวนการผลิต เพื่อพัฒนาขบวนการผลิตบางขบวนการ ซึ่งเหมาะ กับการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ขนาด 0.35 ไมครอน
2) โครงการวิจัยและพัฒนาสายการผลิตต้นแบบ เพื่อพัฒนาสายการผลิตต้นแบบวงจรรวม ขนาดใหญ่มาก ขนาด 0.5 ไมครอน
3) โครงการวิจัยและพัฒนาการออกแบบวงจรรวม เพื่อยกระดับความสามารถในการออก แบบวงจรรวมของนักออกแบบคนไทยให้สามารถออกแบบให้กับภาคอุตสาหกรรมได้
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศทางด้านไมโครอิเล็ก ทรอนิกส์ขึ้นเกิดอุตสาหกรรมการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง สามารถผลิต บุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก สนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถลดการสูญเสียเงินตราที่จำเป็นต้องจ่ายในการจัดหาเทคโนโลยี มีความมั่นคงทางด้านเทค โนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในระดับหนึ่ง กระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมข้างเคียงและต่อเนื่อง เช่น อุต สาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 3 ตุลาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโน โลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับภาคเอกชน ในวงเงิน 900 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้คือ รัฐบาลลงทุน จำนวน 600 ล้านบาทภาคเอกชนสนับสนุนเงินลงทุน จำนวน 300 ล้านบาท และให้สำนัก งบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปี 2541 เป็นเงินงบประ มาณปีละ 200 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีเส้นวงจรขนาดต่ำกว่า 0.5 ไมครอนโดยร่วมมือกับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ
2) เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มากสำหรับงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยและการผลิตปริมาณต่ำของภาคเอกชนอื่น ๆ
3) เพื่อผลิตบุคลากรระดับปริญญาเอกที่ชำนาญทางด้านเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง ทางด้านการออกแบบและการประดิษฐ์วงจรรวมขนาดใหญ่มาก โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ใน ประเทศ
4) เป็นศูนย์กลางการออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก (Design Center) สำหรับมหา วิทยาลัยและภาคเอกชนต่าง ๆ
5) เป็นศูนย์กลางสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี packaging testing และ failureanalysis ของวงจรรวม
2. สถานที่ดำเนินงาน
สถานที่ตั้งศูนย์วิจัยฯ จะอยู่ในตึกไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสร้างอยู่ติดกับอาคารของศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์รังสิต ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างใน ปลายปี 2538 หรืออยู่ในบริเวณใกล้กับบริษัท ซับไมครอนเทคโนโลยี จำกัด
3. ระยะเวลาก่อสร้างที่ทำการ
ศูนย์วิจัยฯ จะใช้เวลา 3 ปี ในการเริ่มก่อตั้ง โดยเริ่มจากปีงบประมาณ 2539 จนถึงปีงบ ประมาณ 2543
4. เงินลงทุนโครงการ
1) งบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 600 ล้านบาท
2) งบประมาณสมทบจากบริษัท ซับไมครอนเทคโนโลยี จำกัด จำนวน 300 ล้านบาท
5. แผนงานวิจัยและพัฒนาโครงการย่อยในระยะ 5 ปีแรก (2539 - 2543)
1) โครงการวิจัยและพัฒนาขบวนการผลิต เพื่อพัฒนาขบวนการผลิตบางขบวนการ ซึ่งเหมาะ กับการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ขนาด 0.35 ไมครอน
2) โครงการวิจัยและพัฒนาสายการผลิตต้นแบบ เพื่อพัฒนาสายการผลิตต้นแบบวงจรรวม ขนาดใหญ่มาก ขนาด 0.5 ไมครอน
3) โครงการวิจัยและพัฒนาการออกแบบวงจรรวม เพื่อยกระดับความสามารถในการออก แบบวงจรรวมของนักออกแบบคนไทยให้สามารถออกแบบให้กับภาคอุตสาหกรรมได้
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศทางด้านไมโครอิเล็ก ทรอนิกส์ขึ้นเกิดอุตสาหกรรมการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง สามารถผลิต บุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก สนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถลดการสูญเสียเงินตราที่จำเป็นต้องจ่ายในการจัดหาเทคโนโลยี มีความมั่นคงทางด้านเทค โนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในระดับหนึ่ง กระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมข้างเคียงและต่อเนื่อง เช่น อุต สาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 3 ตุลาคม 2538--