สถานการณ์ผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจยุโรปต่อสหรัฐอเมริกาและไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 26, 2012 16:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์ผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจยุโรปต่อสหรัฐอเมริกาและไทย

1.ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา

1.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

สถาบันการเงินและธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯมีธุรกรรมที่ใกล้ชิดกับสถาบันการเงินในยุโรป

สเปนและอิตาลีเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของสหรัฐฯ วิกฤติที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในสองประเทศนี้ จะส่งผลสำคัญต่อสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีความเสี่ยงเกิดขึ้นว่าสองประเทศนี้อาจถึงขั้น defaut debt อาจจะส่งผลให้เกิด Hamburger Crisis ขึ้นในสหรัฐฯอีกได้

ขณะนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯเองยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าด้วยสาเหตุภายในประเทศ ได้แก่

  • อัตราการว่างงาน8-9% และยังไม่มีทีท่าจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • ปัญหา Sub-Prime ยังคงสร้างปัญหาให้ธนาคารและประชาชน
  • หนี้สาธารณะชนเพดาน และรัฐบาลยังไม่สามารถหาวิธีตัดลดค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพได้
  • การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีน ทำให้สหรัฐฯเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของจีน และต้องเปิดฉากทำสงครามการค้ากับจีน โดยอ้างว่าจีนทำการค้าแบบไม่เป็น “Fair Trade”
  • การกระจายความมั่งคั่งอย่างไม่เป็นธรรม (Distribution of Wealth) เป็นจุดหลักที่นำมาซึ่งการเดินขบวน Occupy Wall Street ไปทั่วประเทศ โดยคนจน:คนรวย = 99:1
  • GDP ของสหรัฐฯขึ้นอยู่กับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก และประชาชนสหรัฐฯเป็นพวกบริโภคนิยม และใช้เงินในอนาคต (Future Income) ในการบริโภค ดังนั้นถ้าประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ และลดการบริโภค จะกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง

ปัญหาที่รุมเร้าสหรัฐฯอยู่ในขณะนี้ ทำให้เป็นที่หวั่นเกรงว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปลุกลามไปมากขึ้น จะกระทบต่อภาคการเงินสหรัฐฯ และต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งอาจมีผลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน 2555 ทำให้ประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตอาจจะเสียสถานะการเป็นรัฐบาลได้ ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐฯจึง พยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจยุโรปเลวร้ายไปกว่านี้ โดยเฉพาะการล็อบบี้ Chancellor Merkel ผู้นำของ เยอรมนีในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในการกู้วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป

1.2 ผลกระทบด้านการค้า

การค้าระหว่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรปในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 ยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตเป็นบวก แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าปี 2554 ทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า

ประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯในยุโรป คือ เยอรมนี อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งไม่ใช่ประเทศที่เกิดวิกฤติในขณะนี้ อีกทั้งสินค้าที่สหรัฐฯค้าขายกับยุโรป (ทั้งส่งออกและนำเข้า) เป็นสินค้าอุตสาหกรรมหนัก ไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภค จึงยังไม่มีผลกระทบด้านการค้าอย่างเห็นได้ชัด

1.2.1.การส่งออกของสหรัฐอเมริกาไปยุโรป (มค.-เมย.2555)

ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 สหรัฐอเมริกาส่งออกสินค้าไปยังยุโรป คิดเป็นมูลค่า 90,635.78 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17.81 ของการส่งออกรวมของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.54

ประเทศที่สหรัฐอเมริกาส่งออกมากที่สุด ได้แก่ อังกฤษ (ร้อยละ 3.92 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 19,933 ล้านเหรียญสหรัฐ) เยอรมนี (ร้อยละ 3.28 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 16,697 ล้านเหรียญสหรัฐ และเนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 2.59 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า13,172 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ

