Country Profile: ประเทศปานามา PANAMA

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 13, 2012 14:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

Country Profile: ประเทศปานามา PANAMA

1. ข้อมูลประเทศทั่วไป

1.1 รูปภาพ ทำเลที่ตั้งของประเทศปานามา

อยู่ทางใต้สุดของภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศคอสตาริกาทางทิศตะวันตก และจรดประเทศโคลัมเบียทางทิศตะวันออก

1.2 ชื่อเป็นทางการ

สาธารณรัฐปานามา(ภาษาสเปน: Repblica de Panam)

1.3 เมืองหลวง/เมืองท่า/เมืองเศรษฐกิจสำคัญ/ สินค้าสำคัญในแต่ละเมือง
               เมืองสำคัญ                             สินค้าสำคัญ
Panama City (เมืองหลวง)               ธุรกิจการขนส่ง โลจิสติกส์ การเก็บสินค้า ธุรกิจ
                                     การเงิน การค้าและการท่องเที่ยว
Colon (เมืองท่าและเขตการค้าเสรี)         อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาและเวชภัณฑ์ เหล้าและ
                                     ยาสูบ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า
                                     ของเด็กเล่น เครื่องประดับ
1.4 ขนาดพื้นที่

75,420 ตารางเมตร (ใกล้เคียงกับประเทศไอร์แลนด์ ใหญ่กว่าสวิสเซอร์แลนด์)

1.5 ประชากร

มีประชากร 3,460,462 คน

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ

ทองแดง ป่าไม้มาฮอกกานี กุ้ง พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ

1.7 ประวัติศาสตร์

ประเทศปานามาได้รับเอกราชจากประเทศสเปนในปี ค.ศ. 1826 ได้รวมประเทศ กับประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์และเวเนซูเอลาเป็นสาธารณรัฐแห่งโคลัมเบีย ซึ่งได้สลายสถานะในปี 1830 แต่ประเทศปานามายังคงเป็นส่วนหนึ่งของโคลัมเบีย ซึ่งต่อมาด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ได้รับอิสระสามารถแยกตัวออกจากโคลัมเบียได้ในปี1903 แต่ในขณะเดียวกันได้ลงนามความตกลงกับสหรัฐฯ เพื่อการสร้างช่องเดินเรือปานามา โดยมอบสิทธิที่ดินเรียบสองชายฝั่งช่องเดินเรือให้แก่สหรัฐฯ จนกระทั่งปี1999 สหรัฐฯ ได้คืนสิทธิทั้งที่ดินและช่องเดินเรือปานามาให้แก่ประเทศปานามา และในปี 2006 รัฐบาลปานามาได้เริ่มโครงการลงทุนเพื่อขยายความสามารถในการขนถ่ายของทางเดินเรือปานามาเพื่ออำนวยการผ่านของรือเดินทะเลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น กำหนดจะเสร็จสิ้นในปี 2014-2015

1.8 เชื้อชาติ

ร้อยละ 70 เป็นเมสติโซ (เชื้อชาติผสมระหว่างผิวขาวชาวยุโรปและชนพื้นเมือง) เป็นคนผิวดำ(เป็นประชากรที่อพยพมาจากหมู่เกาะอินดีสตะวันตก) ร้อยละ 14 ร้อยละ 10 เป็นชาวสเปน ส่วนที่เหลือเป็นชนพื้นเมือง ร้อยละ 6 ปัจจุบันชนพื้น เมือง แบ่งออกได้ 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่าคูนา (Cuna) อาศัยอยู่ในหมู่เกาะมูลาตาส ในทะเลแคริบเบียน ชนเผ่า มีอำนาจในการปกครองตัวเอง แต่ยังคงอยู่ในอำนาจ ของรัฐบาลกลาง เผ่ากายมี(Guaymi) อาศัยอยู่ในจังหวัดชีรีกี จังหวัดโบกัสเดล โตโร และ จังหวัดเบรากวัส เผ่าโชโก (Choco) อาศัยอยู่ในป่าภายในจังหวัดดาเวียง

1.9 ศาสนา

คริสต์แคทอลิค ร้อยละ 85

1.10 ภาษา

ภาษาสเปน

1.11 ระบอบการปกครอง

ปานามาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ที่มาจากเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย สมาชิก 72 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ประธานาธิบดี เป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่ นาย Ricardo MARTINELLI Berrocal ได้รับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 คณะรัฐมนตรีจะได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษา ศาลสูงสุดมาจากการเสนอชื่อของประธานาธิบดี และดำรงตำแหน่งวาระละ 10 ปี พรรคการเมืองที่สำคัญ ๆ มี 3 พรรค ปานามาแบ่งออกเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provincias - provincias) และ 5 ดินแดน (indigenous territories - comarcas indgenas) และพื้นที่พิเศษ 1 แห่ง

