กฎหมาย FDA Food Safety Modernization Act

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 20, 2011 16:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความเป็นมา

FDA Food Safety Modernization Act มีชื่อเรียกสั้นๆว่า Food Safety Bill ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย Federal Food, Drug, and Cosmetic Act ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอุปทานอาหารของสหรัฐฯ

ร่างกฎหมาย Food Safety Bill ได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วมาก โดยถูกเสนอเพื่อพิจารณาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2009 และสภาสูงของสหรัฐฯลงมติยอมรับร่างกฎหมายนี้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2010 คาดว่าประธานาธิบดีโอบามาจะลงนามในร่างกฎหมายเพื่อให้กลายเป็นกฎหมายสมบูรณ์ภายในต้นปี 2011

มีประมาณการณ์ว่าการดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องใช้เงินงบประมาณไม่ต่ำกว่า 1.4 พันล้านเหรียญฯในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า (ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา FDA ได้รับงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบเรื่องอาหารเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจนถึงประมาณว่าเกินกว่า 800 ล้านเหรียญฯในปัจจุบัน) การใช้จ่ายเงินส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในปี 2014 และ 2015 หลังจากระยะเวลาที่กฎหมายนี้ได้ถูกทะยอยบังคับใช้อย่างเต็มที่กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ FDA ในการจ้างผู้ตรวจ (inspector) เพิ่มขึ้นอีก 2,000 คน และเป็นครั้งแรกที่กฎหมายให้อำนาจ FDA ในการเรียกเก็บ (recall) ผลิตภัณฑ์สินค้าภายใต้การดูแลของ FDA ในปัจจุบันการเรียกเก็บสินค้าออกจากตลาดถือเป็นการกระทำตามความสมัครใจของเจ้าของสินค้า

เนื้อหาโดยสรุปของ Food Safety Bill ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าสินค้าอาหาร (หมายเหตุ: Secretary of Health and Human Services-HHS ที่กล่าวถึงในกฎหมาย ในรายงานนี้จะใช้เรียกแทนว่า FDA)

บรรพที่ I — พัฒนาความสามารถในการป้องกันปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

มาตราที่ 101-

แก้ไขกฎหมาย Federal Food, Drug, and Cosmetic Act (FFDCA) เพื่อเพิ่มอำนาจ Secretary of Health and Human Services —HHS (ต่อไปนี้จะใช้คำว่า FDA) ในการตรวจบันทึก (records) ที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่รวมถึง (1) การยอมให้มีการตรวจบันทึกอาหารที่ FDA มีเหตุผลสมควรที่จะเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในลักษณะที่คล้ายคลึงกับอาหารที่ถูกปนเปื้อนสกปรก และ (2) บังคับให้แต่ละบุคคล (รวมถึงไร่นาและร้านอาหาร) ผู้ซึ่งทำการผลิต จัดการ บรรจุ จัดส่ง รับ เก็บครอบครองไว้ หรือนำเข้าสินค้าอาหารต้องยินยอมให้ตรวจบันทึกต่างๆของพวกเขาถ้า FDA เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่มีเหตุผลที่สมควรว่าการใช้หรือการเข้าถึงอาหารเหล่านั้นจะก่อให้เกิด อันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพและอาจจะถึงชีวิตได้ในภายหลัง

มาตราที่ 102-

ให้อำนาจ FDA ในการระงับการจดทะเบียนโรงงานผลิต (food facility registration) ถ้าอาหารที่ถูกผลิต ถูกจัดการ ถูกทำบรรจุภัณฑ์ หรือถูกเก็บไว้ โดยโรงงาน มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพหรือต่อชีวิตของ มนุษย์หรือสัตว์