สินค้าที่สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังตลาดยุโรปมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
                                      January - April               % Share               % Change
HS    Description              2010        2011       2012      2010     2011     2012-     12/11-
      -EUROPEAN UNION 25-    76,004.23  87,533.04  90,635.78     100      100      100       3.54
84    Machinery               8,844.47   9,935.58  10,583.39    11.6    11.35     11.7       6.52
88    Aircraft,Spacecraft     8,608.09   9,141.86   9,884.72    11.3    10.44     10.9       8.13
90O   ptic,Nt 8544;Med Instr  7,880.46   8,406.51   8,319.38    10.4      9.6     9.18      -1.04
27    Mineral Fuel, Oil Etc   2,410.23   6,755.83   8,169.59    3.17     7.72     9.01      20.93
71    Precious Stones,Metals  5,333.32   5,681.80   6,968.92    7.02     6.49     7.69      22.65
30    Pharmaceutical Products 8,153.89   6,957.25   6,687.88    10.7     7.95     7.38      -3.87
85    Electrical Machinery    6,033.80   6,684.24   6,380.05    7.94     7.64     7.04      -4.55
87    Vehicles, Not Railway   3,142.32   4,576.58   5,176.11    4.13     5.23     5.71       13.1
29    Organic Chemicals       3,986.69   4,611.08   4,592.91    5.25     5.27     5.07      -0.39
39    Plastic                 2,336.73   2,692.74   2,606.87    3.07     3.08     2.88      -3.19

1.2.2การนำเข้าของสหรัฐอเมริกาจากยุโรป (มค.-เมย. 2555)

ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 สหรัฐอเมริกานำเข้าสินค้าจากยุโรป คิดเป็นมูลค่า 123,382.10 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 16.63 ของการนำเข้ารวมของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.35

ประเทศที่สหรัฐอเมริกานำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เยอรมนี (ร้อยละ 4.65 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 34,539 ล้านเหรียญสหรัฐ) อังกฤษ (ร้อยละ 2.43 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 18,047 ล้านเหรียญสหรัฐ และฝรั่งเศส (ร้อยละ 1.84 ของส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 12,783 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ

สินค้าที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากตลาดยุโรปมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
                                       January - April               % Share               % Change
HS    Description               2010        2011       2012      2010     2011     2012-     12/11-
      -EUROPEAN UNION 25-    97,113.04   117,121.34  123,382.10   100      100      100       5.35
84    Machinery              13,867.49    18,870.93   21,094.65  14.3    16.11     17.1      11.78
87    Vehicles, Not Railway   8,563.71    11,997.04   13,520.62  8.82    10.24       11       12.7
30   Pharmaceutical Products 11,783.69    13,533.58   12,733.37  12.1    11.56     10.3      -5.91
27   Mineral Fuel, Oil Etc    6,873.30     8,384.74    8,517.25  7.08     7.16      6.9       1.58
29   Organic Chemicals        8,045.07     9,229.60    8,267.70  8.28     7.88      6.7     -10.42
90O  ptic,Nt 8544;Med Instr   6,816.46     7,777.91    8,200.28  7.02     6.64     6.65       5.43
85   Electrical Machinery     5,445.68     7,042.43    6,941.24  5.61     6.01     5.63      -1.44
98   Special Other            4,816.34     4,640.97    5,400.80  4.96     3.96     4.38      16.37
22   Beverages                2,770.21     3,200.33    3,383.59  2.85     2.73     2.74       5.73
88   Aircraft,Spacecraft      3,091.90     2,994.61    3,268.78  3.18     2.56     2.65       9.16

สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศในยุโรปเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องจักรกล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.78) รถยนต์/ส่วนประกอบ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.70) และสินค้าที่เกี่ยวกับเภสัชกรรม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30) เป็นต้น

1.3 ผลกระทบด้านการลงทุน

เนื่องจากภาวะวิกฤติซับไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2552 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้นำมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน QE1และ QE 2 มาใช้เพื่ออัดฉีดเงินในระบบให้กระเตื้องขึ้น แต่การอัดฉีดเงินดังกล่าวกลับไม่เกิดผลเท่าที่ควร อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ยังคงปรับลดได้ไม่มาก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 อยู่ในอัตราร้อยละ 8.2 (ข้อมูลจาก US DEPARTMENT OF LABORS) อัตราว่างงานใน 3 ปีที่ผ่านมา

  • พ.ศ. 2552 อยู่ในอัตราร้อยละ 9.9
  • พ.ศ. 2553 อยู่ในอัตรร้อยละ 9.4
  • พ.ศ. 2554 อยู่ในอัตราร้อยละ 8.5

