คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 14 ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/2553 และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (24 พฤษภาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 35,733 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 11,888 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ)น้อยกว่าปี 2552 (41,074 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56) จำนวน 5,341 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ
ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 22.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 72.1 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 35,518 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำรับได้อีก ในอ่างฯ ปี52 ในอ่างฯ ปี53 ปริมาตรน้ำ % ปริมาตรน้ำ % ปริมาตรน้ำ % วันนี้ เมื่อวาน วันนี้ เมื่อวาน ภูมิพล 5,425 40 4,441 33 641 5 0.00 0.91 12.00 12.00 9,021 สิริกิติ์ 4,373 46 3,459 36 609 6 7.37 0.32 7.95 8.06 6,051 ภูมิพล+สิริกิติ์ 9,798 43 7,900 34 1,250 5 7.37 1.23 19.95 20.06 15,072 ป่าสักชลสิทธิ์ 359 37 95 10 92 10 0.22 1.12 1.36 1.33 865
จากสถานการณ์น้ำดังกล่าวข้างต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 เรื่อง ขอให้เลื่อนการทำนาปีในเขตชลประทานทุกโครงการที่รับน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในภาคเหนือตอนล่างและในเขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเหลืออยู่น้อยมาก คือ มีปริมาณน้ำที่ยังสามารถระบายออกไปใช้งานได้อีกประมาณ 1,308 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลือจำนวนนี้ไม่สามารถส่งไปสนับสนุนการทำนาปีตอนต้นฤดูฝนในเขตโครงการชลประทานทุกโครงการที่รับน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในภาคเหนือตอนล่างและในเขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมนี้ได้ ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรที่จะปลูกข้าวในฤดูฝนปี 2553 นี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงขอให้เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่ส่งน้ำของโครงการชลประทานทุกโครงการที่รับน้ำจาดเจ้าพระยาใหญ่เลื่อนเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในภาคเหนือตอนล่างและในเขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่(22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นครนายก) เลื่อนการทำนาปีจากปกติเดือนพฤษภาคมออกไปจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุกและมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2553 อย่างไรก็ตาม หากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นในช่วงเดือนมิถุนายนก็อาจจะเลื่อนการทำนาปีให้เร็วขึ้นจากที่ประกาศไว้ได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์จะประกาศให้ทราบทันที
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 11 อ่าง ได้แก่ แม่กวง(14) แควน้อย(19) ห้วยหลวง(24) น้ำอูน(23) อุบลรัตน์(26) ลำปาว(28) มูลบน(25) ป่าสักฯ(10) ทับเสลา(16) ขุนด่านฯ(8) และคลองสียัด(18)
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 72.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 10.7 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6) ปริมาณน้ำใช้การได้ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 332.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 51.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 9) ปริมาณน้ำใช้การได้ 304 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างฯ
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย
3. คุณภาพน้ำ
กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ดังนี้
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ข้อมูลวันที่ ค่า DO(mg/l) ค่า Sal (g/l) เกณฑ์ ค่าสูงสุด เวลา เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 6 พ.ค. 53 3.31 2.19 - ค่า Sal สูงกว่าเกณฑ์ เจ้าพระยา ปากเกร็ด* จังหวัดนนทบุรี 24 พ.ค. 53 - 1.64 9.30 น. ปกติ ปากคลองสำแล * 24 พ.ค. 53 - 0.12 10.00 น. ปกติ จังหวัดปทุมธานี ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน 6 พ.ค. 53 1.21 0.13 - ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์ จังหวัดนครปฐม แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก 14 พ.ค. 53 3.76 0.10 20.10 น. ปกติ จังหวัดราชบุรี
- สถานีวัดค่าอัตโนมัติ
กรณีน้ำเค็มรุกเจ้าพระยาถึงโรงสูบน้ำของการประปานครหลวงที่สำแล จังหวัดปทุมธานี
เนื่องจากเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม.2553 ได้เกิดน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้มีน้ำเค็มรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยน้ำเค็มได้รุกล้ำเข้าไปไกลถึงโรงสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี ของการประปานครหลวง ส่งผลให้ค่าความเค็มบริเวณโรงสูบน้ำดิบสำแล มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือสูงกว่า 0.25 กรัมต่อลิตร ทำให้การประปานครหลวงไม่สามารถสูบน้ำดิบไปทำการผลิตน้ำประปาได้ แม้ในระยะนี้ จะมีฝนตกลงมาทางตอนบน แต่ก็สามารถเจือจางน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาต้องอาศัยน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ ลงมาผลักดันน้ำเค็มมาโดยตลอด จนปัจจุบันนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เหลือน้ำใช้การได้ อยู่ในเกณฑ์ที่น้อย กรมชลประทาน จึงได้วางแนวทางในการช่วยเหลือและผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการ ผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองบริเวณเหนือเขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี ลงสู่คลองจระเข้สามพัน จากนั้นรับน้ำเข้าคลองสองพี่น้องระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน แล้วจึงรับน้ำจากแม่น้ำท่าจีนเข้าคลองพระยาบรรลือ ก่อนที่จะระบายน้ำในคลองพระยาบรรลือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตอนบนของโรงสูบน้ำสำแล เพื่อเจือจางและผลักดันน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา จากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น วันนี้ (24 พ.ค. 53) พบว่าค่าความเค็มบริเวณโรงสูบน้ำสำแล ได้ลดต่ำลงกว่า 0.25 กรัมต่อลิตรแล้ว โดยมีแนวโน้มว่าค่าความเค็มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ยังคงติดตามสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและแนวทางการช่วยเหลือในครั้งนี้อย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป
การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553
ผลการจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 52 ถึง 30 เม.ย.53 (สิ้นสุดฤดูแล้งแล้ว) ปรากฏว่า จัดสรรน้ำไปแล้วจำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนการจัดสรรน้ำ (เกินแผนที่กำหนดไว้ 1,697 ล้าน ลบ.ม.) ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 30 เม.ย.53 มีการใช้น้ำไปแล้ว 10,339 ล้าน ลบ.ม. (เกินแผนที่กำหนดไว้ 2,339 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 129 ของแผนการจัดสรรน้ำ
ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 7 พ.ค. 53 พื้นที่ปลูกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 19.52 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 159 ของพื้นที่คาดการณ์ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 16.56 ล้านไร่ พืชไร่ พืชผัก 2.96 ล้านไร่ โดยเก็บเกี่ยวแล้ว 9.98 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของพื้นที่ปลูกจริง แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 8.87 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1.11 ล้านไร่ การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
ภัยแล้ง
ก่อนเกิดภัย ได้แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นต้นมา โดยแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ 52 ครั้ง สื่อวิทยุ 42 ครั้ง และสื่อโทรทัศน์ 4 ครั้ง
ขณะเกิดภัย
1. การแจ้งเตือนผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ 4 ครั้ง สปอตวิทยุ 122 ครั้ง และสปอตโทรทัศน์ เรื่อง รณรงค์ให้เกษตรกรในเขตเจ้าพระยางดการปลูกข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทนข้าวนาปรัง การใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และสถานการณ์น้ำ
2. การจัดสรรน้ำ ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ณ วันที่ 30 เม.ย. 53 จำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. (จากแผน 20,720 ล้าน ลบ.ม.) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชฤดูแล้งในพื้นที่เขตชลประทาน จำนวน 14.91 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 10.44 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.62 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ 3.85 ล้านไร่
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 เป็นต้นมา จำนวน 5 ศูนย์ ประจำภาคต่างๆ และได้ส่งเครื่องบิน จำนวน 21 ลำ ไปตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จำนวน 11 หน่วย ได้แก่ หน่วยเชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ จังหวัดตาก นครสวรรค์สระแก้ว นครศรีธรรมราช ราชบุรี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 219 เที่ยวบินมีจังหวัดที่มีรายงานฝนตก 60 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 141.1 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม - 20 พฤษภาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 83 วัน จำนวน 2,196 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 73 วัน จำนวน 568 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 141.1 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 63 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด
4. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือการปลูกพืชฤดูแล้ง การอุปโภค-บริโภค ทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่เขตชลประทานและนอกพื้นที่เขตชลประทาน จำนวน 849 เครื่อง (เตรียมการไว้ 1,200 เครื่อง) ในพื้นที่ 46 จังหวัด แยกเป็น ภาคเหนือ 16 จังหวัด จำนวน 277 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 249 เครื่อง ภาคกลาง 6 จังหวัด จำนวน 157 เครื่อง ภาคตะวันออก 5 จังหวัด จำนวน 84 เครื่อง และภาคใต้ 9 จังหวัด จำนวน 82 เครื่อง
5. สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 33 คัน 3,628 เที่ยว ปริมาณน้ำ 21,768,000 ลิตร ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร มหาสารคาม สุรินทร์ เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ตราด พังงา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
6. การสนับสนุนเสบียงสัตว์
ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 สนับสนุนแล้ว 171.62 ตัน จากที่สำรองไว้เพื่อช่วยเหลือภัยธรรมชาติ จำนวน 4,720 ตัน
7. การประเมินความเสียหายเบื้องต้น
ด้านพืช ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553
พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 36 จังหวัด จำนวน 1,623,382 ไร่ แบ่งเป็น
ช่วงที่ 1 (วันที่ 15 ธ.ค.52 — 31 ม.ค.53) จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ สุโขทัย คาดว่าจะเสียหาย 113,860 ไร่
ช่วงที่ 2 (วันที่ 1 ก.พ.— 30 เม.ย.53) จำนวน 35 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา พิจิตร ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร เลย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี สระบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ระนอง ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี คาดว่าจะเสียหาย 1,509,980 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 123,204 ไร่ พืชไร่ 995,610 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 390,709 ไร่
ด้านปศุสัตว์ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553
พื้นที่ประสบภัย 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน สุโขทัย อุทัยธานี มุกดาหาร ตราด เพชรบุรี ชุมพร และตรัง เกษตรกร 1,325 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 13,165 ตัว แบ่งเป็น โค 11,956 ตัว กระบือ 366 ตัว แพะ 843 ตัว แปลงหญ้า 228 ไร่
ด้านประมง ไม่มีรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ
หลังเกิดภัย การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน
ช่วงที่ 1 ช่วงภัย วันที่ 15 ธ.ค. 52 ถึง 31 ม.ค. 53 สำรวจแล้วมีพื้นที่เสียหายเพียง 2 จังหวัด คือ จังหวัดจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน เกษตรกร 4,131 ราย พื้นที่เสียหาย 23,577 ไร่ เป็นเงิน 19,771,224 ล้านบาท ช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว
ช่วงที่ 2 ช่วงภัย วันที่ 1 ก.พ.53 ถึง 30 เม.ย.53
- สำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง อุทัยธานี นครพนม หนองคาย เลย กระบี่ เกษตรกร 25,468 ราย พื้นที่ 89,598 ไร่ วงเงิน 74,019,078 บาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือด้วยงบจากท้องถิ่น 1 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 108,434 บาท เงินทดรองราชการในอำนาจนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ น่าน นครพนม หนองคาย กระบี่ จำนวน 3,185,243 บาท และอยู่ระหว่างรอเอกสารเพื่อจะของบกลาง 4 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี เลย จำนวน 70,725,401 บาท
- อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจความเสียหาย 24 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิจิตร น่าน กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี และตรัง
- ไม่มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 พฤษภาคม 2553--จบ--