1.12 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีโครงสร้างถนนรวม 11 ,978 กิโลเมตร ทางเดินรถไฟ 76 กิโลเมตร สนามบิน 118 แห่ง ท่าเฮลิปอร์ท 3 แห่ง ท่าเรือ 3 แห่ง และทางเดินน้ำ 800 กิโลเมตรปานามาเป็นประเทศที่มีเรือพาณิชย์เดินทะเลจดทะเบียนในประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลก จำนวนทั้งหมด 6,323 ลำ โดยเป็นเรือพาณิชย์ชาติ 5,394 ลำ ซึ่งในจำนวนนั้น มีเรือเดินทะเลของไทยจำนวน 10 ลำ ของสิงคโปร์ 100 ลำ อินโดนีเซีย 31 ลำ เวียดนาม 30 ลำ มาเลเซีย 12 ฟิลิปปินส์ 7 ฮ่องกง 130 ลำ จีน 532 ลำ และ ญี่ปุ่น 2335

2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป

2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศปานามา

ในปีค.ศ. 2011 ปานามามีผลผลิตรวมประชาชาติของประเทศมูลค่า 5.512 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้เฉลี่ยต่อหัว 15,082 เหรียญฯ การลงทุนขยายการขุดคลองปานามาได้ช่วยหนุนเศรษฐกิจของปานามา มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของปานามาในปี 2011 มีการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 10.6 และอัตราเงินเฟ้อในปีเดียวกันร้อยละ 5.9 องค์กรการเงินระหว่างประเทศได้พยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจของปานามาในปี 2012 ว่าจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 7.5

บริษัทจัดอันดับหนี้ (credit rating agency) Fitch Ratings ได้ยกระดับเครดิตหนี้ระหว่างประเทศของปานามาเป็น BBB stable ซึ่งถือว่าเป็น investment grade โดยให้เหตุผลว่า ปานามาได้ปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจ เช่น การปรับโครงสร้างภาษีที่ประสบผลสำเร็จ และภาระหนี้ระหว่างประเทศได้ลงลงในปีที่ผ่านมา ที่ทำให้รัฐบาลของปานามาสามารถระดมการลงทุนเพิ่มขึ้น

สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจปานามา
ปี           GDP-    GDP      GDP      จำนวน     อัตราเงิน   อัตราการ   อัตราดอก   อัตราแลก
            PPP     Growth   per Cap  ประชากร   เฟ้อ       ว่างงาน    เบี้ย       เปลี่ยนต่อ
           (Bill.   (%)      (USD)    (ล้านคน)   (%)       (%)                 เงินดอลล่าร์
            USD)                                                              สหรัฐ
2008       34.81    10.1     11,532   3.3       4.2       6.4       8.25      1
2009       31.89     3.2     11,776   3.36      8.8       5.6       8.25      1
2010       44.82     7.5     12,397   3.4       2.4       6.7        8.3      1
2011       55.12    10.6     15,082   3.46      5.9       4.2        8.2      1
ที่มา: indexmundi.com, IMF, WB.

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
          ในปลายปี ค.ศ. 2011 ปานามามีเงินทุนสำรองฯ มูลค่า 2.714 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ
          ภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดของปานามา ได้แก่ ภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนในผลผลิตรวมของประเทศ ร้อยละ 79.1 โดยธุรกิจบริการที่สำคัญ ได้แก่ บริการขนส่งผ่านคลองเดินเรือปานามา ธุรกิจการธนาคาร บริการเขตพื้นที่การค้าพิเศษปลอดภาษีโคลอน (Colon Free Trade Zone) ธุรกิจการประกันภัย ธุรกิจบริการการท่าขนถ่ายคอนเทนเนอร์ ธุรกิจบริการจดทะเบียนเรือขนส่งสินค้า และธุรกิจการท่องเที่ยว
          ภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ที่มีสัดส่วนในผลผลิตรวมประมาณร้อยละ 16.6 โดยมีกิจกรรมอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่  การก่อสร้าง การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การผลิตซีเม็นต์และวัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
           ภาคการเกษตรมีสัดส่วนในผลผลิต ร้อยละ 4.3 สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ กล้วย ข้าว ข้าวโพด กาแฟ น้ำตาล ผัก ปศุสัตว์ และ กุ้ง

