สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 18

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2010 16:37 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 18 ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (21 มิถุนายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 33,952 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 10,107 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ)น้อยกว่าปี 2552 (41,561 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56) จำนวน 7,609 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 39,603 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (21 มิถุนายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 32,356 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 8,829 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (39,199 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56) จำนวน 6,843 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 22.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 84.3 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 37,239 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ     ปริมาตรน้ำ       ปริมาตรน้ำ    ปริมาตรน้ำใช้การได้  ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ   ปริมาณน้ำระบาย  ปริมาณน้ำรับได้อีก
            ในอ่างฯ ปี52     ในอ่างฯ ปี53
           ปริมาตรน้ำ    %  ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ   %       วันนี้   เมื่อวาน      วันนี้  เมื่อวาน
ภูมิพล          5,738   43     4,116  31        316   2      1.02      1.2     8.09       8       9,346
สิริกิติ์          4,213   44     3,288  35        438   5      3.02     4.43    11.91   11.98       6,222
ภูมิพล+สิริกิติ์     9,951   43     7,404  32        754   3      4.04     5.63       20   19.98      15,568
แควน้อยฯ         210   27       125  16         89  12       0.5     0.42      1.3     1.3         644
ป่าสักชลสิทธิ์       308   32        84   9         81   8       0.8      0.8     1.07    1.07         876

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 14 อ่าง ได้แก่ แม่งัด(26) แม่กวง(15) กิ่วคอหมา(29) แควน้อย(16) ห้วยหลวง(23) น้ำอูน(26) อุบลรัตน์(25) ลำตะคอง(29) มูลบน(25) ป่าสักฯ(9) ทับเสลา(16) กระเสียว(28) ขุนด่านฯ(9) และคลองสียัด(18)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 73.7 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 11.9 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6) ปริมาณน้ำใช้การได้ 59 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 310.4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 31.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6) ปริมาณน้ำใช้การได้ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ยกเว้นบริเวณสถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

3. คุณภาพน้ำ

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำ แม่กลอง ดังนี้

แม่น้ำ        จุดเฝ้าระวัง                    ข้อมูลวันที่     ค่า DO(mg/l)    ค่า Sal (g/l)        เกณฑ์
                                                                   ค่าสูงสุด     เวลา
เจ้าพระยา    ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี             12 มิ.ย.53        2.69        0.30    14.20 น.    ปกติ
เจ้าพระยา    ปากเกร็ด*
            จังหวัดนนทบุรี                 21 มิ.ย.53           -        0.32    07.00 น.    ปกติ
            ปากคลองสำแล *
            จังหวัดปทุมธานี                21 มิ.ย.53           -        0.13    05.00 น.    ปกติ
ท่าจีน        ที่ว่าการอำเภอสามพราน          5 มิ.ย.53        1.60        0.16    08.00 น.    ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
            จังหวัดนครปฐม
แม่กลอง      ปากคลองดำเนินสะดวก           5 มิ.ย.53        4.19        0.10    00.50 น.    ปกติ
            จังหวัดราชบุรี
หมายเหตุ *หมายถึง สถานีวัดค่าอัตโนมัติ

ค่า Do หมายถึง ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร

ค่า Sal หมายถึง ค่าความเค็มของน้ำ สำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

การดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเลื่อนการทำนาปีในเขตโครงการชลประทานทุกโครงการที่รับน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จากปกติเดือนพฤษภาคมเป็นประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2553

2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานฝนหลวงพิเศษ จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อแก้ไขสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำน้อยมาก พร้อมทั้งพระราชทานเทคนิคในการเลี้ยงและจูงเมฆให้ตกเป็นฝนในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อน ซึ่งสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปรับแผนปฏิบัติการการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อสนองพระราชประสงค์ เน้นปฏิบัติการให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำต่างๆ ดังนี้

1) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพลตอนบน

2) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดตาก ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพลตอนล่าง

3) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดแพร่ ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนสิริกิติ์

4) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดพิษณุโลก ใช้เครื่องบินร่วมกับหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตาก ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน

5) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดขอนแก่น ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์

6) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดลพบุรี ให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 11-17 มิถุนายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 250 เที่ยวบิน มีจังหวัดที่มีรายงานฝนตก 45 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 70.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ รวม 157.62 ล้าน ลบ.ม.

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม — 17 มิถุนายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 111 วัน จำนวน 3,052 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 100 วัน จำนวน 646 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 250.0 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 63 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด

3. การประเมินความเสียหายเบื้องต้น

ด้านพืช ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553

ช่วงภัยวันที่ 1 ก.พ. ถึง ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 44 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แพร่ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร เลย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนครอุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี

ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ชัยนาท

ภาคตะวันตก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ระนอง ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี

พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,170,996 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 182,384 ไร่ พืชไร่ 1,547,895 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 440,717 ไร่

การดำเนินการ

  • สำรวจความเสียหายแล้ว 36 จังหวัด เกษตรกร 143,055 ราย พื้นที่ 894,033 ไร่ (จากพื้นที่ที่คาดว่าจะเสียหาย 1,863,888 ไร่) วงเงิน 730,818,581 แบ่งเป็น
  • ไม่ได้รับความเสียหาย 2 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสระบุรี บุรีรัมย์
  • ช่วยเหลือแล้วด้วยงบจังหวัด 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง นครพนม สกลนคร อำนาจเจริญ ชัยนาท ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ตรัง วงเงิน 41,590,000 บาท
  • อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 23 จังหวัด แบ่งเป็น
  • อยู่ระหว่างของบกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย หนองคาย และเลย วงเงิน 67,332,907
  • อยู่ระหว่างรอประชุม ก.ช.ภ.จ.และรอเอกสารของบกลางของจังหวัด 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พะเยา พิจิตร อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ยโสธร ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สตูล วงเงิน 621,895,674 บาท
  • อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก น่าน สุโขทัย มุกดาหาร อุดรธานี ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี (พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 307,108 ไร่)

ด้านปศุสัตว์ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2553

พื้นที่ประสบภัย 11 จังหวัด แบ่งเป็นภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน สุโขทัย อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร และตรัง

เกษตรกร 1,343 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 14,107 ตัว แบ่งเป็น โค 12,898 ตัว กระบือ 366 ตัว แพะ 843 ตัว แปลงหญ้า 228 ไร่ ให้การช่วยเหลือโดยสนับสนุนหญ้าอาหารสัตว์แล้ว 185.22 ตัน

จากการสำรวจมีความเสียหายที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโคตาย 31 ตัว เกษตรกร 21 ราย ช่วยเหลือด้วยเงินทดรองราชการของจังหวัดแล้วจำนวน 230,000 บาท

ด้านประมง ไม่มีรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มิถุนายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