ตลาดธุรกิจสปาไทยในประเทศเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 26, 2012 15:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดธุรกิจสปาไทยในประเทศเยอรมนี

*********************************** 1.ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจสปาในเยอรมนี ภาพรวมตลาด

ปัจจุบัน เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำและมีจำนวนผู้สูงอายุค่อนข้างมาก ประกอบกับค่านิยมของชาวเยอรมันที่ให้ความสนใจในการรักษาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศเยอรมนีออกกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้เป็นประจำตั้งแต่ 400 ยูโรขึ้นไปต้องทำประกันสังคมและมีหน้าที่จ่ายเบี้ยประกันสังคม และบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ โดยแยกการประกันสุขภาพออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. การประกันสุขภาพตามที่กฎหมายบังคับคิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดสามารถแบ่งการประกันออกเป็น

1.1 การประกันสุขภาพภาคบังคับสำหรับคนงานและพนักงาน

1.2 การประกันสุขภาพร่วมกับสมาชิกในครอบครัว (Familienversicherung)

1.3 ประกันสุภาพสำหรับคนตกงาน

2. การประกันสุขภาพส่วนตัวแบบพิเศษ ได้แก่ ประชากรที่มีรายได้สูง ผู้บริหารของบริษัทและองค์กรต่างๆ คิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด

3. การประกันสุขภาพที่ได้รับการรักษาฟรี ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ ทหารและตำรวจ คิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด

สำหรับการประกันสุขภาพนั้น นอกจากจะหมายถึงการให้บริการทางการแพทย์แล้ว ยังรวมถึงสถานที่บำบัดรักษาและสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  • สถานพักฟื้น คลีนิคกายภาพบำบัด ค่าใช้จ่ายเกือบทั้งหมดสำนักงานประกันสุขภาพจะเป็นผู้ออกให้ ตามความเห็นของแพทย์
  • กิจการที่ให้บริการด้าน Spa และ Wellness หากแพทย์เห็นสมควรและเขียนใบสั่งให้ผู้ป่วยเข้าบำบัดรักษา บริษัทประกันสุขภาพจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย สำหรับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะใช้บริการประเภทนี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แบ่งการบริการ ได้ดังนี้ การนวดทั้งตัวหรือบางส่วน, การอบไอน้ำ อาบน้ำแร่, ยิมนาสติกแบบธรรมดาและยิมนาสติกในน้ำ, การพอกตัว พอกหน้า, การฝังเข็ม ฯลฯ สำหรับการนวดที่ได้รับความนิยมในเยอรมนีได้แก่ การนวดน้ำมัน, ใช้เครื่องหอมต่างๆ,การนวดแบบ Aryurveda แบบจีนและแบบไทย

ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่า Wellness สรุปผลจากแบบสอบถามและการประเมินผล พบว่าชาวเยอรมันให้ความหมายของ Wellness ดังนี้

  • การพักผ่อน (24%)
  • ความรู้สึก (19%)
  • นันทนาการ (17%)
  • สุขภาพ (15%)
  • ความหรูหรา มีระดับ (14%)
  • การฟื้นฟู (6%)
  • อื่นๆ(5%)
บริการที่ชาวเยอรมันจะได้รับบริการจากคำว่า Wellness
  • ซาวน่า (28%)
  • นวด (18%)
  • ร้านเสริมสวย (9%)
  • Aromtheraphie (7%),
  • อื่นๆ (38%)
ภาพรวมของธุรกิจร้านนวดไทย/สปาไทยในประเทศเยอรมนี

การนวดไทย/สปาไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวเยอรมันที่เคยเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านนวดไทย/สปาไทยในเยอรมนีมีอัตราการเจริญเติบโตขึ้นสูง ในปัจจุบันมีร้านนวดไทย/สปาไทยเปิดขึ้นใหม่ตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศเยอรมนีเป็นจำนวนมาก รวมมีร้านนวดไทย/สปาไทยมากกว่า 379 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยรัฐที่มีจำนวนร้านนวดไทยมากที่สุดคือ Berlin (121),Nordrhine-Westfalen (72), Hessen (55) และ Baden-Wrttemberg (32) เรียงตามลำดับ

การนวดไทยแผนโบราณเป็นที่รู้จักดีในเยอรมนี และได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีชาวเยอรมันผู้ประกอบอาชีพด้านการนวด กายภาพบำบัด สนใจและได้เดินทางไปเรียนรู้ ศึกษาอย่างจริงจังในประเทศไทย รวมทั้งที่วัดโพธิ์ด้วย ต่อมาก็ได้เปิดกิจการเน้นการนวดแผนไทย หรือเพิ่มการนวดแผนไทยเข้าไว้ในบริการที่ร้านของตน นอกจากนี้ ยังมีสถาบัน สมาคมและองค์กรที่สอนการนวด กายภาพบำบัดหลายแห่ง ได้เพิ่มการสอนนวดแผนโบราณในโปรแกรมการสอน โดยมีอาจารย์ผู้สอนที่ผ่านการอบรม ศึกษาการนวดแผนไทยด้วย มีทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติอื่นๆ

ในเยอรมนี หน่วนงานด้านวิชาชีพ (Berufsgenossenschaft) กำหนดให้การนวดเป็นอาชีพงานฝีมือ เป็นการบำบัด การรักษาโรค จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการการนวดได้เมื่อเจ้าของกิจการมีคุณสมบัติคุณวุฒิถูกต้องตามกฎระเบียบ เช่น ผ่านการศึกษาในวิทยาลัยสายอาชีพ ครูยิมนาสติก หรือผ่านการเรียนการฝึกงานด้านกายภาพบำบัด เป็นต้น กิจการที่ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ จะได้รับความเชื่อถือระดับหนึ่งสถานบริการประเภทนี้จะมีบริการสอนการนวดแบบต่างๆ รวมทั้งการนวดแบบไทยด้วย โดยผู้ร่วมงาน อาจารย์ของกิจการเหล่านี้ซึ่งจะมีทั้งคนไทยและเยอรมันต่างเคยไปศึกษา ได้รับการอบรมการนวดแผนไทยในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