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ
          การลงทุนจากต่างประเทศในปานามาในปี 2011 มีมูลค่าประมาณ 2,790 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับว่าเป็นมูลค่าการลงทุนที่มากที่สุดในประวัติการลงทุนในปานามา และเป็นมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สูงที่สุดสำหรับภูมิภาคลาตินอเมริกาโดยรวมสำหรับปีนั้น ร้อยละ 14 ของมูลค่าการลงทุนต่างชาติโดยตรงในปานามาสำหรับปี 2011 เป็นการลงทุนโดยตรงจากประเทศสเปน อันเป็นผลจากการเดินทางของคณะส่งเสริมการลงทุนปานามาไปยังประเทศสเปนในปี 2011

2.5 การท่องเที่ยว
          ในปี ค.ศ. 2011 ภาคการท่องเที่ยวของปานาได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 14 จากปี 2011 เป็ลผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากต่างประเทศเกิน 2 ล้านคนในปีนั้น ได้มีการขยายการลงทุนในภาคการท่องเที่ยวจำนวนมากในปีดังกล่าว โดยได้มีมูลค่าการลงทุน 405 ล้านเหรียญฯ และคาดว่าในปี 2012 จะมีการลงทุนในภาคการท่องเที่ยวมูลค่า 842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการขยายเปิดโรงแรงใหม่อีก 27 แห่ง ทั้งนี้ ปานามามีการจัดงานแสดงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระหว่างประเทศทุกๆ ปี ซึ่งดึงดูดธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ ภูมิภาคลาตินฯ แคริเบียน และยุโรปจำนวนมาก โดยในปี 2012 จะจัดงานแสดงฯ ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน

3.  ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของปานามา

3.1  ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศปานามา
          ปานามาได้มีมูลค่าการส่งออกในปี ค.ศ. 2011 ประมาณ 771 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2010 ในสัดส่วนร้อยละ 8.5 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กล้วย และผลไม้อื่นๆ อาหารทะเลสดและแช่แข็ง น้ำตาล กาแฟ และทองคำ ประเทศที่ส่งออกสำคัญคือ สหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 21 แคนาดาร้อยละ 15 คอสตาริกา สวีเดนและเนเธอร์แลนด์ แต่ละประเทศมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 7 จีนและไต้หวันแต่ละประเทศในสัดส่วนร้อยละ 5
          ส่วนสินค้าที่ประเทศปานามานำเข้าที่สำคัญได้แก่ น้ำมันและเชื้อเพลิง รถยนต์รวมทั้งส่วนประกอบและชิ้นส่วน ยา สินค้าอาหาร เสื้อผ้าและรองเท้า ท่อเหล็ก คอมพิวเตอร์ สินค้าทุน และเคมีภัณฑ์ โดยในปี 2011 ปานามาได้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 มูลค่าการนำเข้ารวม 1.11 พันล้านเหรียญฯ โดยประเทศแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 25 ประเทศคอสตาริกา ร้อยละ 5 เม็กซิโก ร้อยละ 4.5 และจีน ร้อยละ 4

3.2 ประเทศคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า/ส่งออก

3.3 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี
          ปานามามีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 5 โดยมีการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้ายาและเภสัช อาหาร และคุรุภัณฑ์ ในด้านการเก็บภาษีนำเข้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกาแล้ว ปานามาเป็นประเทศที่เก็บภาษีนำเข้าที่ต่ำที่สุด เฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ 9 นอกจากนี้แล้ว ปานามายังได้แก้ไขปรับปรุงมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ผู้นำเข้าไม่ต้องขอใบอนุญาตการนำเข้า เป็นต้น ปานามามีการอุดหนุนการส่งออก 3 ประเภท คือ Processing Zones (ZPE) Tax Credit Certificate (CAT) และ Official National Industry Registry (ROIN)

3.4 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ
          ปานามาได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกเมื่อปี ค.ศ. 1997 และมีความตกลงการค้ากับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 เพื่อการพัฒนาคลองเดินเรือระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทแอทแลนติก ในปี 2007 ปานามาได้ลงนามในความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ นอกจากสหรัฐฯ แล้ว ปานามาได้ลงนามในความตกลงเขตการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศอเมริกากลาง (2010) คิวบา ไต้หวัน (2003) สิงค์โปร์ (2006)  ชิลี (2006) และแคนาดา (2010) อีกทั้งยังมีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับประเทศเม็กซิโก (1985) โคลัมเบีย (1993) และสาธารณรัฐโดมินิกัน (1985) ในปี 2011 ปานมาได้เข้าเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบในกลุ่มความตกลงลาตินอเมริกา ALADI

