ทำเนียบรัฐบาล--27 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (DPL) และมีมติรับหลักการในเรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฎในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) เพื่อส่งให้ธนาคารพัฒนาเอเซียต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า มีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้จ่ายในการส่งเสริมการส่งออก เพิ่มสภาพคล่อง และลดผลกระทบทางสังคม กระทรวงการคลังจึงได้ประสานงานกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย เพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้รายนี้ได้ในโอกาสแรก และได้กำหนดการเจรจาในรายละเอียดร่างสัญญาเงินกู้ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในวันที่4-6 กุมภาพันธ์ 2541 ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารพัฒนาเอเซีย กรุงมะนิลา ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในการนี้ จำเป็นที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการและเงื่อนไขในการกู้เงินรายนี้ รวมทั้งรายละเอียดของหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา ซึ่งเป็นพันธะที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติภายใต้โครงการเงินกู้รายนี้ ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 ทั้งนี้ เพื่อที่ธนาคารฯ จะสามารถจัดเตรียมเอกสารประกอบคำขออนุมัติให้เงินกู้ต่อคณะกรรมการบริหารในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541 และจัดประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติให้เงินกู้รายนี้แก่ประเทศไทยได้ในวันที่ 5 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการก่อนลงนามในสัญญากู้เงินในอันที่จะช่วยให้สามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2541หนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา Development Policy Letter (DPL) มีสาระสำคัญ ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. บรรเทาภาวะวิกฤติที่มีผลกระทบต่อสังคม
2. ปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทยในการแข่งขันในตลาดนานาชาติ
3. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางสังคม
กำหนดการกู้เงิน
เจรจาเงินกู้ - 4 - 6 กุมภาพันธ์ 2541
ส่งเอกสารและร่างสัญญาเงินกู้ให้ - 12 กุมภาพันธ์ 2541
คณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ
คณะกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้ - 5 มีนาคม 2541
การเบิกจ่าย
กรณีที่ 1 วงเงินกู้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 1 = 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 2 = 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
กรณีที่ 2 วงเงินกู้ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 1 = 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 2 = 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
หมายเหตุ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับธนาคารเพื่อเบิกเงินงวดที่ 1 400 ล้าน เหรียญสหรัฐ และงวดที่ 2 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงื่อนไขการกู้เงิน
- วงเงิน 300 - 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
- อัตราดอกเบี้ย ปัจจุบัน 6.93% ต่อปี
- ระยะเวลาการกู้เงิน 15 ปี (รวมระยะปลอดหนี้ 3 ปี)
- ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ ภายใน 2 ปี เบิกจ่ายได้ 2 งวด
งวดที่ 1 เบิกจ่ายได้ทันทีที่สัญญามีผลบังคับใช้ (มี.ค. 2541)
งวดที่ 2 เบิกจ่ายได้ภายใน 12 เดือนหลังจากเบิกงวดแรกแล้ว
- ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ 0.75% ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
นโยบายและมาตรการที่ต้องดำเนินการ
ด้านแรงงาน
