จานร้อน-อินเดีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 3, 2011 15:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เศรษฐกิจอินเดียยังคงร้อนแรงในปี 2553 โดย GDP ขยายตัวถึงร้อยละ 8.8 ปัจจัย สำคัญที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดีย ได้แก่ อุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งเนื่องจากการขยายตัว ของการลงทุนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งมีการขยายตัวของภาคการส่งออก อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า ในปี 2554 เศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ซึ่งเป็นระดับที่เศรษฐกิจอินเดียเคยขยายตัวก่อนที่เกิดปัญหาวิกฤติการเงินโลก

อินเดียเป็นประเทศใหญ่ ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาตลาดผู้บริโภคในอินเดียอย่างรอบคอบ เนื่องจากอินเดียเป็นตลาดที่มีความหลากหลายของพื้นที่ ทรัพยากร เศรษฐกิจ รายได้ และวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ/แต่ละเมือง นอกจากนั้น ระบบวรรณะยังแข็งแกร่งใน สังคมอินเดีย แม้จะปรับตัวให้ดีขึ้นในปัจจุบันก็ตาม การจะเข้าไปทำการค้าหรือลงทุนควรพิจารณาเลือกพื้นที่ลงทุนที่เอื้อต่อธุรกิจทั้งด้านการผลิตและการตลาด ทั้งนี้ พื้นที่มีศักยภาพในการส่งออกและการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ หัวเมืองเศรษฐกิจหลัก 10 เมือง ได้แก่ มุมไบ นิวเดลี โกลกัตตา บังกะลอร์ เจนไน ไฮเดอราบัด อาห์เมดาบัด ปูเน่ สุรัติ และกานปูร์ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีประชากรมาก และมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งมีปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนในหลายด้าน ทั้งอุตสาหกรรมและบริการ

การค้าไทย-อินเดีย ปี 2553
อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับที่17 ของไทย
ไทยส่งออก                     4,393 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 36%
ไทยนำเข้า                     2,252 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 30%
ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า           2,140 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าส่งออกสำคัญ                ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและอัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ

ส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า

สินค้านำเข้าสำคัญ                ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์

เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าใน

บ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง ด้ายและเส้นใย

10 เมืองเศรษฐกิจร้อนแรงของอินเดีย

บริษัท McKinsey Global ประกาศผลการวิจัยพบว่า ในปี 2030 อินเดียจะมีเมืองที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนถึง 68 เมือง ในจำนวนนี้มี 13 เมืองที่มีประชากรเกิน 4 ล้านคน และ 6 มหานครที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคน คาดว่า ในปี 2030 จะมีคนอยู่กันในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้มากกว่า 590 ล้านคน และมุมไบกับนิวเดลีจะเป็นเมืองที่มีประชาการมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเมืองเหล่านี้จะมีขนาดประชากรและขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศสำคัญๆ บางประเทศเสียอีก อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ้างงาน 70 % ของอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจ 70 % ของ GDP อินเดีย เป็นแหล่งรายได้ด้านภาษีเงินได้ 85% ของรัฐบาล

ปัจจุบันอินเดียมีเมืองที่มีขนาด GDP ใหญ่มากที่สุด 10 เมือง ประกอบด้วย มุมไบ นิวเดลี โกลกัตตา บังกะลอร์ เจนไน ไฮเดอราบัด อาห์เมดาบัด ปูเน่ สุรัติ และกานปูร์ ตามลำดับ

อันดับ 1 มหานครมุมไบ (Mumbai)

มุมไบ เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของอินเดีย มีขนาด GDP ใหญ่ที่สุดของประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่ติดอันดับ 10 เมืองธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มุมไบมีการผลิตภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 25 % ของอินเดีย ปัจจุบันมีการพัฒนาเมืองคู่แฝดอย่าง Navi Mumbai และ Thane ให้เจริญทัดเทียมกับมุมไบ มีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในเมืองทั้ง 3 นี้ บริษัทข้ามชาตินิยมตั้งสำนักงานที่มุมไบ มุมไบยังเป็นเมืองที่มีค่าเช่าสำนักงานแพงเป็นอันดับ 4 ของโลก มีตึกระฟ้าติดอันดับโลกอยู่มากมาย มีผู้คนจากทั่วอินเดียมาทำงานอยู่ที่เมืองมุมไบ มุมไบเป็นเมือง Bollywood แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาทางด่วน รถไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟใต้ติดอย่างเต็มที่ก็ตาม แต่มุมไบก็ยังเป็นเมืองที่ถติดหนักที่สุดของอินเดีย