แม้ว่าการนวดไทยจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศเยอรมนี แต่ภาพลักษณ์ของการนวดไทยบางแห่งยังเป็นภาพลบสำหรับชาวเยอรมัน แต่ในปัจจุบันสมาคมสปาไทยแห่งเยอรมนี (Thai Spa Association Germany) ได้รณรงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจนวดแผนไทยและสปาไทยรวมถึงการสอดส่องดูแลธุรกิจนวดไทย/สปาไทยในกลุ่มสมาชิกทั้งหมด

ในประเทศเยอรมนี สามารถเปิดร้านนวดแผนไทยในลักษณะเป็นคลีนิกเพื่อการบำบัดรักษาได้โดยผู้เชี่ยวชาญที่จะนวดให้การบำบัดรักษา และจะต้องนำประกาศนียบัตรนวดแผนไทยที่เรียนมาทั้งหมด (เช่น ใบจากวัดโพธิ์และใบประกาศนีบัตรการอบรมความรู้ต่างๆ) ไปแสดงต่อสำนักงานจดทะเบียน Gewerbeamt เพื่อให้สอบสัมภาษณ์และสาธิตการนวดให้คณะกรรมการดู เพื่อให้ทางการเยอรมนีเซ็นใบอนุญาตปัจจุบันร้านนวดไทยที่เป็นลักษณะคลินิกเพื่อการบำบัดรักษามีน้อยมากเช่น ที่เบอร์ลินมีจำนวน 3 ร้าน นครแฟรงก์เฟิร์ตจำนวน 1 ร้านปัญหาส่วนใหญ่ได้แก่ การนำเข้าอุปกรณ์ เช่น ลูกประคบ ซึ่งอาจนำเข้าได้ยากกว่าลูกประคบแบบสปา แม้ว่าลูกประคบจะมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเป็นแบบเดียวกัน

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในร้านนวดไทยและสปาไทยส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของตกแต่งร้าน, ลูกประคบ, ยาหม่อง, น้ำมันนวด สำหรับบางร้านที่ประสบปัญหาการหาซื้อผลิตภัณฑ์จากไทยก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเยอรมันทดแทน

2. จำนวนกิจการนวดไทย/สปาไทยในประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนีมีจำนวนกิจการนวดไทย/สปาไทยมากกว่า379 ร้าน กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยรัฐที่มีจำนวนร้านนวดไทยมากที่สุดคือ Berlin (121), Nordrhine-Westfalen (72), Hessen (55), Baden

Wrttemberg (30) เรียงตามลำดับ และเมืองที่มีร้านนวดไทยมากที่สุด คือ กรุงเบอร์ลิน มีร้านนวดไทย/สปาไทยจำนวนทั้งสิ้น 121 ร้าน รองลงมาได้แก่ นครแฟรงก์เฟิร์ต 21 ร้าน มิวนิค 10 ร้านและเมือง Mannheim 9 ร้าน ซึ่งในจำนวนร้านนวดไทย/สปาไทยในเยอรมนีทั้งหมดนั้น มีร้านนวดไทย/สปาไทยจำนวน 14 ร้าน ที่ได้รับการรับรองและได้รับใบประกาศนียบัตรว่าเป็นร้านที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม จากกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ของไทย (รายละเอียดรายชื่อร้านนวดไทย/สปาไทยในเยอรมนีทั้งหมด ตามเอกสารแนบท้าย)

3. กฎระเบียบ/ข้อกำหนดและขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจ
การจดทะเบียนการค้า (Gewerbeschein)

ในการเปิดร้านนวดไทย/สปาไทย ผู้ประกอบการจะต้องมีใบทะเบียนการค้าหรือ Gewerbeschein โดยผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอจดทะเบียนการค้าได้ที่สำนักงานการค้า (Gewerbeamt) ทั้งนี้ หากจะเปิดร้านในเมืองขนาดเล็ก สำนักงานการค้า (Gewerbeamt) อาจจะมิได้ตั้งเป็นเอกเทศ แต่ตั้งรวมอยู่ในเทศบาลเมืองหรือศาลาว่าการจังหวัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาว่าหน่วยงานที่จะต้องไปติดต่อนั้นมีชื่อว่าอะไรและตั้งอยู่ที่ใด โดยปรกติผู้ประกอบการจะต้องไปยื่นเอกสารด้วยตนเองแต่ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการสามารถขอจดทะเบียนการค้าได้ทางอินเทอร์เน็ต ในหลายเมืองได้แล้ว

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบทะเบียนการค้า

เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อขอจดทะเบียนการค้า ประเภทบุคคล ได้แก่

1)เอกสารประจำตัว เช่น พาสปอร์ต

2)สำหรับชาวต่างชาติ จะต้องแสดงวีซ่าที่ระบุการอนุญาตให้ประกอบกิจการได้ เช่น eine Aufenthaltsgenehmigung der zustไndigen Auslไnderbeh๖rde

3)แบบฟอร์มการขอใบทะเบียนการค้า ติดต่อขอได้จากสำนักงานจดทะเบียนการค้าหรือดาวน์โหลดได้จากทางอินเตอร์เน็ท