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. ให้ความช่วยเหลือผู้ตกงาน - จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ตกงาน - จัดทำมาตรการรองรับผู้ตกงาน
- ให้สวัสดิการสังคม
2. บรรเทาความยากจน - ให้สวัสดิการสังคมแก่ผู้ตกงานจัดสรร - จัดสรรงบบรรเทาความยากจนตามจังหวัด
งบประมาณ โดยยึดหลักความยากจนเป็นเกณฑ์
3. สนับสนุนการฝึกอบรมภาคเอกชน - ตัดทอนขั้นตอนขอลดหย่อนภาษีแก่ภาคเอกชนที่ - ครม. อนุมัติร่างแก้ไข พรบ.ส่งเสริม
จัดการอบรมให้สอดคล้องกับ พรบ. ส่งเสริม การฝึกวิชาชีพ พ.ศ. 2537
การฝึกวิชาชีพ พ.ศ.2537
4. ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน - จำกัดการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในปี 2542 - ครม.อนุมัติร่างแก้ไข พรบ. ส่งเสริมการ
ในตลาดแรงงาน - ทบทวนนโยบายด้านแรงงานและค่าจ้างขั้นต่ำ ฝึกวิชาชีพ พ.ศ.2537 เพื่อให้ภาคเอกชน
- จัดทำแผนปฏิบัติการให้เกิดการ - จ่ายเงินสมทบกองทุนเพื่อการพัฒนา
แข่งขันในตลาดแรงงาน ฝีมือแรงงานให้แล้วเสร็จในปี 2546
ด้านการศึกษา
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. ลดจำนวนนักเรียนเลิกเรียน - เพิ่มงบประมาณเงินกู้เพื่อการศึกษา
กลางคัน
2. ปรับปรุงคุณภาพการเรียน - จัดตั้งระบบตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการสอนวิทย์ - ครม.อนุมัติร่าง กม.จัดตั้งหน่วยงาน
การสอน คณิต และภาษา ตรวจสอบเป็นอิสระ
- คงระดับงบประมาณ (ปกติ) ในการฝึกอบรมและ - ลดงบอาชีวศึกษา 5% ในปี 2542 เพิ่มงบ
อุปกรณ์การในระดับเดียวกับปี 2540 มัธยมตอนปลาย และลด
3. จัดจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม - กำหนดสัดส่วนครูประถมต่อนักเรียนเป็น 25 ต่อ - ครม. อนุมัติร่างกม.ให้รัฐบาลท้องถิ่น
1 คน ในปี 2545 บริหารครูประถมและมัธยม ในปี 2544
- อบรมครูประถมเป็นครูมัธยม - ลดจำนวนบุคลากรด้านบริหารของ
กระทรวงศึกษาธิการใน กทม.ลง 25%
4. กระจายอำนาจการบริหาร - กระจายอำนาจและจัดตั้งระบบตรวจสอบ - ครม.อนุมัติการแก้ไขร่างกม.เพื่อกระจาย
- ให้อำนาจสถาบันอุดมศึกษาจัดสรรงบประมาณ อำนาจ
ภายใน 5% - มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีอิสระในการ
- คงระดับงบประมาณของ รร.ประถมและมัธยม บริหารงาน
นอกเขตกทม.ไว้ที่ระดับของปี 2540
5. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วน - แก้ไขกฎระเบียบกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เสนอนโยบายบทบาทของรัฐด้านการ
ร่วมในการจัดการศึกษา ให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาของเอกชน ศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี
ด้านสาธารณสุข
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. คุ้มครองผู้มีรายได้น้อย - เพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพแก่ผู้มีรายได้น้อย - จัดสรรงบประมาณให้แก่คนตกงานภายใต้
(1) แผนงานความช่วยเหลือประชาชน
(PUBLIC ASSISTANCE SCHEME)
(2) บัตรประกันสุขภาพ (VOLUNTARY
HEALTH CARD SCHEME)
2. ปรับเปลี่ยนงบประมาณ - คงระดับงบประมาณด้านสุขภาพและเด็กให้เท่ากับ - จัดสรรงบประมาณสำหรับสุขภาพแม่
ปี 2540 และเด็ก และผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/โรคเอดส์
- จัดงบประมาณในการขัดซื้อวัคซีนในโครงการใน ให้เท่ากับ ปี 2540
ปี 2542 ภูมิคุ้มกันโรค
- คงระดับงบประมาณสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/
โรคเอดส์ให้เท่ากับปี 2540
3. ปรับปรุงการให้บริการด้าน - ภายในมีนาคม 2542 ครม. เห็นชอบแผน
สาธารณสุขในชนบท ปฏิบัติการกระจายบุคลากรสู่ชนบทให้มี
การจ้างเจ้าหน้าที่อนามัยในชนบท
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ - ภายในเดือนมีนาคม 2542 จัดทำโครงการ
สาธารณสุขภาคเอกชน นำร่องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหาร
ในโรงพยาบาลของรัฐอย่างน้อย 1 แห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มกราคม 2541--