GDP =73,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP growth8.2%(2010)

GDP/capita 2,723 เหรียญสหรัฐ(2010)

ประชากร 20 ล้านคน

Mumbai

อันดับ 2 กรุงนิวเดลี (New Delhi)

กรุงนิวเดลี เมืองหลวงแห่งสาธารณรัฐอินเดีย มี GDP เป็นสัดส่วน 4.94% ของ GDP ทั้งประเทศ ในภาคบริการมีการเติบโตเป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างดีเยี่ยม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ IT โทรคมนาคม โรงแรม ธนาคาร สื่อสาร สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องหนัง ไฟฟ้า โทรคมนาคม บริการด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว

ธุรกิจก่อสร้างไทยมีโอกาศที่ดีในการเข้าสู่ตลาดนิวเดลี เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างมากมาย อาทิเช่น โครงการยักษ์ the Yamuna Expressway Project พร้อมทั้งมีโครงการพัฒนาเมืองรายทาง 5 เมืองควบคู่ไปด้วย ได้แก่ เมือง Greater Noida, Jaganpor, Mairzapur, Tappal และ Agra

GDP =58,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP growth 8.2% (2010)

GDP/capita1,671 เหรียญสหรัฐ(2010)

ประชากร15.3 ล้านคน (2010)

New Delhi

อันดับ 3 โกลกัตตา(Kolkata)

โกลกัตตา ชื่อเดิมคือ กัลกัตตา เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ธุรกิจด้าน IT ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในเขต Raja hat ,Greater Kolkata โกลกัตตาเป็นเมือง ITเพียงเมืองเดียวในฝั่งตะวันออกของอินเดีย มีการเติบโตถึงปีละ 70% โดยมีนิคมอุตสาหกรรม IT ชื่อ Saltlake Sector 5 โกลกัตตายังเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกและอีสานของอินเดีย ตลาดหุ้นโกลกัตตาใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมหานครมุมไบ ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัย และสำนักงานใหม่ๆ มากมาย โอกาสทางธุรกิจในโกลกัตตา มีมากเนื่องจากการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยัง เวสต์เบงกอล อีสานของอินเดีย พิหาร และทิเบตของจีน (ผ่านด่าน Nathula) นอกจากนั้น ธุรกิจบริการด้าน การก่อสร้าง การท่องเที่ยว โรงแรม และสปา ก็เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ

GDP =52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita 2,271 เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth 6.1% (2010)

ประชากร 13.8 ล้านคน (2010)

Kolkata

อันดับ 4 บังกะลอร์ (Bangalore)

บังกะลอร์ (ชื่อใหม่คือ Bengaluru) เป็นเมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะ เป็นเมือง IT อันดับ 1 ของอินเดีย (Silicon Valley of India) และป็นที่นิยมของบริษัทต่างชาติเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนี้กว่า 2,000 แห่ง เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย บังกะลอร์มีจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 1 ล้านรูปีมากที่สุดในอินเดีย จึงเป็นเศรษฐีตัวจริงของอินเดีย อุตสาหกรรมหลักของบังกะลอร์คือ IT และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น BPO การจ้างงานส่วนใหญ่ในบังกะลอร์จึงเป็นบริษัทซอฟแวร์ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสู่ธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น เช่น การก่อสร้าง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และการท่องเที่ยว บังกะลอร์มีนิคมธุรกิจซอฟแวร์อยู่ 3 แห่ง คือ Software Technology Parks of India (STPI); International Tech Park, Bangalore (ITPB); และ Electronics City

รัฐกรณาฏกะ(Karnataka) — เป็นรัฐที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย ในปัจจุบันรัฐบาลกรณาฏกะได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.1 แสนล้านรูปีต่อปี (ประมาณ 4.5% ของ GDPของรัฐ) และวางแผนจะลงทุนราว 2.1 แสนล้านรูปีต่อปี(ประมาณ 9% ของ GDP) ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดการประมูลงานได้ที่ Email: [email protected], www.idd.kar.nic.in

GDP = 28,900 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP growth10.1%(2010)

GDP/capita2,585 เหรียญสหรัฐ(2010)

ประชากร6.6 ล้านคน (2010)

Bangalore

อันดับ 5 เจนไน (Chennai)