การขอใบทะเบียนการค้า

จะต้องกรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน ระบุรายละเอียดส่วนบุคคล วัตถุประสงค์และลักษณะของกิจการ พร้อมกับนำเอกสารที่จำเป็นไปยื่นให้ครบถ้วนโดยระบุวันเวลาเปิดทำการให้แน่ชัด เพราะหลังจากเปิดร้านหนึ่งสัปดาห์ รัฐบาลเยอรมันจะส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับด้านภาษีตามมา นอกจากนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของธุรกิจ โดยแจ้งประเภทของการนวดไทยว่าเป็นการนวดเพื่อการผ่อนคลาย(Entspannung) เท่านั้นและไม่มีการให้บริการทางเพศ

ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนการค้า

ปัจจุบัน การจดทะเบียนการค้าในทุกเขตท้องที่จะต้องมีค่าใช้จ่าย แตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น โดยปกติอัตราค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนการค้า คิดเป็นเงินประมาณ 20 ถึง 50 ยูโร ตัวอย่างเช่น การจดทะเบียนการค้าในเมืองเบอร์ลิน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 26 ยูโร ในขณะที่ค่าจดทะเบียนในเมือง Goettingen คิดเป็นเงินประมาณ 40 ยูโร นอกเหนือไปจากนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจ เช่น การย้ายร้านและสถานที่ การขยายกิจการรวมถึงการปิดร้าน จะต้องแจ้งที่สำนักงานการค้าเยอรมันทราบต่อไป

หอการค้าบางเมือง เช่น หอการค้านครแฟรงเฟิร์ต อาจมีการจัดคอร์ส อบรมสำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นเจ้าของกิจการ โดยจะอบรมครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น

  • การจดทะเบียนการค้า
  • สิทธิของเจ้าของกิจการและร้านค้า
  • ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน และโปรแกรมสนับสนุนด้านต่างๆ
  • คำถามเกี่ยวกับการทำการตลาดและอื่นๆ-การเสียภาษีและทำบัญชี

การอบรมนี้จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป สามารถสอบถามได้ที่หอการค้าของเมือง ในกรณีของหอการค้านครแฟรงก์เฟิร์ต คิดค่าใช้จ่ายในการอบรมประมาณ 50 ยูโรต่อคน สามารถติดต่อได้ที่ 069 2197 2010, E-mail: unternehmensfoerderung@frankfurt-main.ihk.de

สถานที่จดทะเบียนการค้าตามเมืองสำคัญ

กรุงเบอร์ลิน ในกรุงเบอร์ลินนั้น ไม่มีสำนักงานการค้ากลาง แต่จะสามารถติดต่อขอยื่นการจดทะเบียนการค้าได้ตามเขตต่างๆ ดังนี้

          เขต                                        สำนักงานที่ต้องไปติดต่อ
Charlottenburg - Wilmersdorf          Wirtschaftsamt
                                      Hohenzollerndamm 174-177, 10713 Berlin Tel: 90 29-29 000,
                                      Fax: 90 29-29 039  http://www.berlin.de/ba-charlottenburg-
                                      wilmersdorf/org/wirtschaft/gewerbeanzeigen.html
Friedrichshain - Kreuzberg            Wirtschaftsamt
                                      Yorckstrabe 4-11, 10965 Berlin Tel: 90298- 0, Fax: 90298- 4214
                                      http://www.berlin.de/ba-friedrichshain-
                                      kreuzberg/verwaltung/org/wirtschaftsamt/gewerbeservice.html
Lichtenberg                           Ordnungsamt
                                      Frankfurter Allee 187, 10365 Berlin Tel: 030 90296-4310, 030 90296-
                                      4360, 030 90296-4316, Fax: 030 90296-4309  http://www.berlin.de/ba-
                                      lichtenberg/verwaltung/wiimm/mitarbeiter_wi.html#TeamI
Marzahn - Hellersdorf                 Gewerbeamt
                                      Premnitzer StraBe 11, 12681 Berlin
                                      Tel: (030) 90293-6547/ -48/ - 49  http://www.berlin.de/ba-marzahn-
                                      hellersdorf/verwaltung/wirtschaft/wirtschaftsamt.html
Mitte                                 Gewerbeamt
                                      Karl-Marx-Allee 31, 10178 Berlin — Mitte   Tel: 030 2009 22010, Fax:
                                      030 2009 23781  http://www.berlin.de/ba-mitte/org/gewerbeamt/
                                      allgemeines_gewerbe.html#leistungen
Neukolln                              Ordnungsamt
                                      Karl-Marx-Str. 83, 12043 Berlin  Tel.: 030 6809-0
                                      http://www.berlin.de/ba-neukoelln/buergerdienste/ordnungsamt.html
Pankow                                Ordnungsamt
                                      Frobelstr. 17, 10405 Berlin - Prenzlauer Berg Tel.: 030 90295 6240,
                                      Fax: 030 90295 5063  http://www.berlin.de/ba-pankow/verwaltung/
                                      ordnung/index.html
Reinickendorf                         Ordnungs- und Gewerbeamt
                                      Lubener Weg 26, 13407 Berlin   Tel: 90294-2933, 90294-2977, Fax:
                                      90294-2960  http://www.bauen-in-reinickendorf.de/
                                      sites_oga/startseite_oga.htm
Spandau                               Ordnungsamt
                                      Galenstr. 14, 13597 Berlin Tel. 3303-3000, Fax: 3303-3096
                                      http://www.berlin.de/ba-spandau/verwaltung/abt/pwo/ord.html
Steglitz - Zehlendorf                 Gewerbeamt Konigin-Luise-Str. 96, 14195 Berlin Tel.: 030 90299 1272,
                                      Fax: 030 90299 1367  http://www.berlin.de/ba-steglitz-zehlendorf/
                                      verwaltung/gewerbeamt/index.html
Tempelhof - Schoneberg                Ordnungsamt
                                      Rathaus Schoneberg John-F.-Kennedy-Platz, 10825 Berlin Fax: 030 7560
                                      4611 http://www.berlin.de/ba-tempelhof-schoeneberg/
                                      organisationseinheit/ordnungsamt/wirtschaft/wirtschaft1.html
Treptow - Kopenik                     Ordnungsamt
                                      Salvador-Allende-Str. 80 A, 12559 Berlin Tel: 030 90297 4629,
                                      Fax: 030 90297 4621  http://www.berlin.de/ba-treptow-koepenick/
                                      organisationseinheiten/wirtschaft/index.html#gewerbe
นครแฟรงก์เฟิร์ต