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (DPL) และมีมติรับหลักการในเรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฎในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) เพื่อส่งให้ธนาคารพัฒนาเอเซียต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า มีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้จ่ายในการส่งเสริมการส่งออก เพิ่มสภาพคล่อง และลดผลกระทบทางสังคม กระทรวงการคลังจึงได้ประสานงานกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย เพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้รายนี้ได้ในโอกาสแรก และได้กำหนดการเจรจาในรายละเอียดร่างสัญญาเงินกู้ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในวันที่4-6 กุมภาพันธ์ 2541 ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารพัฒนาเอเซีย กรุงมะนิลา ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในการนี้ จำเป็นที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการและเงื่อนไขในการกู้เงินรายนี้ รวมทั้งรายละเอียดของหนังสือแสดงเจตจำนงในกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา ซึ่งเป็นพันธะที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติภายใต้โครงการเงินกู้รายนี้ ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 ทั้งนี้ เพื่อที่ธนาคารฯ จะสามารถจัดเตรียมเอกสารประกอบคำขออนุมัติให้เงินกู้ต่อคณะกรรมการบริหารในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541 และจัดประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติให้เงินกู้รายนี้แก่ประเทศไทยได้ในวันที่ 5 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการก่อนลงนามในสัญญากู้เงินในอันที่จะช่วยให้สามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2541หนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา Development Policy Letter (DPL) มีสาระสำคัญ ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. บรรเทาภาวะวิกฤติที่มีผลกระทบต่อสังคม
2. ปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทยในการแข่งขันในตลาดนานาชาติ
3. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางสังคม
กำหนดการกู้เงิน
เจรจาเงินกู้ - 4 - 6 กุมภาพันธ์ 2541
ส่งเอกสารและร่างสัญญาเงินกู้ให้ - 12 กุมภาพันธ์ 2541
คณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ
คณะกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้ - 5 มีนาคม 2541
การเบิกจ่าย
กรณีที่ 1 วงเงินกู้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 1 = 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 2 = 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
กรณีที่ 2 วงเงินกู้ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 1 = 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
งวดที่ 2 = 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
หมายเหตุ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับธนาคารเพื่อเบิกเงินงวดที่ 1 400 ล้าน เหรียญสหรัฐ และงวดที่ 2 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงื่อนไขการกู้เงิน
- วงเงิน 300 - 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
- อัตราดอกเบี้ย ปัจจุบัน 6.93% ต่อปี
- ระยะเวลาการกู้เงิน 15 ปี (รวมระยะปลอดหนี้ 3 ปี)
- ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ ภายใน 2 ปี เบิกจ่ายได้ 2 งวด
งวดที่ 1 เบิกจ่ายได้ทันทีที่สัญญามีผลบังคับใช้ (มี.ค. 2541)
งวดที่ 2 เบิกจ่ายได้ภายใน 12 เดือนหลังจากเบิกงวดแรกแล้ว
- ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ 0.75% ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
นโยบายและมาตรการที่ต้องดำเนินการ
ด้านแรงงาน