มาตราที่ 103-

บังคับให้เจ้าของ ผู้ดำเนินการ หรือตัวแทนที่รับผิดชอบโรงงานผลิตสินค้า แต่ละคน ให้ (1) ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออาหาร (2) ระบุและจัดตั้งการควบคุมที่จะเป็นการป้องกัน (3) สอดส่องควบคุมปฏิบัติการของการควบคุมเหล่านี้ และ (4) เก็บรักษาบันทึกของการสอดส่องควบคุมเหล่านี้ไว้ โรงงานผลิตที่ถูกกำหนดว่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารที่เฉพาะเจาะจงลงไปจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ระบุในมาตรานี้ กำหนดให้ FDA ออกประกาศกฎระเบียบต่างๆที่เป็นการจัดตั้งมาตรฐานระดับต่ำสุดที่เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์สำหรับจัดทำการวิเคราะห์วิจัยความเสี่ยง การจดบันทึกความเสี่ยง การจัดตั้งการควบคุมที่เป็นการป้องกัน และการทำบันทึกการจัดตั้งดังกล่าว ห้ามการดำเนินงานของโรงงานผลิตที่ทำการผลิต จัดการ บรรจุภัณฑ์ หรือเก็บสินค้าอาหารสำหรับขายในสหรัฐฯ ถ้าเจ้าของโรงงาน ผู้ดำเนินการ หรือตัวแทนที่มีหน้าที่รับผิดชอบโรงงานนั้นๆ ไม่กระทำตามกฎระเบียบที่ระบุไว้ในมาตรานี้ การจัดทำกฎระเบียบต่างๆในตอนนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กให้ยืดเวลาออกไปก่อน

มาตราที่ 104-

กำหนดให้ FDA (1) ทำการทบทวนและประเมินข้อมูลเรื่องสุขภาพและข้อมูลอื่นๆที่สัมพันธ์กันกับเรื่องนี้เพื่อตัดสินการปนเปื้อนสกปรกที่สำคัญที่เกิดขึ้นในอาหาร และ (2) จัดทำเอกสารที่เป็นแนวทางปฏิบัติเรื่องการปนเปื้อนสกปรกที่เจาะจงลงไปและที่ตั้งอยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์ ระดับการทำงาน หรือ กฎระเบียบต่างๆ

มาตราที่ 105-

จัดทำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องการผลิตที่ปลอดภัย รวมถึงการกำหนดให้ FDA (1) จัดทำมาตรฐานระดับต่ำที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการผลิตที่ปลอดภัยและการเก็บเกี่ยวพืชผักผลไม้ที่เป็นสินค้าเกษตรดิบเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพหรือชีวิตในภายหลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด และ (2) จัดพิพม์การปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรและแนวทางสำหรับการผลิตและการเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัยสำหรับแต่ละชนิด ของผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นผลิตผลสด

มาตราที่ 106-

กำหนดให้ FDA ประกาศกฎระเบียบต่างๆที่จะป้องกันการปนเปื้อนสกปรกในอาหารที่เป็นความตั้งใจกระทำให้เกิดขึ้น

มาตราที่ 107-

สั่งให้ FDA ประเมินและเก็บค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับ (1) การตรวจสอบโรงงานผลิตอีกครั้งหนึ่ง (reinspection) (2) การเรียกเก็บอาหาร (food recalls) (3) โปรแกรมผู้นำเข้าที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่เป็นไปตามความสมัครใจ-voluntary qualified importer program และ (4) การตรวจสอบผู้นำเข้าอีกครั้งหนึ่ง นำบัญญัติเรื่องประกาศนียบัตรการส่งออกมาประยุกต์ใช้กับอาหาร

มาตราที่ 108-

กำหนดให้ Secretary of Agriculture (จากนี้ต่อไปจะเรียกว่า USDA) จัดทำและยื่นเสนอคณะกรรมการรัฐสภาที่เกี่ยวข้องและประกาศต่อสาธารณชนเรื่อง National Agriculture and Food Defense Strategy (กลยุทธการป้องกันอาหารและเกษตรแห่งชาติ) ที่จะต้องรวมถึง (1) แผนการจัดตั้ง (2) หัวข้อการวิจัยที่เป็นการประสานงานร่วมมือกัน และ (3) ขบวนการที่จะบรรลุผลสำเร็จ และ การประเมินความก้าวหน้าที่มุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนด

มาตราที่ 109 —

สั่งให้ Secretary of Homeland Security (DHS) ทำรายงานประจำปีเรื่องกิจกรรมของ Food and Agriculture Government Coordinating Council และ Food and Agriculture Sector Coordinating Council

มาตราที่ 110 —

กำหนดให้ FDA ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ (1) รายงานที่เป็นแบบครอบคลุมที่ระบุโปรแกรมและการปฏิบัติต่างๆที่ถูกกำหนดเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเส้นทางอุปทานอาหารและเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของความเจ็บป่วยที่มาจากอาหารและความเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่สามารถจะระบุได้ ผ่านทางกิจกรรมต่างๆที่เป็นเรื่องของการป้องกัน และ (2) รายงานทุกสองปีถึงโปรแกรมต่างๆที่เป็นเรื่องความปลอดภัย ของอาหารและการปฏิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการยื่นรายงานแบบครอบคลุมไปแล้วกำหนดให้ FDA และ USDA ยื่นแผนการวิจัยร่วมเรื่องความปลอดภัยของอาหารและการป้องกันอาหารเสนอต่อรัฐสภาทุกๆสองปี