สำหรับจดทะเบียนการค้าในนครแฟรงก์เฟิร์ต สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

Gewerberegister

Kassen- und Steueramt

Paulsplatz 9, 60311 Frankfurt am Main

Tel: 069 212 32999, 069 212 38309, Fax: 069 212 32969

E-mail: gewerberegister.amt21@stadt-frankfurt.de http://www.frankfurt-main.ihk.de/

english/business/start-up/idem/formalities/index.html

ฮัมบูร์ก

ในเมืองฮัมบูร์กนั้น ไม่มีสำนักงานการค้ากลาง แต่จะสามารถติดต่อขอยื่นการจดทะเบียนการค้าได้ตามเขตต่างๆ ดังนี้

__________________________________________________________

             เขต                  สำนักงานที่ต้องไปติดต่อ

__________________________________________________________

          Altona:             Wirtschaftsamt
          Bergedorf           Wirtschaft, Bauen, Umwelt
          Eimsbttel           Verbraucherschutzamt

Hamburg-Mitte Verbraucherschutzamt

          Hamburg-Nord        Verbraucherschutz, Gewerbe und Umwelt
          Harburg             Verbraucherschutzamt
          Wandsbek            Verbraucherschutz, Gewerbe und Umwelt

__________________________________________________________

ข้อมูลเรื่องการจดทะเบียนการค้าในฮัมบูร์ก สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hamburg.de/stadt-staat/

โคโลญจน์

สำหรับจดทะเบียนการค้าในเมืองโคโลญจน์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

Gewerbemeldestelle

Rathauspl. 2, 50667 Koln

Tel: 0221 221 0, Fax: 0221 221 2211

http://www.stadt-koeln.de/bol/gewerbe/produkte/00261/index.html

มิวนิค

สำหรับจดทะเบียนการค้าในนครมิวนิค สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

Kreisverwaltungsreferat

HA I/311, Ruppertstr. 19/II, 80466 Munchen

Fax: 233 25575 e-mail: gewerbemeldung.kvr@muenchen.de

http://www.muenchen.de/Rathaus/kvr/gewerbugast/gewmeld/60426/gewerbemeldungen.html

สตุทการ์ท

สำหรับจดทะเบียนการค้าในเมืองสตุทการ์ท สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

IHK Region Stuttgart

Service Center Existenzgruendung

Tel.: 0711 2005 677, Fax: 0711 2005 369

E-mail: existenz@stuttgart.ihk.de

http://www.stuttgart.ihk24.de/produktmarken/starthilfe/gruendung/Anmeldung_eines_Unternehmens/

Formerfordernisse_einer_Gruendung.jsp

เมืองอื่นๆ สามารถติดต่อ หาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.dihk.de/inhalt/ihk/ihk_en.html

วิธีการเปิดธุรกิจร้านนวดไทย/สปาไทย

1. การเลือกสถานที่ ประเด็นที่ควรจะต้องพิจารณาในการเลือกสถานที่ มีดังนี้

1.1 การอนุญาตของผู้ให้เช่าอาคารสำหรับการเปิดร้านนวดไทย/สปาไทย เนื่องจากชาวเยอรมันจำนวนมากยังมีภาพลักษณ์ที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการนวดไทย/สปาไทย

1.2 ทำเลของร้าน ควรอยู่ในบริเวณหรือย่านที่มีคนเดินผ่านไปผ่านมา มีหน้าร้านชั้นเดียวกับถนน เพื่อให้ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาสามารถมองเห็นได้ง่าย

  • หากไม่มีหน้าร้าน ต้องพิจารณาว่าจะมีปัญหาในการตั้งป้ายที่ถนน หรือบนตัวอาคารหรือไม่
  • ไม่ควรอยู่ใกล้กับแหล่งเสื่อมโทรม หรือย่านที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ของร้านเสื่อมเสียไปด้วย
  • หากเลือกตั้งร้านอยู่ในย่านที่คนมีรายได้สูง ก็มีแนวโน้มที่ท่านจะตั้งราคาค่าบริการได้สูงขึ้นด้วย
  • มีที่จอดรถสะดวกสบาย

1.3 จำนวนร้านนวดไทย/สปาไทย ในบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะเป็นการหลีกเลี่ยงการแย่งลูกค้าใน บริเวณดังกล่าวแล้ว กิจการที่เพิ่งเปิดใหม่จะต้องใช้เวลาในการถอนทุนคืนนานเพิ่มขึ้น เพราะความต้องการในการใช้บริการลดลง เนื่องจากมีร้านคู่แข่งมาก

1.4 สภาพของร้าน ไม่เก่าหรือทรุดโทรม จนเป็นเหตุให้ต้องเสียค่าซ่อมแซมในจำนวนเงินที่มากเกินไป

1.5 ค่าเช่าและลักษณะของสัญญาเช่า ราคาค่าเช่าควรอยู่ในระดับราคาไม่แพง และมีรายละเอียดการเช่าที่เหมาะสม เช่น ระยะเวลาการเซ็นต์สัญญา การวางเงินมัดจำ เป็นต้น

* เมื่อตัดสินใจเลือกสถานที่และทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงสามารถไปจดทะเบียนการค้าได้ *

