คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 11 ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/2553 สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรและการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2553
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (3 พฤษภาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 37,846 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 14,001 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ)น้อยกว่าปี 2552 (41,142 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57) จำนวน 4,296 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 3 พ.ค.53 จำนวน 5,980 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 3 พ.ค.53 จำนวน 22,317 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ในอ่างฯ ปี52 ในอ่างฯ ปี53 ปริมาตรน้ำ % ปริมาตรน้ำ % ปริมาตรน้ำ % วันนี้ เมื่อวาน สะสม วันนี้ เมื่อวาน สะสม 1 พ.ย. 1 พ.ย. 52 52 ภูมิพล 5,526 41 4,737 35 937 7 0 0 546 12 12 4,658 สิริกิติ์ 4,753 50 3,578 38 728 8 2.99 5.88 765 8.03 7.98 3,070 ภูมิพล+สิริกิติ์ 10,279 45 8,315 36 1665 7 2.99 5.88 1,311 20.03 19.98 7,728 ป่าสักชลสิทธิ์ 348 36 134 14 131 14 2.08 0 236 2.61 1.08 896
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ ศรีนครินทร์(81)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 11 อ่าง ได้แก่ แม่กวง(14) แควน้อย(22) ห้วยหลวง(28) น้ำอูน(24) น้ำพุง(29) อุบลรัตน์(27) ลำปาว(29) ป่าสักฯ(14) ทับเสลา(17) ขุนด่านฯ(13) และคลองสียัด(23)
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 73.7 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 3.0 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3) ปริมาณน้ำใช้การได้ 59 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 346.7 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 42.4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 8) ปริมาณน้ำใช้การได้ 318 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย
3. คุณภาพน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน.2553)
กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ดังนี้
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ค่า DO(mg/l) ค่า Sal (g/l) เกณฑ์ เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 3.23 3.09 ค่า Sal สูงกว่าเกณฑ์ ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 1.21 0.13 ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์ แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 4.17 0.10 ปกติ
หมายเหตุ ค่า Do หมายถึง ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร
ค่า Sal หมายถึง ค่าความเค็มของน้ำ สำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร
การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553
ผลการจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 52 ถึง 30 เม.ย.53 (สิ้นสุดฤดูแล้งแล้ว) ปรากฏว่า จัดสรรน้ำไปแล้วจำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนการจัดสรรน้ำ (เกินแผนที่กำหนดไว้ 1,697 ล้าน ลบ.ม.) ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 30 เม.ย.53 มีการใช้น้ำไปแล้ว 10,339 ล้าน ลบ.ม. (เกินแผนที่กำหนดไว้ 2,339 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 129 ของแผนการจัดสรรน้ำ
ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 ทั้งประเทศ จำนวน 12.28 ล้านไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง 9.50 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.00 ล้านไร่) และพืชไร่-ผัก 2.78 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.78 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.00 ล้านไร่)
ณ วันที่ 30 เม.ย. 53 พื้นที่ปลูกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 19.47 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 159 ของพื้นที่คาดการณ์ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 16.51 ล้านไร่ พืชไร่ พืชผัก 2.96 ล้านไร่ โดยเก็บเกี่ยวแล้ว 9.19 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 47 ของพื้นที่ปลูกจริง แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 8.08 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1.11 ล้านไร่ ดังนี้