เจนไนเป็นเมืองอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ (30 % ของการผลิตรถยนต์ในอินเดีย ซึ่ง Hyundai มีฐานการผลิตใหญ่อยู่ที่เมืองเจนไน ) IT (Software & Hardware), BPO และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ IT (เจนไนมีการส่งออก software และ ITES มากเป็นอันดับสองรองจากบังกะลอร์) Medical Hub เครื่องหนัง รองเท้า อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนต์ (โกลลิวูด) การผลิตกระดาษจากชันอ้อย การท่าเรือ ปัจจุบันมีบริษัทไทย เข้าไปลงทุน เช่น CP (โรงงานอาหารสัตว์) เดลตา (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) และบ้านพฤกษา (บ้านจัดสรร)

ผลจากการที่เจนไนมีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ มี FDI เป็นอันดับต้นๆ ของอินเดีย และมีท่าเรือที่ทันสมัยและดีเยี่ยม ส่งผลให้เจนไนมีศักยภาพรองรับสินค้าไทยป้อนสายการผลิตและผู้บริโภคหลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอาหาร ทองรูปพรรณ ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องสำรองไฟฟ้าอนึ่ง บนทางหลวงสุวรรณจตุรพักตร์ช่วงเจนไน-เรดฮิลมีนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำ Sri City ซึ่งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ Rockworth ของไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจแล้ว

GDP = 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita1,945 เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth6.6%(2010)

ประชากร7.5 ล้านคน (2010)

Chennai

อันดับ 6 ไฮเดอราบัด (Hyderabad)

ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเดคคาน เป็นศูนย์กระจายสินค้าสู่รัฐโอริสา ฉัตติสครห์ ฌาร์ขัณฑ์และมหาราษฏระ ไฮเดอราบัดเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของรัฐอานธรประเทศ มี IT เป็นอุตสหกรรมหลัก อุตสาหกรรม IT ใช้แรงงานคิดเป็นสัดส่วน 90% ของแรงงานทั้งหมด เศรษฐกิจของเมืองนี้ได้ขยายตัวจากสาขาบริการไปสู่สาขาอื่นๆ นอกสาขา IT มากขึ้น อันได้แก่ การค้า การขนส่ง การส่งออก คลังสินค้า การสื่อสาร และห้างสรรพสินค้า (มี Hypermart .ใหญ่ที่สุดของอินเดีย) เป็นต้น รายได้หลักส่วนหนึ่งของไฮเดอราบัดมาจากจากแรงงานอินเดียที่ไปทำงานในดูไบ ปัจจุบันมีบริษัทไทย Rockworth เข้าไปตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรม Sri City และ CP เข้าไปตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่เขตท่าเรือวิสาขาปัตนัม

GDP = 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita2,253เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth7.8%(2010)

ประชากร7 ล้านคน (2010)

Hyderabad

อันดับ 7 อาห์เมดาบัด (Ahmedabad)

อาห์เมดาบัด (Ahmedabad) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของรัฐกุจรัต ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้อาห์เมดาบัดเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ทำเลตั้งที่อยู่ไม่ห่างจากเมืองสุรัตนัก และเป็นศูนย์กระจายสินค้าสินค้าให้กับเมืองอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลจากทะเลในฝั่งตะวันตก อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ IT, ยานยนต์ Software, BPO (ทาทา) ก่อสร้าง สิ่งทอ ฝ้าย รถยนต์ (ทาทา นาโน) เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยา เคมีภัณฑ์ การค้า การขนส่ง คลังสินค้า และการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ เครื่องขัดสีข้าว และทองรูปพรรณ (อินเดียบริโภคทองคำมากที่สุดในโลก)

GDP = 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita2,248เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth11%(2010)

ประชากร4.8 ล้านคน (2010)

Ahmedabad

อันดับ 8 ปูเน่ (Pune)

ปูเน่ เป็นเมืองบริวารของมุมไปที่ห่างไปทางทิศตะวันออกราว 150 กิโลเมตร มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง ปูเน่เป็นเมืองอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกประเภท เป็นเมืองแห่งเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า IT, Software, BPO มีนิคมอุตสาหกรรม ITชั้นนำ เช่น Rajiv Gandhi IT Park at Hinjewadi, Magarpatta Cybercity, MIDC Software Technology Park ที่เขต Talawade , Marisoft IT Park ที่เขต Kalyani Nagar

GDP = 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita2,331 เหรียญสหรัฐ(2010

GDP growth7.4%(2010)

ประชากร5 ล้านคน (2010)

Pune

อันดับ 9 สุรัติ (Surat)

สุรัติเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐกุจรัต เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาสุรัติมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 11.5% ต่อปี มีการว่างงานต่ำ การจ้างงานสูง และมีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยต่อหัวสูงที่สุดในอินเดีย นับแต่อดีตมาสุรัติเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านสิ่งทอ และ อุตสาหกรรมเพชร(Diamond capital of the World) ทั้งนี้กว่า 90 % ของเพชรในตลาดโลกผ่านการตัดและเจียรนัยที่เมืองสุรัติแห่งนี้

GDP = 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita2,571 เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth10.2%(2010)

ประชากร4 ล้านคน (2010)

Surat

อันดับ 10 กันปูร์ (Kanpur)

กันปูร์ตั้งอยู่ในรัฐอุตรประเทศ เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของอินเดีย เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมส่งออกเครื่องหนัง (ส่งออกรองเท้ามากที่สุดของอินเดีย) และสิ่งทอของอินเดีย นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมหนักที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เหล็ก เคมีภัณฑ์ จักรยานยนต์ เครื่องยนต์ และปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตด้านอุตสาหกรรมและเกษตรของประเทศทุกประเภท กันปูร์ยังเป็นเมืองที่มี SMEs มากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย กันปูร์มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเกณฑ์ที่ดีมาก มีทางหลวงเชื่อมเมืองสำคัญๆ เช่น นิวเดลีหลายสาย ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่สนใจส่งออกสินค้าปัจจัยการผลิตสินค้าไม่ควรมองข้ามตลาดกันปูร์ อาทิเช่น ชิ้นส่วนรองเท้าและเครื่องหนัง หนังฝอก และ ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ เป็นต้น

GDP = 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

GDP/capita1,874 เหรียญสหรัฐ(2010)

GDP growth5%(2010)

ประชากร4.9 ล้านคน (2010)

Kanpur

นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน กล่าวว่า ปัจจุบันคนอินเดียมีกำลังซื้อสูงขึ้น มีเศรษฐีใหม่คนชั้นกลางกว่า 300 ล้านคน อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้าน IT และยานยนต์ จึงเป็นโอกาสดีที่สินค้าไทยไทยจะสามารถเจาะตลาดได้มากขึ้น โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยต์ รองเท้า/ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์หนังฟอก ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด ไม้ยางพารา ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น/เฟอร์นิเจอร์/ของใช้เด็ก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เมลามีน ยาง/ผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม และทองรูปพรรณ (อินเดียบริโภคทองคำมากที่สุดในโลก)

ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลดภาษีภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) และกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการมีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดอินเดียได้มากขึ้น เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

FTA ไทย-อินเดีย ไทยและอินเดียได้ตกลงลดภาษีระหว่างกันในรายการสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme) จำนวน 82 รายการ โดยทั้ง 82 รายการมีอัตราภาษี 0% ปัจจุบัน ไทย-อินเดียอยู่ระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้าในส่วนที่เหลือ สินค้าที่มีศักยภาพส่งออกไปอินเดียภายใต้ FTA ไทย — อินเดีย ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ อะลูมิเนียมเจือ เครื่องประดับเพชรพลอย โพลิคาร์บอเนต ชิ้นส่วนยายนยนต์ พัดลม และเครื่องจักรกลการเกษตร

ตรวจสอบข้อมูลสินค้าที่ได้รับประโยชน์จาก FTA ไทย — อินเดีย(TIFTA)ได้ที่

http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage=the_files/$$12/level3/fta_ind.htm&level3=1068

FTA อาเซียน-อินเดีย มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ครอบคลุมสินค้ากว่า 4,800 รายการ โดยสินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ กรดเทเรฟทาลิก เครื่องยนต์ดีเซล เอทิลีน ผ้าใบยางรถยนต์ ถังเชื้อเพลิง ยางสังเคราะห์ และเครื่องรับวิทยุ เป็นต้น

ตรวจสอบข้อมูลสินค้าที่ได้รับประโยชน์จาก FTA อาเซียน — อินเดีย(AIFTA) ได้ที่

http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage=the_files/$$12/level3/Asean_India.htm&level3=1236

  • Thailand Trade Exhibition 2011 ณ เมืองเจนไน วันที่ 19-21 สิงหาคม 2554 ณ Chennai Trade Centre, Chennai
  • สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน [email protected]
  • ติดตามข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับประเทศอินเดียได้ที่เว็บไซต์

http://www.depthai.go.th/brขอมลbrการคาและbrการสงออก/ขอมลตลาด/ขอมลรายประเทศ/tabid/78/Default.aspx

ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