2. การตกแต่งร้าน

การตกแต่งร้านสามารถเริ่มทำได้ทันทีหลังจากเซ็นสัญญาเช่าร้าน ก่อนที่จะเริ่มตกแต่งร้าน ควรจะวางแผนจัดการงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่มักจะเกิดขึ้นในกระบวนการตกแต่งร้าน และเปิดร้าน มีดังนี้ (ไม่นับค่าเช่าและค่าวางมัดจำ)

  • ค่าปรับปรุงร้าน เช่น การปรับสภาพพื้น ผนัง และเพดาน, การติดวอลล์เปเปอร์ หรือทาสีใหม่, การปูกระเบื้อง, เดินสายไฟ ฯลฯ ในบางกรณี อาจจะต้องทำห้องน้ำใหม่ และ/หรือเพิ่มห้องอาบน้ำด้วย นอกจากนั้นหากร้านของท่านติดถนนใหญ่ ก็ต้องมีค่าปรับปรุงหน้าร้าน เช่นติดกระจก, ทาสี ฯลฯ ด้วย บริการเหล่านี้ ท่านควรสอบถามจากผู้รับเหมาหลายๆ เจ้า ว่ามีราคาค่าบริการเท่าไร รวมทั้งจะเริ่มงานได้เมื่อใด และจะต้องใช้เวลานานเท่าใด เพื่อจะพิจารณาว่าจะเปิดร้านได้ทันกำหนดที่ตั้งไว้หรือไม่
  • ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ผ้าเช็ดตัวขนาดต่างๆ, เครื่องแบบของพนักงาน, เตียงนวด, เก้าอี้นวดเท้า, อุปกรณ์ประกอบการอื่นๆ สำหรับ ผ้าขนหนู, ผ้าปูเตียง, ชุดพนักงานที่ใช้ในร้านนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องการซักรีด ด้วย อาจมีค่าเครื่องซักผ้า ค่าเครื่องอบผ้า
  • ค่าอุปกรณ์ตกแต่งร้าน เช่นโต๊ะ, เก้าอี้, โซฟาชุดรับแขก, โคมไฟ, เคาน์เตอร์รับลูกค้า, ประตู, ที่กั้นระหว่างเตียงนวด, ผ้าลายไทย, หมอนอิง ฯลฯ
  • ค่าโฆษณา การทำโบรชัวร์, ป้ายติดหน้าร้าน, ทำเว็บไซต์, ค่าลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, คู่มือท่องเที่ยว ฯลฯ
  • ค่าจ้างที่ปรึกษาทางบัญชี เพื่อเตรียมเอกสาร และเตรียมตัวการเสียภาษีให้ถูกต้อง ยกเว้นมีบุคคลที่มีความรู้ ก็สามารถทำบัญชีเองได้เช่นกัน
3. การเสียภาษี

หลังจากจดทะเบียนการค้าแล้ว ข้อมูลของร้านจะถูกส่งต่อไปยังสำนักงานภาษีเยอรมัน ซึ่งทางสำนักงานจะจัดส่งแบบสอบถามมาให้กรอก เพื่อประเมินภาษีในร้าน (ตัวอย่างของคำถามเช่น รายได้ที่คาดว่าจะได้รับต่อปีและในปีถัดไป) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แนบส่งมาด้วย โดยหลักการแล้ว ภาษีที่จะต้องเสียมีดังต่อไปนี้

1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 19 %

2) ภาษีรายได้ของพนักงานทุกคนในร้าน ไม่ว่าจะมีระดับเงินเดือนเท่าใดก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเงินของพนักงาน แต่ก็เป็นหน้าที่ของร้านที่จะต้องหักภาษีนั้นออกจากเงินเดือนของพนักงาน และส่งไปให้สำนักงานภาษี ถ้าพนักงานในร้านเป็นสมาชิกโบสถ์ต้องหักภาษีโบสถ์ด้วย

3) ภาษีภราดรภาพ (Solidarity Tax) 5.5%

เนื่องจากการเสียภาษีของเยอรมันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้ให้ทำแนะนำด้านภาษี (Steuerberater) ประจำร้าน เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

นอกจากการเสียภาษีแล้ว ควรปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในเรื่องการทำประกันประเภทต่างๆ เช่นประกันการเกิดอัคคีภัย, น้ำรั่ว , การโจรกรรม หรือกรณีที่ลูกค้าในร้านมีปัญหาทางสุขภาพหลังจากมานวดที่ร้านเป็นต้น

4.โอกาสและช่องทางของธุรกิจสปาไทยในประเทศเยอรมนี

ในปัจจุบัน ร้านนวดไทย/สปาไทยเปิดในประเทศเยอรมนีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ไทยเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้มีมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยและสร้างรายได้เข้าประเทศอีกเป็นจำนวนมากต่อไปในอนาคตช่องทางการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์สปาไทยเข้าสู่ประเทศเยอรมนี

กฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางและสปาไทยเข้าสู่ประเทศเยอรมนี

สินค้าเครื่องสำอาง/สปาเป็นสินค้าอีกที่มีข้อกฎเกณฑ์ ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เคร่งครัดมาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องใช้สัมผัสกับร่างกาย ผิวหนัง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าเป็นไปตามหลักสากล ซึ่งประเทศเยอรมนีใช้กฎเกณฑ์เดียวกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มสมาชิกในทวีปยุโรป เช่น วัตถุดิบที่ใช้ต้องปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ เริ่มตั้งแต่ สารประกอบที่ใช้เป็นส่วนผสมของการผลิต ตลอดจนสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติต่าง ๆ และกฎระเบียบต่าง ๆ อ้างอิงอีกมาก อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ในการผลิตเครื่องสำอาง ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี หรือสารที่สกัดจากธรรมชาติก็ตาม สารเหล่านั้นจะต้องปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทางด้านสุขอนามัยกับผู้ใช้ และไม่ก่อภาวะมลพิษกับธรรมชาติ เช่น ปราศจากสารเคมีตกค้างต่าง ๆ จำพวก ปรอท แคดเมียม เป็นต้น หรือจะต้องอยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุหีบห่อ จะต้องถนอมทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด และใช้วัสดุที่ไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ควรใช้กระดาษแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก เป็นต้น