การนำระบบ QE มาใช้แก้ปัญหาในสหรัฐอเมริกา ยังไม่ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วตามที่รัฐบาลคาดไว้ การอัดฉีดเงินในระบบเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น และยังทำให้เงินเฟ้อในระบบอีกด้วย ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จึงหันมาใช้มาตรการ Operation Twist คือ การที่ธนาคารจะปรับสัดส่วนการถือพันธบัตรระยะสั้นลงและเพิ่มปริมาณการถือพันธบัตรระยะยาว ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีอัตราต่ำลง เป็นแรงจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมสนใจและกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น ตลอดจนช่วยเหลือประชาชนที่กู้เงินซื้อบ้านให้มีโอกาสรีไฟแนนซ์ปรับอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มการหมุนเวียนเงินในระบบมากขึ้น เดิมทีมาตรการ Operation Twist มีกำหนดตั้งแต่กันยายน 2554-มิถุนายน พ.ศ. 2555 แต่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังกระเตื้องขึ้นไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น นายเบน เบอร์นากี้ ประธานเฟดจึงได้ประชุมหารือกับคณะกรรมการเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 20 มิถุนายน 2555 และได้ข้อสรุปว่าจะขยายการสนับสนุนดังกล่าวไปจนถึงช่วงสิ้นปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยหวังว่า DOMESTIC CONSUMPTION จะเพิ่มขึ้นและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาดีขึ้นก่อนการเลือกตั้งในปี 2555 นี้

Table: REAL GROSS DOMESTIC PRODUCR AND RELATED MEASURE: PERCENTAGE FROM PRECEDING PERIOD
                                         2552    2553   2554   2555 (ไตรมาสแรก)
GDP                                      -3.5     3.0    1.7        1.9
PRODUCT CONSUMPTION EXPENDITURES         -1.9     2.0    2.2        2.7
GROSS PRIVATE DOMESTIC INVESTMENT         -25    17.9    4.8        6.3

สำหรับนักลงทุนในหุ้นสามัญ มาตรการ Operation Twist ยังไม่ได้เป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับนักลงทุนประเภทหุ้นสามัญ (Stock) เพราะ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างซบเซามีความเสี่ยงสูงต่อการเก็งกำไร ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงหันไปลงทุนในตลาดเอเซีย (เพื่อเก็งกำไร) และบางส่วนยุโรป (ลงทุนแบบระยะยาว) การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก US CENSUS BUREAU ล่าสุดปี 2553) ประเทศในแถบยุโรปลงทุนในสหรัฐอเมริกาเปรียบเทียบปี 2552/2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93 เป็นการลงทุนด้านอุตสากรรมการผลิต ธุรกิจการเงิน/ประกันภัยและการค้าตามลำดับ ข้อมูลดังปรากฎในตารางด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์กันว่า วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป จะทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

                                                                                2553
COUNTRY           2543       2548       2551       2552      Total   Manufacturing   Wholesaler  Finance &
                                                                                        trade    Insurance
All Countries  1,256,867  1,634,121  2,046,662  2,114,501  2,342,829    748,279       330,889      356,781
Europe           887,014  1,154,048  1,477,896  1,516,268  1,697,196    585,004       189,346      284,260
Austria            3,007      2,425      4,251      4,455      4,353      2,234           418            2
Belgium           14,787     10,024     23,379      37.82     43,236     20,662         7,151          N/A
Denmark            4,025      6,117      5,537      6,383      9,285      3,027           N/A            1
Finland            8,875      5,938      7,613      7,293      6,558      4,241         1,775    Less than
                                                                                                   500,000
France           125,740    114,260    141,922    157,921    184,762     71,286        18,827       22,469
Germany          122,412    177,176    173,843    191,461    212,915     69,222        16,601       41,631
Ireland           25,523     17,465     21,270     24,217     30,583     18,382           N/A        5,429
Italy              6,576      7,725     19,466     14,979     15,689      6,844         1,254          N/A
Luxembourg        58,930     79,680    130,020    146,580    181,203     65,996         4,586       42,315
Netherlands      138,894    156,602    179,938    199,906    217,050     78,003        24,638       47,849
Norway             2,665      9,810     11,511      9,951     10,356        445         4,855           91
Spain              5,068      7,472     30,037     38,812     40,723      4,592            55        2,437
Sweden            21,991     22,269     32,578     35,598     40,758     25,386        10,602          142
Switzerland       64,719    133,387    157,121    140,745    192,231     85,074        11,799       45,348
UK               277,613    371,350    558,529    416,139    432,488     93,705        82,168       73,662
Other              6,188     32,348     91,878     84,008     75,006     35,906           N/A           29
2.ผลกระทบต่อการส่งออกไทย