พื้นที่ พื้นที่ปลูกจริง (ล้านไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่) ข้าวนาปรัง พืชไร่-ผัก รวม ข้าวนาปรัง พืชไร่-ผัก รวม ในเขตชลประทาน 10.55 0.63 11.18 5.78 0.38 6.16 (141%) (81%) (136%) (55%) (60%) (55%) นอกเขตชลประทาน 5.96 2.33 8.29 2.30 0.73 3.03 (298%) (117%) (207%) (39%) (31%) (37%) รวม 16.51 2.96 19.47 8.08 1.11 9.19 (174%) (106%) (159%) (49%) (38%) (47%)
หมายเหตุ ในเขตชลประทานมีการจัดสรรน้ำเพื่อพืชอื่นๆอีก จำนวน 3.85 ล้านไร่
การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
ก่อนเกิดภัย ได้แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นต้นมา โดยแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ดังนี้
1) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ บทความในหนังสือพิมพ์รายวัน จำนวน 38 ครั้ง วารสารข่าวของหน่วยงาน จำนวน 14 ครั้ง โปสเตอร์และติดประกาศในพื้นที่
2) สื่อวิทยุ ได้แก่ ข่าว บทความ ตามสถานีวิทยุเพื่อการเกษตร AM 1386 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก AM 1269 สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ AM 1107 และสถานีวิทยุกระจายเสียงภายในจังหวัด จำนวน 42 ครั้ง
3) สื่อโทรทัศน์ ได้แก่ ข่าว สารคดี จำนวน 4 ครั้ง
ประเด็นที่เผยแพร่ ได้แก่
ด้านพืช สถานการณ์น้ำ แผนและผลการจัดสรรน้ำ แผนและผลการปลูกพืชฤดูแล้ง การเตือนภัยการระบาดของศัตรูพืช แนวโน้มราคาพืชไร่-พืชผัก รณรงค์ไถกลบตอซัง การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดดินและปุ๋ย รณรงค์ให้เกษตรกรในเขตลุ่มเจ้าพระยางดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง
ด้านปศุสัตว์ การเตรียมแหล่งน้ำ โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน เช่น โค กระบือ ความต้องการน้ำ 40-60 ลิตรต่อวัน การเตรียมอพยพ กรณีเกษตรกรที่มี โค—กระบือจำนวนมาก อาจจะต้องย้ายฝูงสัตว์ไปเลี้ยงในแหล่งที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างแหล่งน้ำชุมชนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำซ้ำซากในอนาคต และให้คำแนะนำในการดูแลด้านสุขภาพสัตว์ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค พ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ข้ามเขตจังหวัดและเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด
ด้านประมง การควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ การป้องกันการรั่วซึมหรือจัดทำร่มเงาให้กับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดเตรียมหาแหล่งน้ำสำรอง การลดปริมาณอาหารสัตว์น้ำลงเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย อัตราการปล่อยและขนาดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือการจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค ควรงดเว้นการขนถ่ายสัตว์น้ำหรืองดเว้นการเลี้ยงในช่วงดังกล่าวโดยทำการตากบ่อ
ขณะเกิดภัย
1. การแจ้งเตือนผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ 4 ครั้ง สปอตวิทยุ 122 ครั้ง และสปอตโทรทัศน์ เรื่อง รณรงค์ให้เกษตรกรในเขตเจ้าพระยางดการปลูกข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทนข้าวนาปรัง การใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และสถานการณน้ำ
2. การจัดสรรน้ำ ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ณ วันที่ 30 เม.ย. 53 จำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. (จากแผน 20,720 ล้าน ลบ.ม.) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชฤดูแล้งในพื้นที่เขตชลประทาน จำนวน 14.91 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 10.44 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.62 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ 3.85 ล้านไร่
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 เป็นต้นมา จำนวน 5 ศูนย์ ประจำภาคต่างๆ และได้ส่งเครื่องบิน จำนวน 24 ลำ ไปตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จำนวน 10 หน่วย ได้แก่ หน่วยเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์(หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 2 ฐาน ได้แก่ จังหวัดตากและสระแก้ว
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 23-29 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 299 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย 61 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 97.2 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม - 29 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 62 วัน จำนวน 1,481 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 51 วัน จำนวน 480 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 136.0 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 62 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด
4. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือการปลูกพืชฤดูแล้ง การอุปโภค-บริโภค ทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่เขตชลประทานและนอกพื้นที่เขตชลประทาน จำนวน 777 เครื่อง (เตรียมการไว้ 1,200 เครื่อง) ในพื้นที่ 46 จังหวัด ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ 429,395 ไร่ แบ่งเป็น ในพื้นที่เขตชลประทาน 351,566 ไร่ และนอกพื้นที่เขตชลประทาน 78,369 ไร่
โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 254 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 249 เครื่อง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 12 จังหวัด จำนวน 192 เครื่อง และภาคใต้ 9 จังหวัด จำนวน 82 เครื่อง
5. สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 29 คัน 2,696 เที่ยว ปริมาณน้ำ 16,176,000 ลิตร ในพื้นที่ 10 จังหวัด
6. การสนับสนุนเสบียงสัตว์ ในกรณีที่ขาดแคลน โดยประสานกับศูนย์/สถานีวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 29 แห่ง ทั้งนี้ ก่อนเกิดภัยในพื้นที่ที่มีภัยแล้งซ้ำซาก ศูนย์วิจัยฯ/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผลิตเสบียงสัตว์ สำรองไว้ใช้เองในยามขาดแคลน โดยจะนำเครื่องจักรกลเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ และเครื่องอัดหญ้าแห้ง ออกไปสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร โดยจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเสบียงสัตว์โครงการนาหญ้าฯ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ในปี 2553 มีเป้าหมายสนับสนุนเกษตรกรทั้งสิ้น จำนวน 3,140 ราย ผลิตเสบียงสัตว์ทั้งสิ้น 6,280 ตัน นอกจากนั้น ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตกล้าพันธุ์-ท่อนพันธุ์จำหน่าย โดยจัดทำโครงการผลิตกล้าพันธุ์และท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ เพื่อทดแทนการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์เป็นอาชีพเสริม
ณ วันที่ 23 เมษายน 2553 สนับสนุนแล้ว 118.9 ตัน จากที่สำรองไว้เพื่อช่วยเหลือภัยธรรมชาติ จำนวน 4,720 ตัน
7. การประเมินความเสียหายเบื้องต้น
ด้านพืช
พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 27 จังหวัด จำนวน 616,622 ไร่ แบ่งเป็น ช่วงที่ 1 เดือนธันวาคม 2552 ถึง มกราคม 2553 จำนวน 4 จังหวัด 113,860 ไร่ และช่วงที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ ถึงปัจจุบัน จำนวน 26 จังหวัด 502,763 ไร่ รายละเอียดดังนี้
ช่วงที่ 1 (วันที่ 15 ธ.ค.52 — 31 ม.ค.53) จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ สุโขทัย คาดว่าจะเสียหาย 113,860 ไร่
ช่วงที่ 2 (วันที่ 1 ก.พ.— 18 เม.ย. 53) จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม ยโสธร เลย ศรีสะเกษหนองบัวลำภู หนองคาย ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ตรัง สตูล คาดว่าจะเสียหาย 502,763 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 70,612 ไร่ พืชไร่ 266,765 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 165,386 ไร่
ด้านปศุสัตว์
พื้นที่ประสบภัย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ลำปาง สุโขทัย มุกดาหาร ตราด ชุมพร และตรัง เกษตรกร 1,178 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 10,456 ตัว แบ่งเป็น โค 9,778 ตัว กระบือ 115 ตัว แพะ 563 ตัว แปลงหญ้า 228 ไร่
ด้านประมง ไม่มีรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ
หลังเกิดภัย
การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน
ช่วงที่ 1 ช่วงภัย วันที่ 15 ธ.ค. 52 ถึง 31 ม.ค. 53 สำรวจแล้วมีพื้นที่เสียหายเพียง 2 จังหวัด คือ จังหวัดจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน พื้นที่เสียหาย 23,577 ไร่ เกษตรกร 4,131 ราย ช่วยเหลือด้วยเงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอและในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จำนวน 19.77 ล้านบาท
ช่วงที่ 2 ช่วงภัย วันที่ 1 ก.พ.53 ถึง 30 เม.ย.53 อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยเร่งรัดให้จังหวัดสำรวจความเสียหายให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่เกิดภัย แต่เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้งจะส่งผลช้ากว่าภัยด้านการเกษตรอื่นๆ จึงต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจความเสียหายสิ้นเชิง เพื่อมิให้เกิดการร้องเรียนภายหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 พฤษภาคม 2553--จบ--