สำหรับสมุนไพร การนำเข้าต้องเป็นไปตามกฏระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้กับการนำเข้าพืชทั่วๆไป กล่าวคือต้องมีหนังสือรับรองปลอดโรคพืช วัชพืช ปลอดจากสารเคมี สารพิษต่างๆ หรือมีสารตกค้างในเกณฑ์อนุญาต ออกให้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านข้อจำกัดทางการค้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตราฐาน คุณภาพและสรรพคุณของสินค้า

สรุป กฎระเบียบในการนำเข้าผลิตภัณฑ์คอสเมติก / ผลิตภัณฑ์สปาที่สำคัญ มี 2 ฉบับ ได้แก่

1. Cosmetics Ordinance (Kosmetik-Verordnung - KVO) ในกฎระเบียบฉบับนี้จะระบุข้อกฎหมายที่สำคัญในการนำเข้าผลิตภัณฑ์คอสเมติก เช่น

1 ส่วนประกอบที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์

2 Provisions concerning substances with restricted authorisation

3 สีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ Authorised colouring agents

5 บทบัญญัติว่าด้วยการทำฉลากบนกล่องและบรรจุภัณฑ์ เช่นชื่อและที่อยู่ของบุคคลหรือผู้ผลิตที่มีถิ่นฐานอยู่ใน EU , การระบุอายุการใช้งานหลังจากที่เปิดใช้, จุดประสงค์ในการใช้งาน ฯลฯ

5 d หน้าที่ในการแจ้งหรือรายงานต่อหน่วยงานที่สำคัญต่างๆ เช่น การแจ้งที่อยู่ของที่ทำการผลิต, นำเข้า, การแจ้งไปยัง Bundesamt fur Verbraucherschutz und Lebensmittelsicherheit (BVL) เพื่อที่จะได้ส่งต่อไปยังศูนย์ควบคุมพิษ (poison control centres)

5 e ขั้นตอนของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์

2. Food and Other Commodities Act (LMBG - Lebensmittel-, Bedarfsgegenstaende- und Futtermittelgesetzbuch) ในกฎหมายฉบับนี้จะระบุข้อมูลสำคัญที่ท่านต้องรู้ เช่น คำจัดกัดความของผลิตภัณฑ์คอสเมติก, ความรับผิดชอบของผู้ผลิต ฯลฯ

ข้อมูลบทบัญญัติหลักๆ ของกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ (เป็นภาษาอังกฤษ) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.ikw.org/pages/prodgr_details.php? info_id=115&navi_id=km&subnavi_id= hersteller&page_title

การจะนำเข้าสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สปา เข้าสู่ประเทศเยอรมนีนั้น สินค้าเหล่านี้จะต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่วนประกอบทุกชนิดจะต้องถูกแจ้งไว้ในตารางส่วนประกอบ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ฉลากแบบ INCI (International Nomenclature for Cosmetic Ingredients) เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถระวังส่วนประกอบบางอย่างที่ตนเองแพ้ได้

ภาษีนำเข้า

อัตราภาษี เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ ของประเทศเยอรมนี เป็นอัตราเดียวกันกับภาษีที่ใช้เรียกเก็บในยุโรป สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยนำเข้าได้อย่างเสรี ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าแต่อย่างใด สำหรับสมุนไพรชนิดที่ยังไม่ได้แปรรูป ยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด ส่วนสมุนไพรในพิกัด 09 จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราระหว่างร้อยละ 0 — 8.5 ส่วนสินค้าบางพิกัดจากประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับสิทธิพิเศษ เสียภาษีในอัตราระหว่างร้อยละ 0 — 2.8

มาตรการที่มิใช่ภาษี

1. ใบอนุญาตนำเข้า จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าทุกครั้ง

2. การตรวจสอบสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเยอรมันอาจสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนอนุญาตให้นำเข้า และมีการนำสินค้าที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือเมื่อได้รับแจ้งจากผู้บริโภค ทั้งในด้านสุขอนามัย และตามขนาดบรรจุ เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับระเบียบก็จะเก็บสินค้านั้น ๆ ออกจากตลาด

3. กฎเกณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับสินค้า เยอรมันให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในด้านสุขภาพ การป้องกันสิ่งแวดล้อมและการสงวนทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นตามลำดับ จึงมีการกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้

4. การรับผิดชอบต่อสินค้า สินค้าทุกชนิดที่นำเข้าสู่ตลาดมีข้อกำหนดตามกฎหมายระบุไว้ว่า เมื่อสินค้านั้นเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคไม่ว่าจะในด้านสุขภาพอนามัยของผู้ใช้ หรือต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในวงเงินไม่เกิน ร้อยล้านยูโร หากเป็นสินค้านำเข้า ผู้นำเข้าจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้านั้น