มาตราที่ 111-

กำหนดให้ FDA ประกาศกฎระเบียบต่างๆในเรื่องการปฏิบัติด้านการขนส่งที่ถูกสุขลักษณะสำหรับการขนส่งสินค้าอาหาร

บรรพที่ II — การปรับปรุงความสามารถในการตรวจพบและตอบสนองต่อปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

มาตราที่ 201-

กำหนดให้ FDA (1) จัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้ในการตรวจสอบโรงงานและสินค้าที่มีการนำเข้าสหรัฐฯโดยพิจารณาจากโพรไฟล์ที่เป็นด้านความเสี่ยงของสินค้านั้นๆ (2) เพิ่มความถี่ในการตรวจโรงงานทั้งหมดทุกโรงงาน และ (3) รายงานต่อรัฐสภาตามที่เหมาะสมเป็นประจำทุกปีในเรื่องการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารและอาหารนำเข้า

มาตราที่ 202-

กำหนดให้ FDA (1) ยอมรับองค์กรที่ให้การรับรองห้องทดลองต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะทำการทดสอบแบบวิเคราะห์วิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร (2) จัดทำการจดทะเบียนองค์กรที่ได้รับการรับรองและแจ้งให้สาธารณชนรับทราบ (3) พัฒนามาตรฐานที่เป็นแบบอย่างที่องค์กรที่ทำหน้าที่รับรองจะบังคับให้ห้องทดลองต่างๆทำตาม (4) ทำการประเมินเป็นช่วงเวลาองค์กรที่ได้รับการรับรองและเรียกคืนการรับรององค์กรฯใดๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามตอนนี้ของกฎหมาย ระบุข้อกำหนดสำหรับการทดสอบที่บังคับให้กระทำให้รวมถึง (1) การทดสอบที่กระทำโดยห้องทดลองของรัฐบาลกลางหรือห้องทดลองที่ไม่ใช่ของรัฐบาลกลางที่ได้รับการรับรองแล้ว และ (2) ผลลัพท์ของการทดลองดังกล่าวจะถูกส่งโดยตรงไปยัง FDA กำหนดให้ FDA ทำการทบทวนผลลัพท์ต่างๆของการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ ที่จะนำไปสู่ขั้นตอนหรือการออกประกาศเรียกเก็บอาหารในระดับท้องถิ่น เพื่อประเมินความจำเป็นสำหรับการเรียกเก็บทั่วประเทศหรือกิจกรรมอื่นๆที่เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามกฎหมายหรือการลงโทษ กำหนดให้ FDA รายงานต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาที่เกี่ยวข้องถึงความก้าวหน้าในการจัดตั้งเครือข่ายห้องทดลองที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เป็นด้านอาหารในระดับประเทศ

มาตราที่ 203 —

สั่งการให้หน่วยงาน Homeland Security เก็บรักษาข้อตกลงที่ซึ่งสมาชิกเครือข่ายห้องทดลองต่างๆที่เกี่ยวข้องจะ (1) ยอมรับวิธีการห้องทดลองที่เป็นพื้นฐานเพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันความรู้และข้อมูล (2) ระบุสื่อกลางที่ซึ่งสมาชิกแต่ละคนสามารถจะทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุสูงสุดถึงการเตรียมพร้อมของห้องทดลองทั่วประเทศและจัดทำความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นในระหว่างเหตุการณ์ฉุกเฉิน และ (3) ดำเนินการติดต่อประสานงานกันอยู่ตลอดเวลาและสร้างสัมพันธภาพที่จะสนับสนุนให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและการตอบสนองที่เป็นการผสมผสานของหลายฝ่ายในระหว่างเหตุการณ์ฉุกเฉิน กำหนดให้มีการจัดทำรายงานข้อกำหนดในเรื่องนี้ด้วย

