CLMV…ตลาดเป้าหมายของไทยกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 11, 2012 11:52 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ปํจจุบันสถานการณ์การค้าการลงทุนของโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่ลุกลามรุนแรงขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำการค้าหรือเข้าไปลงทุนในประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวโดยเฉพาะจากปญั หาความล่าช้าในการชำระค่าสินค้าและบริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรมองหาโอกาสและตลาดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียงอย่างกลุ่มประเทศCLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดที่กำลังพัฒนาและมีความพร้อมในหลายด้านทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อีกทั้ง โอกาสทางการค้าและการลงทุนยังเปิดกว้างอยู่มาก กล่าวคือ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างไม่สูงมากนัก จึงทำให้กลุ่มประเทศ CLMV เป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่นักลงทุนทั้ว โลกให้ความสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบด้านการแข่งขันในกลุ่มประเทศ CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) รวมทั้งจากปัจจัยที่กลุ่มประเทศ CLMV มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งทางด้านภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

กระแสการรวมตัวสู่การเป็น AEC ในปัจจุบันเข้มข้นขึ้นทุกขณะ ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศต่างตื่นตัวและเร่งเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC ในปี 2558 ไม่เว้นแม้กระทั้ง กลุ่มประเทศ CLMVทั้งนี้ สำหรับการติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในการก้าวสู่ AEC สามารถพิจารณาได้จากเครื่องมือติดตามและประเมินผล หรือที่เรียกว่า “AEC Scorecard” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เพื่อเป็นกลไกในการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของสมาชิกอาเซียนเป็นรายประเทศ รวมทั้งภาพรวมการดำเนินงานในระดับภูมิภาค โดยโครงสร้างของ AEC Scorecard ประกอบด้วยแผนงานที่สำคัญ 4 ประการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็น AEC ในปี 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) โดยมีแผนงานที่จะส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี

2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Competitive Economic Region) โดยส่งเสริมกรอบนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ นโยบายการแข่งขัน นโยบายด้านภาษี สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค (Equitable Economic Development) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก โดยสนับสนุนการพัฒนา SMEs ตลอดจนการส่งเสริมโครงการต่างๆภายใต้กรอบการริเริ่มการรวมกลุ่มอาเซียน

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into the Global Economy) โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนที่มีต่อประเทศภายนอกภูมิภาค อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายด้านการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น

การจัดทำ AEC Scorecard เป็นการประเมินผลคะแนนในรูปของเปอร์เซ็นต์ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำได้ตามแผนงาน โดยเทียบกับแผนงานที่ต้องทำทั้งหมด นอกจากนี้ ยังแบ่งการประเมินผลการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (ปี 2551-2552) ระยะที่ 2 (ปี 2553-2554) ระยะที่ 3 (ปี 2555-2556)และระยะที่ 4 (ปี 2557-2558) ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนจะเสนอ AEC Scorecard ให้ผู้นำอาเซียนทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ของทุกปีทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ เดือนมีนาคม 2555 พบว่าการประเมินผลของ AEC Scorecard ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในภาพรวมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานเพื่อจัดตั้ง AEC ได้คะแนนเฉลี่ยที่86.7% และ 55.8% ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงระหว่างปี 2551-2554 ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานได้คะแนนเฉลี่ยที่ 67.5% ซึ่งแบ่งเป็นการบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆดังนี้

  • การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน 65.9%
  • การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 67.9%
  • การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 66.7%
  • การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก 85.7%

เป็นที่น่าสังเกตว่าการดำเนินงานภายใต้แผนการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกของอาเซียนมีความคืบหน้ามากที่สุด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาเซียนมีการรวมกลุ่มกับเศรษฐกิจโลกโดยการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น(Closer Economic Partnership : CEP) กับหลายประเทศ อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งการลงนามในข้อตกลงดังกล่าวนับเป็นการขับเคลื่อนบทบาทของอาเซียนในเวทีการค้าโลกโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

                              AEC Scorecard (ปี 2551-2552) จำแนกรายประเทศ
          ประเทศ           ลำดับ           คะแนนที่ทำได้ตามแผนงาน   จำนวนแผนงานที่ทำได้ต่อแผนงานที่ต้องทำทั้งหมด
          สิงคโปร์            1                     96.30%                     103/107
          บรูไน              2                     95.40%                     103/108
          เวียดนาม           3                     95.30%                     102/107
          ฟิลิปปินส์            4                     94.50%                     103/109
          ไทย               5                     94.40%                     102/108
          มาเลเซีย           6                     93.52%                     101/108
          พม่า               7                     91.60%                     98/107
          กัมพูชา             8                     86.92%                     93/107
          สปป.ลาว           9                     85.80%                     91/106
          อินโดนีเซีย         10                     85.19%                     92/108

สำหรับความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC ของกลุ่มประเทศ CLMV หากพิจารณาจาก AEC Scorecard (ปี 2551-2552) พบว่าเวียดนามสามารถดำเนินการตามแผนงานได้มากที่สุด โดยได้คะแนนเฉลี่ย 95.3% อยู่ในลำดับที่ 3 ของอาเซียน รองลงมา ได้แก่ พม่า กัมพูชา และ สปป.ลาว โดยอยู่ในลำดับที่ 7-9 ของอาเซียน ตามลำดับ ส่วนไทยสามารถทำได้คะแนนเฉลี่ย 94.4% อยู่ในลำดับที่ 5 ของอาเซียนซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มประเทศ CLMV ส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนงานที่จะก้าวสู่ AECในปี 2558 สะท้อนจากลำดับคะแนนที่อยู่ค่อนข้างรั้งท้าย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มประเทศ CLMV จะมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนงานอยู่บ้างภายใต้การประเมินผลของ AEC Scorecard แต่ในช่วงที่ผ่านมาในทางปฏิบัติทุกประเทศได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามและการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

กัมพูชา : รัฐบาลกัมพูชาได้เร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการเมืองในประเทศเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็นลำดับ โดยรัฐบาลกัมพูชามุ่งให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกในภาคส่งออกและภาคการลงทุนผ่านช่องทางการใช้หลักธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถของการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnerships : PPPs) ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นซึ่งรัฐบาลกัมพูชาพร้อมให้การสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการสนับสนุนทางการเงิน และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสำคัญ

สปป.ลาว : จุดอ่อนที่สำคัญของ สปป.ลาว อยู่ที่ข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเชิงคุ้มครองมากกว่าเชิงส่งเสริม อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมองว่าการลงทุนใน สปป.ลาว ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ดังนั้น ในช่วงที่ผานมารัฐบาล สปป.ลาว ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ AEC โดยเร่งแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวด้วยการปฏิรูปข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียน รวมทั้งการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (ปี 2554-2558) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ สปป.ลาว บรรลุเป้าหมายในการก้าวสู่ AEC อย่างสมบูรณ์

พม่า : แม้ว่าการเปิดประเทศของพม่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่รัฐบาลพม่าได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการนำพาประเทศให้ยืนหยัดอย่างมั่น คงบนเวทีการค้าโลก ซึ่งนับตั้งแต่รัฐบาลพม่าปฏิรูปการเมืองและนางออง ซาน ซูจี ได้รับอิสรภาพ ทุกความเคลื่อนไหวของพม่าได้ถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้ง การที่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประกาศผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงความมุ่งมั่น ในการก้าวสู่ AEC สะท้อนจากการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นแบบแผนกล่าวคือ ในด้านการปกครอง พม่ายึดสิงคโปร์เป็นต้นแบบ ในด้านการลงทุนมีจีนและเกาหลีใต้เป็นต้นแบบในด้านการพัฒนาตลาดทุนมีญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ และในด้านเกษตรกรรมมีเวียดนามเป็นต้นแบบ เป็นต้นนอกจากนี้ การที่พม่าจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2557 ยังเป็นสัญญาณที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของพม่า เพื่อเตรียมก้าวสู่ AEC ในปีถัดไป

เวียดนาม : เวียดนามมีความพร้อมค่อนข้างมากในการก้าวสู่ AEC เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในหลายด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามได้เร่งปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านภาษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้เวียดนามมีความพร้อมในทุกๆ ด้านก่อนก้าวสู่ AEC ในปี 2558

ทั้งนี้ แม้ว่าในภาพรวมการก้าวสู่ AEC ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีความคืบหน้าในด้านต่างๆ ไปมาก แต่ทุกประเทศก็ยังมีความล่าช้าในบางประเด็นซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการก้าวสู่ AEC ซึ่งย่างก้าวสู่ AEC ที่เหลือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจำเป็นต้องอาศัยการรวมพลังครั้ง ใหญ่ของประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้ง ความมุ่งมั่น ของประเทศสมาชิกทั้ง หมดที่จะผลักดันให้การดำเนินการตามแผนงานต่างๆ บรรลุเป้าหมายได้ตามที่วางไว้

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆที่อาจเกิดขึ้นจากการทีมี่บุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