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย

4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย
          ประเทศไทยและปานามามีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี ค.ศ. 2011 มูลค่า 293.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 25.75 โดยไทยมีการส่งออกไปยังปานามา เป็นมูลค่า 208.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนาเข้า 85.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับปานามา 123.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การค้าระหว่างไทยกับปานามา

                                                                                 มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ             มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ             อัตราการขยายตัว (%)                 สัดส่วน (%)
                2009       2010       2011      2009        2010        2011    2009      2010      2011
มูลค่าการค้ารวม  163.07     233.68     293.85        -        43.30       25.75    0.06      0.06      0.06
                                                21.17
การส่งออก      136.76     223.08     208.81        -        63.11       -6.39    0.09      0.11      0.09
                                                28.59
การนำเข้า       26.31      10.60      85.04      71.23     -59.71      702.17    0.02      0.01      0.04
ดุลการค้า       110.45     212.47     123.78        -        92.37      -41.75    0.59      1.72     37.02
                                                37.29
แหล่งข้อมูล: กรมเจรราการค้าระหว่างประเทศ

สินค้าไทยส่งออกไปตลาดปานามาปี ค.ศ. 2009-2011
               ชื่อสินค้า                                     มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ       อัตราการ ขยายตัว(%)
                                                   2009         2010           2011        2010/11
1. Motor cars, partsม accessories                  47.4         97.2           80.0         -17.71
2. Radio, TV receiver, parts                       29.6         48.8           33.1         -32.20
3. Apparel and clothing, acces.                    11.8         13.8           19.6          42.35
4. Washing/dry-clean  machines, parts               4.0          7.2           14.2          98.13
5. Rubber products                                  2.8          5.9            6.2           4.95
6. Prepared/preserved fish, etc.                    5.0          5.3            7.2          36.55
7. Precious stones and jewellery                    2.2          4.0            4.8          21.77
8. Plastic products                                 4.1          4.8            4.3         -10.79
9. Automatic data processing m, parts               2.5          5.0            3.4          81.08
10. Footwear                                        5.6          1.9            3.3         -34.18
แหล่งข้อมูล: กระทรวงพาณิชย์

          ในปี 2011 ไทยนำเข้าสินค้าจากปานามามูลค่า 85.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากจากปี 2010 ร้อยละ 702 สินค้านาเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ กาแฟ ชา เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทอและอื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

สินค้าไทยนำเข้าจากปานามาปี ค.ศ. 2009-2011
                 ชื่อสินค้า                                 มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ        อัตราการขยายตัว (%)
                                                     2009      2010      2011          2010/11
1. Ships, boats and floating structures              23.4       4.5      70.1         1,458.31
2. Iron, steel and products                           2.2       4.5       9.6           110.50
3. Fresh/ chilled aquatic animals, etc.               0.5       0.5       1.9           274.20
4. Animals and animal products                          -         -       1.9
5. Other metal ores, waste, scrap, etc.                 -       0.2       0.6           123.99
6. Chemicals                                          0.1                 0.6           192.25
7. Fabrics                                                                0.1         1,601.49
8. Misc. manufactured articles                                            0.1           255.23
9. Electrical machinery and parts                                         0.1            95.29
10. Other fuel                                                              -                -
แหล่งข้อมูล: กระทรวงพาณิชย์

4.3 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศปานามา
          นอกจากสินค้าที่ส่งออกไปประเทศปานามาดั้งเดิม ที่มีโอกาสการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามรายการที่กล่าวข้างต้นแล้ว สินค้าส่งออกใหม่ที่ผู้ส่งออกไทยควรพิจารณาการร่วมลงทุนในด้านบริการ เช่น ในด้านการขนส่งทางเรือ และด้านการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร โรงแรม และโรงพยาบาล เป็นต้น ในด้านการนำเข้าไทยอาจจะพิจารณาการนำเข้าแร่ทองแดงจากเหมืองที่กำลังเปิดใหม่ใน 1-2 ปีข้างหน้า

4.4 ข้อตกลง/ความร่วมมือทางการค้ากับประเทศไทย
          ขณะนี้ไทยยังไม่มีความตกลงทางการค้ากับปานามา แต่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1982 โดยรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก มีอาณาเขตครอบคลุมปานามา และแต่งตั้งนาย Carlos Alberto Janon F. เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจาปานามา และปานามาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจาประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1995