มาตราที่ 204-

กำหนดให้ FDA (1) ปรับปรุงการสืบสาวต้นตอของผลไม้และพืชผักที่เป็นสินค้าเกษตรดิบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความเจ็บป่วยที่มาจากอาหาร ให้ดียิ่งขึ้น และ (2) จัดทำมาตรฐานสำหรับชนิดของข้อมูล รูปแบบ และ ช่วงเวลา สำหรับบุคลากรที่จะยื่นเสนอบันทึกต่างๆเพื่อช่วย FDA ในการสืบสาวต้นตอ

มาตราที่ 205 —

กำหนดให้ FDA จัดตั้งโปรเจ็คทดลองเพื่อทำการสำรวจและประเมินวิธีการสำหรับการสืบสาวต้นตอสินค้าอาหารที่ผ่านขบวนการผลิตแล้วได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่ FDA อาจจะระบุได้อย่างรวดเร็วถึงต้นตอแหล่งที่มาของการเกิดเหตุที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ผ่านการผลิตแล้วและผู้รับอาหารที่ถูกปนเปื้อนสกปรกนั้น

มาตราที่ 206-

กำหนดให้ FDA ดำเนินการผ่าน Director of the Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ในการขยายระบบการสอดส่องความเจ็บไข้ที่มาจากอาหาร เพื่อพัฒนาการเก็บรวบรวม การวิจัย การรายงาน และการใช้ประโยชน์ของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บไข้ที่มาจากอาหาร กำหนดให้ FDA (1) พัฒนาและจัดตั้งกลยุทธที่จะยกระดับและขยายความปลอดภัยของอาหารและความสามารถต่างๆในการป้องกันของมลรัฐและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงการพัฒนาการตอบสนองและการควบคุมการเกิดขึ้นของความเจ็บป่วยที่มาจากอาหาร และ (2) ทำให้เสร็จสมบูรณ์การทบทวนความสามารถของมลรัฐและท้องถิ่นและความจำเป็นสำหรับการขยายเพิ่มมากขึ้นไม่ช้าไปกว่าหนึ่งปีหลังจากที่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้มอบอำนาจอีกครั้งหนึ่งในการแบ่งสรรปันส่วนเงินช่วยเหลือให้แก่มลรัฐและอินเดียนแดงเผ่าต่างๆในการขยายการเข้าร่วมในเครื่อข่ายที่จะเป็นการขยายการทำความพยายามเรื่องความปลอดภัยของอาหารของรัฐบาลกลาง รัฐบาลมลรัฐ และท้องถิ่น รวมถึงการให้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและรักษาไว้ซึ่งการสอดส่องดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารความสามารถทางด้านเทคนิคและห้องทดลองที่จำเป็นสำหรับการเข้าร่วมดังกล่าว

มาตราที่ 207-

ให้อำนาจ FDA (1) จัดหาโอกาสให้แก่บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเข้าระงับการกระจายสินค้าและเรียกเก็บสินค้าอาหารที่มีการเจือปนสกปรกหรือการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้องถ้าการใช้หรือการเข้าถึงอาหารเหล่านั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงที่ตามมาต่อสุขภาพและการเสียชีวิตของมนุษย์และสัตว์ (2) สั่งให้บุคคลที่รับผิดชอบระงับการกระจายสินค้าโดยทันทีและจัดหาการประกาศแจ้งบุคคลที่เกี่ยวข้องถ้าบุคคลที่ รับผิดชอบไม่ทำการระงับการกระจายสินค้าหรือเรียกเก็บสินค้าอาหารเหล่านั้นด้วย ความสมัครใจ (3) สั่งให้มีการเรียกเก็บสินค้าถ้า FDA ตัดสินแล้วว่าการเคลื่อนย้ายสินค้านั้นออกไปจากตลาดการค้าเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะทำก็ต่อเมื่อหลังจากที่ได้ให้โอกาสในการยื่นอุทธรณ์แล้ว

มาตราที่ 208-

แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการกักสินค้าอาหารที่เป็นของฝ่ายบริหาร (administrative detention) เพื่อยอมให้มีการกักสินค้านั้นได้ก็ต่อเมือ FDA มีเหตุผลที่จะทำให้เชื่อได้ว่าสินค้าดังกล่าวมีการเจือปนสกปรกหรือมีการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้อง

มาตราที่ 209-

กำหนดให้ Administration of the Environment Protection Agency (EPA) จัดหาการสนับสนุนสำหรับ และความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่ รัฐบาลมลรัฐ ท้องถิ่น และเผ่าต่างๆในการเตรียมการสำหรับ การประเมิน การทำการเจือปนให้หมดไป และการ ฟื้นฟูจากเหตุการณ์ฉุกเฉินทางด้านการเกษตรหรืออาหาร