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. ให้ความช่วยเหลือผู้ตกงาน - จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ตกงาน - จัดทำมาตรการรองรับผู้ตกงาน
- ให้สวัสดิการสังคม
2. บรรเทาความยากจน - ให้สวัสดิการสังคมแก่ผู้ตกงานจัดสรร - จัดสรรงบบรรเทาความยากจนตามจังหวัด
งบประมาณ โดยยึดหลักความยากจนเป็นเกณฑ์
3. สนับสนุนการฝึกอบรมภาคเอกชน - ตัดทอนขั้นตอนขอลดหย่อนภาษีแก่ภาคเอกชนที่ - ครม. อนุมัติร่างแก้ไข พรบ.ส่งเสริม
จัดการอบรมให้สอดคล้องกับ พรบ. ส่งเสริม การฝึกวิชาชีพ พ.ศ. 2537
การฝึกวิชาชีพ พ.ศ.2537
4. ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน - จำกัดการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในปี 2542 - ครม.อนุมัติร่างแก้ไข พรบ. ส่งเสริมการ
ในตลาดแรงงาน - ทบทวนนโยบายด้านแรงงานและค่าจ้างขั้นต่ำ ฝึกวิชาชีพ พ.ศ.2537 เพื่อให้ภาคเอกชน
- จัดทำแผนปฏิบัติการให้เกิดการ - จ่ายเงินสมทบกองทุนเพื่อการพัฒนา
แข่งขันในตลาดแรงงาน ฝีมือแรงงานให้แล้วเสร็จในปี 2546
ด้านการศึกษา
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. ลดจำนวนนักเรียนเลิกเรียน - เพิ่มงบประมาณเงินกู้เพื่อการศึกษา
กลางคัน
2. ปรับปรุงคุณภาพการเรียน - จัดตั้งระบบตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการสอนวิทย์ - ครม.อนุมัติร่าง กม.จัดตั้งหน่วยงาน
การสอน คณิต และภาษา ตรวจสอบเป็นอิสระ
- คงระดับงบประมาณ (ปกติ) ในการฝึกอบรมและ - ลดงบอาชีวศึกษา 5% ในปี 2542 เพิ่มงบ
อุปกรณ์การในระดับเดียวกับปี 2540 มัธยมตอนปลาย และลด
3. จัดจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม - กำหนดสัดส่วนครูประถมต่อนักเรียนเป็น 25 ต่อ - ครม. อนุมัติร่างกม.ให้รัฐบาลท้องถิ่น
1 คน ในปี 2545 บริหารครูประถมและมัธยม ในปี 2544
- อบรมครูประถมเป็นครูมัธยม - ลดจำนวนบุคลากรด้านบริหารของ
กระทรวงศึกษาธิการใน กทม.ลง 25%
4. กระจายอำนาจการบริหาร - กระจายอำนาจและจัดตั้งระบบตรวจสอบ - ครม.อนุมัติการแก้ไขร่างกม.เพื่อกระจาย
- ให้อำนาจสถาบันอุดมศึกษาจัดสรรงบประมาณ อำนาจ
ภายใน 5% - มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีอิสระในการ
- คงระดับงบประมาณของ รร.ประถมและมัธยม บริหารงาน
นอกเขตกทม.ไว้ที่ระดับของปี 2540
5. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วน - แก้ไขกฎระเบียบกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เสนอนโยบายบทบาทของรัฐด้านการ
ร่วมในการจัดการศึกษา ให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาของเอกชน ศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี
ด้านสาธารณสุข
มาตรการ ก่อนกุมภาพันธ์ 2541 ก่อนมีนาคม 2542
1. คุ้มครองผู้มีรายได้น้อย - เพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพแก่ผู้มีรายได้น้อย - จัดสรรงบประมาณให้แก่คนตกงานภายใต้
(1) แผนงานความช่วยเหลือประชาชน
(PUBLIC ASSISTANCE SCHEME)
(2) บัตรประกันสุขภาพ (VOLUNTARY
HEALTH CARD SCHEME)
2. ปรับเปลี่ยนงบประมาณ - คงระดับงบประมาณด้านสุขภาพและเด็กให้เท่ากับ - จัดสรรงบประมาณสำหรับสุขภาพแม่
ปี 2540 และเด็ก และผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/โรคเอดส์
- จัดงบประมาณในการขัดซื้อวัคซีนในโครงการใน ให้เท่ากับ ปี 2540
ปี 2542 ภูมิคุ้มกันโรค
- คงระดับงบประมาณสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/
โรคเอดส์ให้เท่ากับปี 2540
3. ปรับปรุงการให้บริการด้าน - ภายในมีนาคม 2542 ครม. เห็นชอบแผน
สาธารณสุขในชนบท ปฏิบัติการกระจายบุคลากรสู่ชนบทให้มี
การจ้างเจ้าหน้าที่อนามัยในชนบท
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ - ภายในเดือนมีนาคม 2542 จัดทำโครงการ
สาธารณสุขภาคเอกชน นำร่องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหาร
ในโรงพยาบาลของรัฐอย่างน้อย 1 แห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มกราคม 2541--