2.1.การนำเข้าของสหรัฐอเมริกาจากไทย

สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 ไทยส่งออกมายังสหรัฐอเมริกา มูลค่า 7,102.99 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน 1.36 %

รายการ          มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ          อัตราขยายตัว (%)          สัดส่วน (%)
             2554      2554        2555      2554     2555         2555     2554     2554         2555
            (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.) (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.) (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่าการค้า 35235.90   11473.2    10871.1     14.11    26.37        -5.25     7.70      7.81         7.19
การส่งออก    218580   7007.95    7102.99      8.21    22.99         1.36     9.55      9.41         9.93
การนำเข้า  13377.90   4465.27    3768.14     25.30    32.05       -15.61     5.85      6.16         4.73
ดุลการค้า    8480.03   2542.68    3334.85    -10.96     9.77        31.15

ในช่วงปี 2554 ไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกรวม 21857.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.21

ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ลดลงจากปี 2554 อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ซึ่งนอกจากจะเกิดจากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศสหรัฐฯแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของอุปทานสินค้าส่งออกอันเนื่องมาจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปลายปี 2554 ด้วย

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่ามาก 10 อันดับแรก ได้แก่
ชื่อสินค้า                                      มูลค่า : ล้านเหรียญ               อัตราขยายตัว(%)
                                2554         2554            2555             2555
                            (ม.ค.-เม.ย.)  (ม.ค.-เม.ย.)    (ม.ค.-เม.ย.)
เครื่องคอมพิวเตอร์                2,857.90       950.70         1,113.60         17.13
 อุปกรณ์แลส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์ยาง                     1,776.40       510.00           566.70         11.12
อัญมณีแลเครื่องประดับ              1,341.30       432.00           375.80        -13.00
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป       1,649.80       412.70           354.70        -14.05
น้ำมันดิบ                          714.90       174.80           333.60         90.79
เครื่องนุ่งห่ม                     1,142.00       381.30           319.20        -16.30
ยางพารา                       1,005.30       401.00           313.30        -21.88
เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ          929.90       305.60           307.00          0.46
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ    1,080.90       360.60           290.20        -19.53
แผงวงจรไฟฟ้า                     521.80       186.00           176.40         -5.15
มูลค่าสินค้าที่ไทยส่งออกไป          21,857.96     7,007.95         7,102.99          1.36
 ยังสหรัฐอเมริกา ทั้งหมดรวม

ผลกระทบต่อวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยของประเทศในยุโรป ทำให้ไทยต้องพึ่งพิงตลาดส่งออกอื่นมากขึ้น อย่างไรก็ดีตลาดสหรัฐอเมริกาสำหรับสินค้าไทยขึ้นอยู่กับการบริโภคในประเทศเป็นหลัก หากตัวเลขการว่างงานและการจับจ่ายใช้สอยในประเทศยังชะลอตัว อาจส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากไทย

ในเดือนเมษายน 2555 Personal Income ของชาวอเมริกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 31.7 พันล้านเหรียญ และ Personal Consumption Expenditure เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.3 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 31.8 พันล้านเหรียญ ดังนั้น หากมาตราการ Operation Twist ได้ผลคาดว่ารายได้และการจับจ่ายของคนอเมริกันจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้ามายังตลาดสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันการขาดดุลการค้ากับจีนยังเป็นปัญหาของสหรัฐฯ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถือครองเงินสกุลดอลล่าร์อยู่มากที่สุด สหรัฐฯพยายามแก้ไขปัญหาโดยลดความสำคัญของสินค้านำเข้าจากจีน และออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในการกีดกันการนำเข้าจากจีน โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการค้ากับประเทศที่ไม่ค้าขายแบบยุติธรรม ซึ่งพุ่งเป้าไปที่จีนนั่นเอง โดยสหรัฐอเมริกากล่าวหาว่าจีนทำการค้าแบบไม่เป็น Fair Trade ดังนั้นผู้นำเข้ารายใหญ่หลายรายเริ่มมีความต้องการที่จะลดการนำเข้าจากจีน และแสวงหาแหล่งอุปทานแหล่งใหม่เพื่อผลิตสินค้าให้กับทางบริษัทโดยเฉพาะสินค้าอาหาร อาจเป็นโอกาสในวิกฤติของผู้ส่งออกไทย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

20 มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