แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 14, 2009 17:33 —มติคณะรัฐมนตรี

1. การแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานโครงการ และการจัดตั้งงบประมาณ รวมทั้งกำกับดูแล เร่งรัด ติดตาม แก้ไขกฎระเบียบและลดขั้นตอนการปฏิบัติในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายถาวร เสนเนียม) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นางจุฑามาศ บาระมีชัย) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบายและมาตรการ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานโครงการ และการจัดตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)

2. กำกับดูแล เร่งรัดติดตาม แก้ไขกฎระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นไปตามนโยบายอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ

3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อดำเนินการอื่นใดได้ตามความเหมาะสม

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. ขออนุมัติแต่งตั้งประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย—กัมพูชา(ฝ่ายไทย) และคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย—พม่า(ฝ่ายไทย)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1. ยืนยันองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย — พม่า (ฝ่ายไทย)

2. เห็นชอบให้แต่งตั้งนายวศิน ธีรเวชญาณ เป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย — พม่า (ฝ่ายไทย) ต่อไป จนกว่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

3. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

คณะรัฐมนตรีอนุมัติมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ 1. นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

4. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน (กระทรวงมหาดไทย)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย ดังนี้ 1. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2. นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

5. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ 1. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

6. การแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชน รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. พิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชน รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการ กรอ. ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ สศช.

7. การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในกรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 3 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ 1. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี 2. นายวีระชัย วีระเมธีรกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

8. การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้

องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ โดยมีอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ สั่งการ ตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการ ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญาแก่ประชาชน

2. กำหนดแนวทางและมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพบุคลากร งบประมาณ อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ

3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน คณะที่ปรึกษา เพื่อรับผิดชอบดำเนินการใด ๆที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้เป็นการเฉพาะเรื่อง

4. ให้รายงานผลการดำเนินการตามคำสั่งนี้ ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ

5. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน คณะที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ จากงบประมาณของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

9. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 12 /2552 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 12/2552 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและ ติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการประสานติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในภูมิภาคให้บังเกิดประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยสมควรใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้

1. พื้นที่

1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้

เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี

เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ

เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี

เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด

1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้

เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร

เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคามกาฬสินธุ์

เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี

เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ

1.3 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้

เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง

เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู

เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี

1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้

เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง

เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง

เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้

เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน

เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่

เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี

4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทน แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป

5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย

6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

10. การแต่งตั้งคณะกรรมการตามมติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงพาณิชย์ที่ 10/2552 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการรับจำนำโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2551/52

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/2552 (เพิ่มเติม) โดยขยายปริมาณการรับจำนำข้าวโพดเมล็ดจาก 500,000 ตัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 เป็น 750,000 ตัน และขยายระยะเวลารับจำนำจากเดือนธันวาคม 2551 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์รับไปประสานตรวจสอบข้อเท็จจริงการรับจำนำเพื่อป้องกันการสวมสิทธิเกษตรกรเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 นั้น

เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบกับอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กระทรวงพาณิชย์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการรับจำนำโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

องค์ประกอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เป็นประธานคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน อัยการสูงสุด หรือผู้แทน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้แทน นายพุทธิสัตย์ นามเดช นายฉัตรชัย ชูแก้ว นายชนะ ปาละนันทน์ โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำกับการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 ว่าเป็นไปตามที่หลักเกณฑ์และวิธีการรับจำนำตามที่กำหนดฯ ไว้หรือไม่

2. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับจำนำตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 จากองค์การคลังสินค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ประกอบการผู้เข้าร่วมโครงการ ฝ่ายเลขานุการฯ คณะกรรมการระดับจังหวัด หน่วยงานภาคราชการ และภาคเอกชน เพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา

3. เข้าไปในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือตรวจสอบเอกสารได้ตามความจำเป็น

4. กรณีพบการสวมสิทธิเกษตรกรหรือพบการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการรับจำนำตามที่กำหนด ให้มีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

6. ให้กรมการค้าภายในจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ

7. รายงานผลการตรวจสอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทราบทุก 7 วัน

11. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงคมนาคม)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แต่งตั้ง นางกรรณิการ์ เขมาวุฒานนท์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

12. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งนายธนพล เจิมประไพ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายชาติชาย พุคยาภรณ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

13. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นางสาวชมพูนุท นาครทรรพ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ 2. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้แต่งตั้งนางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

15. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายพิชัย บุณยเกียรติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ 2. นางภัทรมน เพ็งส้ม ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

16. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้

1. นางประนอม จันทรภักดี ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

2. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

3. นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

17. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้

1. นายวีระชัย ถาวรทนต์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ

2. นายขภัช นิมมานเหมินท์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

18. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้

1. นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

2. นายสุธรรม นทีทอง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

3. นายศุรพงศ์ พงศ์เดชขจร เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์)

4. นายวิชัย ศิริประเสริฐโชค เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

19. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้

1. นายเกรียงยศ สุดลาภา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายถาวร เสนเนียม) และ

2. นายสุกิจ ก้องธรนินทร์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายถาวร เสนเนียม)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

20. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้

1. นายประพันธ์ คูณมี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ

2. นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

21. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 9 ราย ดังนี้

1. นายปณิธาน วัฒนายากร ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

2. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

3. นายอิสรา สุนทรวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

4. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ)

5. พลเอก สุภาษิต วรศาสตร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ)

6. นายพิลาศ พันธโกศล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)

7. นายสรวงสรรค์ จามรจันทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวีระชัย วีระเมธีกุล)

8. นายวิทเยนทร์ มุตตามระ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย)

9. นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวีระชัย วีระเมธีกุล)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

22. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้

1. นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

2. นายประพล มิลินทจินดา ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

3. นายสัญญา สถิรบุตร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

4. นายอัครพล ลีลาจินดามัย ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

23. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้แต่งตั้งนายศิโรตม์ เสตะพันธุ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

24. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้

1. นายชาญยุทธ โฆศิรินนท์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ

2. นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

25. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แทนผู้ที่ขอลาออกตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้

1. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ประธานกรรมการ

2. นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

3. พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

4. นายอรรถพล ใหญ่สว่าง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

5. นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

26. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ แทนชุดเดิมซึ่งจะครบวาระ 2 ปีในวันที่ 18 มกราคม 2552 ดังต่อไปนี้

ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคราชการ จำนวน 4 คน ได้แก่

1. ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

4. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 9 วช. ด้านสาธารณสุข

ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน จำนวน 4 คน ได้แก่

1. ดร.ชยงการ ภมรมาศ รองคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

2. ดร.สมภพ เจริญกุล กรรมการบริหารและกรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)

3. ผศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

4. นางวิไล เกียรติศรีชาติ กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