ทำเนียบรัฐบาล--27 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุน 12 บริษัทที่ทางการแทรกแซง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 เห็นชอบแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ซึ่งกำหนดการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ ธปท. ได้เข้าแทรกแซงไว้ ประการหนึ่งว่า ให้ดำเนินการฟื้นฟูฐานะของ ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนอีก 12 แห่ง ที่ถูก ธปท. แทรกแซง การรวมกิจการของธนาคารสหธนาคาร บริษัาเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจนี้ จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับกรณีของธนาคารแหลมทองกับธนาคารรัตนสิน และจะมีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้การบริหารของผู้บริหารจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ พนักงานของธนาคารสหธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกทางการแทรกแซงทั้ง 12 แห่ง จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานของธนาคารพาณิชย์ใหม่ด้วย
โดยที่การรวมกิจการโดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ เป็นแกนรับโอนกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีมีอุปสรรคในทางปฏิบัติ เนื่องจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ยังไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์จึงไม่มีระบบ Payment System ระบบเครือข่ายสาขา และยังไม่สามารถรับโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน รวมทั้งธุรกิจปริวรรตเงินตรามาจากธนาคารสหธนาคารได้ทันที นอกจากนั้น หากจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่ดำเนินการรวมกิจการ ธนาคารสหธนาคารจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ธนาคารสหธนาคารเป็นแกนรับโอนกิจการจากบริษัทเงินทุน 12 บริษัท และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจไปพร้อมๆ กัน โดยให้บริษัทเงินทุนที่ถูกทางการแทรกแซง 12 บริษัท โอนสินทรัพย์และหนี้สินไปยังธนาคารสหธนาคารได้ ซึ่งกระทำได้โดยสะดวกและเหมาะสมกว่า เพราะธนาคารสหธนาคารเป็นธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว และไม่มีข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ
กระทรวงการคลังได้พิจารณาทบทวนแล้ว มีความเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่จะเป็นแกนในการรวมกิจการเพื่อให้การรวมกิจการเป็นไปโดยราบรื่นตามสมควรในทางปฏิบัติ จึงได้แบ่งแผนการรวมกิจการของกลุ่มสถาบันการเงินนี้เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก ให้บริษัทเงินทุน 12 บริษัท โอนกิจการมายังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจก่อน โดยจะโอนทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน ในกรณีของบริษัทเงินทุน 7 บริษัทที่ทางการได้เข้าแทรกแซงไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 (ได้แก่ บง.นวธนกิจ บงล.ร่วมเสริมกิจ บง.มหาทุน บง.บางกอกอาเซียน บงล.เคสิท บง.เอราวัณทรัสต์ และ บง.เศรษฐการ) ซึ่งสินทรัพย์มีคุณภาพเสื่อมลงและเงินทุนส่วนใหญ่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เพิ่มเข้าไปในบริษัทเงินทุนเหล่านี้ลดลง จึงเหลือทุนที่จะโอนไปได้เพียงเล็กน้อยหรือไม่เหลือเลยในบางบริษัท สำหรับบริษัทเงินทุน 5 บริษัทที่แทรกแซงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 (ได้แก่ บง.ธนสยาม บง.เฟิสท์ซิตี้ อินเวสท์เมนต์ บงล.ไอ เอฟ ซี ที ไฟแนนซ์ บง.วชิระธนทุน และ บงล.ไทยซัมมิท) ทุกบริษัทได้เพิ่มทุนแล้ว และเป็นบริษัทเงินทุนที่ยังมีเงินทุนเหลือจะโอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้ด้อยสิทธิไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ
ขั้นตอนที่สอง ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ซึ่งได้รวมสินทรัพย์และหนี้สินกับบริษัทเงินทุน 12 บริษัทเสร็จแล้วจึงโอนทรัพย์สิน และหนี้สินไปให้ธนาคารสหธนาคาร โดยธนาคารสหธนาคารจะออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ทำให้ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ฝากเงิน และผู้ถือตั๋วเงินต่างๆ ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ไม่ได้รับผลเสียหาย ซึ่งตารางเวลาในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 5 กำหนดไว้ว่าจะเสร็จภายใน 31 ตุลาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุน 12 บริษัทที่ทางการแทรกแซง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 เห็นชอบแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ซึ่งกำหนดการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ ธปท. ได้เข้าแทรกแซงไว้ ประการหนึ่งว่า ให้ดำเนินการฟื้นฟูฐานะของ ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนอีก 12 แห่ง ที่ถูก ธปท. แทรกแซง การรวมกิจการของธนาคารสหธนาคาร บริษัาเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจนี้ จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับกรณีของธนาคารแหลมทองกับธนาคารรัตนสิน และจะมีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้การบริหารของผู้บริหารจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ พนักงานของธนาคารสหธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกทางการแทรกแซงทั้ง 12 แห่ง จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานของธนาคารพาณิชย์ใหม่ด้วย
โดยที่การรวมกิจการโดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ เป็นแกนรับโอนกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีมีอุปสรรคในทางปฏิบัติ เนื่องจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ยังไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์จึงไม่มีระบบ Payment System ระบบเครือข่ายสาขา และยังไม่สามารถรับโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน รวมทั้งธุรกิจปริวรรตเงินตรามาจากธนาคารสหธนาคารได้ทันที นอกจากนั้น หากจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่ดำเนินการรวมกิจการ ธนาคารสหธนาคารจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ธนาคารสหธนาคารเป็นแกนรับโอนกิจการจากบริษัทเงินทุน 12 บริษัท และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจไปพร้อมๆ กัน โดยให้บริษัทเงินทุนที่ถูกทางการแทรกแซง 12 บริษัท โอนสินทรัพย์และหนี้สินไปยังธนาคารสหธนาคารได้ ซึ่งกระทำได้โดยสะดวกและเหมาะสมกว่า เพราะธนาคารสหธนาคารเป็นธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว และไม่มีข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ
กระทรวงการคลังได้พิจารณาทบทวนแล้ว มีความเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่จะเป็นแกนในการรวมกิจการเพื่อให้การรวมกิจการเป็นไปโดยราบรื่นตามสมควรในทางปฏิบัติ จึงได้แบ่งแผนการรวมกิจการของกลุ่มสถาบันการเงินนี้เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก ให้บริษัทเงินทุน 12 บริษัท โอนกิจการมายังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจก่อน โดยจะโอนทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน ในกรณีของบริษัทเงินทุน 7 บริษัทที่ทางการได้เข้าแทรกแซงไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 (ได้แก่ บง.นวธนกิจ บงล.ร่วมเสริมกิจ บง.มหาทุน บง.บางกอกอาเซียน บงล.เคสิท บง.เอราวัณทรัสต์ และ บง.เศรษฐการ) ซึ่งสินทรัพย์มีคุณภาพเสื่อมลงและเงินทุนส่วนใหญ่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เพิ่มเข้าไปในบริษัทเงินทุนเหล่านี้ลดลง จึงเหลือทุนที่จะโอนไปได้เพียงเล็กน้อยหรือไม่เหลือเลยในบางบริษัท สำหรับบริษัทเงินทุน 5 บริษัทที่แทรกแซงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 (ได้แก่ บง.ธนสยาม บง.เฟิสท์ซิตี้ อินเวสท์เมนต์ บงล.ไอ เอฟ ซี ที ไฟแนนซ์ บง.วชิระธนทุน และ บงล.ไทยซัมมิท) ทุกบริษัทได้เพิ่มทุนแล้ว และเป็นบริษัทเงินทุนที่ยังมีเงินทุนเหลือจะโอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้ด้อยสิทธิไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ
ขั้นตอนที่สอง ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ซึ่งได้รวมสินทรัพย์และหนี้สินกับบริษัทเงินทุน 12 บริษัทเสร็จแล้วจึงโอนทรัพย์สิน และหนี้สินไปให้ธนาคารสหธนาคาร โดยธนาคารสหธนาคารจะออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ทำให้ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ฝากเงิน และผู้ถือตั๋วเงินต่างๆ ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ไม่ได้รับผลเสียหาย ซึ่งตารางเวลาในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 5 กำหนดไว้ว่าจะเสร็จภายใน 31 ตุลาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--