มาตราที่ 210-

กำหนดให้ FDA จัดทำมาตรฐานและการฝึกอบรมฝ่ายบริหารและโปรแกรมการศึกษาสำหรับพนักงานของรัฐ ท้องถิ่น เขตปกครอง และเผ่าต่างๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของอาหารที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบต่อกฎระเบียบต่างๆและนโยบายต่างๆ ที่กฎหมายนี้จัดทำขึ้น ให้อำนาจและสนับสนุน FDA ในการจัดทำการสอบ ทดสอบ และสอบสวนเพื่อวัตถุประสงค์ในการตัดสินการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารผ่านทางเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของหน่วยงานมลรัฐ ท้องถิ่นเขตปกครอง หรือเผ่า

มาตราที่ 211-

ขยายโปรแกรมการให้เงินทุนแก่มลรัฐ เขตปกครอง และอินเดียนแดงเผ่าต่างๆเพื่อการตรวจสอบที่รวมถึงการให้เงินเพื่อ (1) ฝึกอบรมมาตรฐานของ FDA ในการสอบตรวจสอบ และสอบสวนการผลิต การจัดการ การบรรจุภัณฑ์ การถือครอง การกระจายและการนำเข้า สินค้าอาหาร (2) สร้างความสามารถของห้องทดลองความปลอดภัยของอาหาร (3) สร้างโครงสร้างและความสามารถของโปรแกรมความปลอดภัยของอาหารและ (4) ดำเนินการที่เหมาะสมในการป้องกันสุขภาพของสาธารณชนในการตอบสนองต่อการเรียกเก็บสินค้าอาหารภายใต้ FFDCA

บรรพที่ III — การปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารนำเข้า

มาตราที่ 301-

กำหนดให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯปฏิบัติการในเรื่องของกิจกรรมต่างๆที่เป็นการรับรองซัพพลายต่างชาติที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเสี่ยง เพื่อรับรองว่าสินค้าอาหารนำเข้าได้ถูกผลิต โดยปฏิบัติตามกฎหมายตามข้อบังคับต่างๆที่บังคับใช้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยความเสี่ยงและมาตรฐานสำหรับการผลิตที่ปลอดภัยและไม่มีการเจือปนสกปรกหรือการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้อง กำหนดให้ FDA ออกแนวทางที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้นำเข้าสหรัฐฯในการพัฒนาโปรแกรมการรับรองซัพพลายในต่างประเทศ

มาตราที่ 302 —

กำหนดให้ FDA (1) จัดทำโปรแกรมเพื่อจัดหาให้ซึ่งการอำนวยความสะดวกในการทบทวนและการนำเข้าอาหารที่มีการเสนอเพื่อการนำเข้าโดยผู้นำเข้าสหรัฐฯผู้ซึ่งได้ทำความตกลงโดยสมัครใจที่จะเข้าร่วมในโปรแกรมดังกล่าว และ (2) ออกเอกสารที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมและการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆในโปรแกรมดังกล่าว

มาตราที่ 303-

กำหนดให้ปฏิเสธการนำเข้าสินค้าอาหารนำเข้าที่ล้มเหลวไม่ผ่านข้อบังคับต่างๆสำหรับการรับรองหรือการรับประกันอื่นๆที่ว่าอาหารนั้นๆเป็นไปตามข้อบังคับของ FFDCA ที่เกี่ยวข้อง ให้อำนาจ FDA ในการบังคับให้มีการจัดหาใบประกาศนียบัตรรับรองหรือการรับประกันอื่นๆว่าสินค้าอาหารนั้นๆมีการปฏิบัติตามกฎหมาย FFDCA ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตให้รับสินค้าอาหารเข้าประเทศสหรัฐฯได้

มาตราที่ 304-

สั่งการให้ FDA ทำข้อบังคับ-ก่อนการนำเข้าสินค้าอาหาร—ให้มีการประกาศว่ามีประเทศใดบ้างที่ห้ามการนำเข้าสินค้านั้นๆ

มาตราที่ 305-

กำหนดให้ FDA ตัดสินว่าประเทศหนึ่งๆสามารถที่จะจัดหาหลักประกันที่สมเหตุสมผลได้หรือไม่ว่าอุปทานอาหารของประเทศนั้นๆเป็นไปตามหรือเกินกว่าความปลอดภัยของอาหารที่ถูกผลิต จัดการ บรรจุ หรือเก็บ ในประเทศสหรัฐฯ