5. ขั้นตอนการนำพนักงานสปาไทยเข้ามาทำงานในประเทศเยอรมนี

ในปัจจุบัน ประเทศเยอรมนียังคงกีดกันการนำแรงงานจากประเทศที่กำลังพัฒนาเข้าสู่ประเทศเยอรมนีโดยเฉพาะแรงงานฝีมือ เช่น นวดแผนไทย พ่อครัวไทยเป็นต้น พนักงานที่มีประสบการณ์จากเมืองไทยจะสามารถขอวีซ่าทำงานเข้าประเทศเยอรมนีได้อย่างยากลำบาก หรือแทบจะไม่มีการอนุญาตการนำแรงงานด้านฝีมือจากประเทศไทยเข้าสู่ประเทศเยอรมนี ทำให้บุคลากรที่มีฝีมือและได้มาตรฐานระดับสูงในเยอรมนีมีน้อยมาก ในกรณีที่ทางร้านนวดไทย/ร้านสปาไทย ต้องการสมัครยื่นขอนำแรงงานไทยเข้าสู่ประเทศเยอรมนีนั้น ผู้สมัครจะต้องดำเนินการขอวีซ่ามาทำงานในประเทศเยอรมนี โดยมีหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้

1. แบบฟอร์มการขอวีซ่าทำงาน โดยขอได้จากสถานทูตเยอรมันที่กรุงเทพฯ

2. สัญญาการจ้างงาน ครอบคลุมเรื่องอัตราเงินเดือน ชั่วโมงการทำงาน เป็นภาษาเยอรมัน

3. ใบรับรองตรวจสุขภาพที่เมืองไทย

4. ใบรับรองและประกาศยนีบัตรต่างๆ

6. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค

1. ทางการเยอรมันยังไม่ยอมรับการนวดแผนโบราณของไทยอย่างจริงจัง การเปิดกิจการร้านนวดส่วนใหญ่จะแจ้งในใบขออนุญาตได้เพียงเป็นการนวดเพื่อผ่อนคลาย ลดความเครียด เป็นต้น หากเพิ่มเติมว่าสามารถ บำบัด รักษาโรคของผู้ใช้บริการได้ จะต้องขออนุญาตจาก Gewerbeamt โดยนำประกาศนียบัตรจากสถานบันในไทยที่น่าเชื่อถือ เช่น วัดโพธิ์ (ซึ่งควรผ่านการอบรมหลายประกาศนียบัตร) ไปให้กรรมการนัดสัมภาษณ์และสาธิตนวดให้ดู ในสายตาของคนเยอรมัน กิจการนวดที่มีเจ้าของเป็นคนไทยจะได้รับความเชื่อถือด้อยกว่าสถานประกอบการที่ดำเนินการโดยคนเยอรมัน เนื่องจาก คนส่วนมากยังเข้าใจว่า ร้านนวดไทยต้องมีบริการทางเพศเหมือนกันหมด โดยใช้บริการการนวดไทยบังหน้า อย่างไรก็ตาม มีบ้างที่ไม่มีบริการที่แอบแฝง เต่เมื่อลูกค้าต้องการ หรือรบเร้ามากก็จะยอมเพื่อมิให้เสียลูกค้า เพราะมีการแข่งขันกันมาก เช่น ในกรุงเบอร์ลินมีร้านนวดไทยกว่า 200 ร้าน แต่ส่วนใหญ่มีบริการอื่นแอบแฝง มีบ้างที่เป็นการนวดผ่อนคลายที่ไม่มีบริการอื่นแฝง และมีร้านนวดไทยที่เป็นลักษณะคลินิกเพื่อการบำบัดรักษาเพียง 3 ร้านเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีบริการเดินทางไปนวดตามที่พักอาศัยของผู้ที่ต้องการให้นวด ซึ่งมีอัตราค่าบริการไม่แพง ทำให้คนไทยที่เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตมักใช้บริการประเภทนี้ เนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปนวดที่ร้านที่อาจไม่แน่ใจว่ามีบริการอื่นแฝงหรือไม่

2. ปัญหาของร้านบริการนวดไทยเริ่มเป็นไปทำนองเดียวกันกับร้านอาหารไทย กล่าวคือ มีการตั้งร้านนวดไทย/สปาไทยแข่งกันมากในเมืองใหญ่ๆ มีคนต่างชาติแอบอ้างใช้ชื่อการนวดแบบไทย โดยมีพนักงานเป็นคนไทยและคนเอเชียชาติอื่น บุคลากรพนักงานนวดที่มีฝีมือได้มาตรฐานในเยอรมนี มีจำนวนน้อยมาก รวมถึงปัญหาเรื่องการขอวีซ่าทำงาน มักจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศเยอรมนีเพื่อประกอบอาชีพนี้ พนักงานในร้านส่วนใหญ่จึงเป็นแม่บ้านที่ผ่านการอบรมและเรียนการนวดได้ไม่นาน ประมาณ 20 — 30 ชั่วโมง เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องภาษาเยอรมันที่ไม่ดีพอ ไม่สามารถให้รายละเอียดหรืออธิบายสรรพคุณของการนวดแผนไทยแก่ลูกค้าชาวเยอรมันและชาวต่างชาติได้

3. พนักงานที่มีฝีมือเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย ขาดความรับผิดชอบ

4. เจ้าของกิจการขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การโฆษณาหาลูกค้า เป็นต้น

5. ในเยอรมนีมีระบบสวัสดิการสังคมการประกันสุขภาพ ผู้ป่วยคนไข้จะได้รับการรักษาฟรีในขอบเขตของการประกันสุขภาพ แต่การนวดแผนโบราณยังไม่รวมอยู่ในการประกันสุขภาพ ผู้ที่ใช้บริการจะต้องจ่ายด้วยตนเอง

6. อุปกรณ์ที่ใช้ในการนวด เช่น ลูกประคบ น้ำมันต่างๆ ของไทยยังมีปัญหาในการนำเข้าอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นพืช สมุนไพร ขั้นตอนการนำเข้าจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการนำเข้าพืชผักทั่วไป หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเข้มงวดมากออาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า