มาตราที่ 306-

สั่งการให้ FDA ทำการพัฒนาแผนการที่เป็นแบบครอบคลุมที่จะเพิ่มความสามารถด้านเทคนิค วิทยาศาสตร์ และกฎระเบียบ ของรัฐบาลและอุตสาหกรรมอาหารของต่างชาติที่ซึ่งอาหารได้ถูกส่งออกเข้าไปยังสหรัฐฯ

มาตราที่ 307-

ให้อำนาจ FDA ในการทำการจัดการและข้อตกลงกับรัฐบาลต่างชาติในการอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบโรงงานในต่างประเทศที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว กำหนดให้ FDA นำทรัพยากรไปใช้ในการตรวจสอบโรงงาน ซัพพลายในต่างประเทศ และชนิดของอาหารต่างชาติที่จะช่วยเป็นหลักประกันความปลอดภัยและความมั่นคงของซัพพลายอาหารของสหรัฐฯ กำหนดให้อาหารถูกปฏิเสธการนำเข้าไปยังสหรัฐฯถ้าการขอ ตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารถูกปฏิเสธโดยเจ้าของโรงงาน ผู้ดำเนินการ หรือตัวแทนในต่างประเทศ

มาตราที่ 309-

กำหนดให้ FDA จัดตั้งสำนักงาน Food and Drug Administration (FDA) ในต่างประเทศเพื่อจัดหาความช่วยเหลือต่อองค์กรภาครัฐที่เหมาะสม โดยมุ่งที่จะจัดหาความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ FDA ควบคุมที่ถูกส่งออกโดยประเทศเหล่านั้นเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ

มาตราที่ 310-

กำหนดให้ FDA (1) พัฒนาและจัดทำกลยุทธที่จะระบุและป้องกันได้ดียิ่งขึ้นในเรื่องการลักลอบนำอาหารเข้าสหรัฐฯ และ (2) แจ้งหน่วยงาน DHS ภายในสิบวันหลังจากที่มีการระบุอาหารที่ถูกลักลอบนำเข้าที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพได้ในภายหลังหรือชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์ กำหนดให้มีการออกข่าวเพื่อเตือนผู้บริโภคและผู้ค้าเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอาหารที่มีการลักลอบนำเข้าถ้าเป็นไปตาม ข้อบังคับบางประการที่กำหนดไว้แล้ว

บรรพที่ IV- บทบัญญัติเบ็ดเตล็ด

มาตราที่ 401-

ให้อำนาจในการจัดสรรสำหรับปีงบประมาณ 2010-2014 สำหรับกิจกรรมต่างๆของ Center for Food and Applied Nutrition, The Center for Veterinary Medicine และกิจกรรมพื้นที่ที่เกี่ยวข้องใน Office of Regulatory Affairs ของ FDA สั่งการให้ FDA เพิ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในพื้นที่ (field officer) ของ Center และ Office ดังกล่าว

มาตราที่ 402

จัดทำการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสให้แก่ลูกจ้างของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการผลิตการจัดการ การบรรจุ การรขนส่ง การจัดส่ง การรับ การเก็บ หรือการนำเข้าอาหาร ผู้ซึ่งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆที่เป็นการฝ่าฝืน FFDCA

มาตราที่ 404

ประกาศแจ้งให้ทราบทั่วกันว่าในกฎหมายนี้ไม่มีอะไรที่ถูกจัดทำขึ้นในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับข้อตกลงที่จัดตั้งโดย World Trade Organization หรือข้อตกลงอื่นใดหรือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ซึ่สหรัฐฯร่วมลงนาม

มาตราที่ 405

กำหนดให้ FDA ทำการแก้ไข Fish and Fisheries Products Hazards and Control Guidance ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่

มาตราที่ 406

กำหนดให้ FDA ปฏิบัติงานโดยผ่าน Commissioner of Food and Drugs ที่เป็นการศึกษาการขนส่งอาหารเพื่อการบริโภคในประเทศสหรัฐฯ ที่รวมถึงการตรวจสอบความจำเป็นที่เป็นแบบพิเศษไม่เหมือนใครของพื้นที่ชนบทหรือชายแดนไกลๆในเรื่องของการจัดส่งสินค้าอาหารที่ปลอดภัย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: Congressional Research Service, Library of Congress

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ   AFET   FED   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