ข้อเสนอแนะ

1. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของการนวดไทย/สปาไทยอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง รวมถึงการจัดทำมาตรฐานอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศด้วย และใช้เป็นคู่มือในการประกอบกิจการนวดแผนไทย/สปาไทย

2. ควรจัดอบรมความรู้ด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน เช่น ความรู้เรื่องภาษา, ความรู้ด้านการนวด, การจัดการ, มีการจัดทำข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ที่ต้องการจะเปิดร้านนวดไทย

3. การรวมตัวของผู้ประกอบการร้านนวดไทย/สปาไทยในเยอรมนี เพื่อรวบรวมสั่งซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงและเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในธุรกิจด้านนี้ด้วย

4. ส่งเสริมธุรกิจการนวดแผนไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนพัฒนารูปแบบการให้บริการ ศักยภาพและคุณภาพของบุคลากรผู้ให้บริการนวดแผนไทย

ทั้งนี้ ปัญหาต่างๆ ต้องใช้เวลาในการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาด้านภาพลักษณ์ในเชิงลบของการนวดแผนไทยที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริการทางเพศ เนื่องจากชาวไทยที่มีบริการนวดแผนไทยจำนวนหนึ่งมาจากอาชีพอาบ อบ นวดเมื่ออยู่ในประเทศไทย เมื่อย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่เยอรมนี ก็ยึดอาชีพคล้ายเดิม เนื่องจากได้เงินคล่อง สบายและยังมีความต้องการของตลาดด้านนี้ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กรุงเบอร์ลินมีร้านไทยประเภท pub บาร์ discotheque จำนวนมากและมีบริการอื่นแฝง ในขณะที่ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็น แต่กลับมีการเปิดร้านนวดแผนไทยแทบทุกมุมถนน และมีการให้บริการแอบแฝงเช่นกัน การแก้ปัญหาจึงต้องดำเนินการตั้งแต่จากเมืองไทย ในการสร้างคุณภาพของคนด้วยการให้การศึกษาที่ดีและสร้างค่านิยมตั้งแต่วัยเรียน

7. หน่วยงาน สมาคมที่เกี่ยวข้องในประเทศเยอรมนี

Thai Spa Association Germany

Schulgraben 1

34593 Knuellwald

Tel: +49 5685 9227911

Fax: +49 5685 9227912

Email: info@thai-spa-verband.de

Website: www.thai-spa-verband.de

Deutscher Wellness Verband

Neusser Str. 35

40219 Duesseldorf

Tel. 0211 1682090

Fax. 0211 1682095

E-mail: info@wellnessverband.de

www.wellnessverband.de

International SPA & Wellness Association

Schoenburgstr. 8

12103 Berlin

Tel. 030 3975315

E-mail: info@iswa.de

www.iswa.de

Wellness-Hotels Germany GmbH

Haroldstr. 14

40213 Duesseldorf

Tel. 0211 6796979

Fax. 0211 6796968

E-mail: post@w-h-d.de

www.w-h-d.de

Bundesamt fur Verbraucherschutz und Lebensmittelsicherheit ( BVL) Bundesallee 50, Geb?ude 247,

38116 Braunschweig Tel: 0531/21497-0

Fax :0531/21497-299

E-mail: poststelle@bvl.bund.de

www.bvl.bund.de

Industrieverband Korperpflege- und Waschmittel e.V. (IKW)

Mainzer LandstraBe 55, 60329 Frankfurt am Main

Tel: 069 2556-13 23

Fax : 069 237631

E-Mail: info@ikw.org

www.ikw.org

ศูนย์เครือข่ายสนับสนุนผู้เริ่มธุรกิจใหม่ (Start-up network centers) มีอยู่ในหอการค้าทุกแห่งทั่วเยอรมนี มักจะประกอบไปด้วยสถาบันด้านการเงิน, ธนาคารเพื่อการพัฒนา, สำนักงานจัดหางาน, ที่ปรึกษาด้านภาษี และอื่นๆ รายชื่อต่อไปนี้ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายในระดับรัฐของบางรัฐ ข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านี้เป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

     รัฐ                          หน่วยงาน                                         เว็บไซต์
Brandenburg          KEI - Kammer-Existenzgrundungs-Information         http://www.kei-online.de/
                     (Chamber Business Startup Information)
Bremen               B.E.G.IN - Bremer                                  http://www.begin24.de/
                     Existenzgrundungsinitiative
                     (Start-up initiative)
Bremen               B.E.G.IN - Bremer Existenzgrundungsinitiative      http://www.begin24.de/
                     (Start-up initiative)
Hamburg              H.E.I. - Hamburger Initiative fur                  http://www.hei-hamburg.de/
                     Existenzgrundung und Innovationen
                     (Hamburg Initiative for Business Start-ups
                     and Innovation).
Hessen               StarterCenter - a joint initiative of the          http://www.startercenter-hessen.de/
                     Hessen chambers of industry and commerce and
                     the chambers of skilled crafts
Mecklenburg-West     go-mv - Grunder Offensive der Wirtschaft in        http://www.go-mv.de/ihksn/Home/
Pomerania            Mecklenburg Vorpommern (go-mv Start-up             index.html
                     Offensive in Mecklenburg-Western Pomerania).
North Rhine-         Go! - Grundungsnetzwerk NRW                        http://www.startercenter.nrw.
Westphalia           (Start-up network Go).                             de/c2007.red
Saarland             SOG - Saarland Offensive fur Grunder               http://www.sog.saarland.de/
                     (Saarland Offensive for start-ups).
Saxony               EIS - Existenzgrundungsinitiative                  http://www.existenzgruendung-
                     Sachsen (Saxon start-up network).                  sachsen.de/servlet/portal

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตและกรุงเบอร์ลิน

เมษายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