4.5 ปัญหา/อุปสรรค/ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
          นักธุรกิจไทยอาจจะไม่สนใจทำธุรกิจกับปานามาเนื่องจากความห่างไกลในระยะทางการเดินทางขนส่ง อีกทั้งปานามายังเป็นประเทศที่มีตลาดภายในที่จำกัด แต่หากพิจารณประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ต่างได้ไปตั้งกิจการในปานามาเป็นหลักแหล่งกันแล้ว โดยนักลงทุนของประเทศเหล่านี้ เล็งเห็นความสะดวกในการดำเนินกิจการในเขตเศรษฐกิจพิเศษของปานามาทีเอื้ออำนวยทั้งการนำเข้า และการส่งออกต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้แล้ว ยังไม่มีปัญหาข้อจำกัดด้านภาษาในการติดต่อโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางราชการ การเจรจาความตกลงคุ้มครองการลงทุน และการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนเป็นพื้นฐานที่ต้องปูเอาไว้เพื่อให้นักลงทุนไทยมมีความสนใจบ้าง การเจรจาการค้าเสรีกับปานามาก็น่าจะเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มละตินอเมริกา

4.6 ลู่ทางการค้าและการลงทุน
          ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยควรพิจารณาการร่วมลงทุนในด้านบริการ เช่น ในด้านการขนส่งทางเรือ และด้านการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร โรงแรม และโรงพยาบาล เป็นต้น ในด้านการนำเข้าไทยอาจจะพิจารณาการนำเข้าแร่ทองแดงจากเหมืองที่กำลังเปิดใหม่ใน 1-2 ปีข้างหน้า

5. บริษัท 10 อันดับแรก
          บริษัทสำคัญ 10 อันดับแรกของปานามาได้แก่ บริษัท McDermott International (ที่ปรึกษาก่อสร้าง) Panmaco (ผลิตเบียร์) Wilbros Group (ที่ปรึกษาก่อสร้าง) BLADEX (ธนาคารส่งเสริมการส่งออก) Excony Interamerica, Aguas de Panama (ผลิตน้ำ) Bahia Las Minas (เหมือง) Banaprest (ธนาคาร) Banco Continental (ธนาคาร) และ Banco Iboamerica (ธนาคาร)

6. การวิเคราะห์แนวโน้ม
ภาวะเศรษฐกิจ                      ตลาด                           สินค้า/บริการ
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2011-   - เป็นทำเลที่ดีสำหรับเป็นศูนย์         - รถยนต์และเครื่องจักร
12                                 กลางการส่งออกการกระจาย        - ธุรกิจบริการด้านการเดินเรือ
มีศักยภาพสูงกว่าประเทศอื่นในภูมิ           สินค้าต่อไปยังประเทศในภูมิ         - ธุรกิจบริการโรงแรม
ภาคเนื่องจากการก่อสร้างขยายคลอง        ภาคอเมริกากลางและอเมริกา       - ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและ
ปานามา                             ใต้                             การแพทย์
ความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานดีที่                                       - การก่อสร้างที่พักอยู่อาศัย
สุดในอนุภูมิภาคอเมริกากลาง                                             และโครงสร้างพื้นฐาน

7. SWOT Analysis

Strength
  • เป็นทำเลที่ดีสำหรับเป็นศูนย์กลางการส่งออกและการกระจายสินค้าต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • ระบบการค้าเสรีและส่งเสริมการส่งออก
  • ใช้ภาษาอังกฤษในภูมิภาคที่พูดภาษาสเปน
Opportunities
  • การขยายคลองปานามาให้เรือขนาดใหญ่ขึ้นสามารถเดินผ่านได้
Weakness
  • ห่างไกลจากประเทศไทย
  • ตลาดภายในประเทศไม่ใหญ่
Threat

-เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกและการบริการคลองปานามาเป็นส่วนใหญ่

8. กิจกรรมส่งเสริมการส่งออกประเทศปานามา ปี 2555
วันที่                      กิจกรรม                          เมือง/ประเทศ                 สินค้า
2011          - ผู้แทนการค้าไทย หอการค้าไทย และ        - ไปเยือนงานแสดงสินค้า         - การก่อสร้าง
                และคณะผู้แทนการค้าไปเยือนประเทศ          Expocomer สินค้าทั่วไป          ธุรกิจและสินค้า
                ปานามาจำนวน 2 ครั้ง                    เจรจาการค้าและศึกษาศักย        สปา รถยนต์และ
                                                     ภาพการค้าและ                 ชิ้นส่วนรถยนต์
                                                     โลจิสติกส์ของประเทศ            อุปโภคบริโภค
                                                     ปานามา                      เสื้อผ้าสำเร็จรูป
                                                                                 อุปกรณ์การก่อ
                                                                                 สร้าง อาหารแปรรูป
2012          - การจัดคณะผู้แทนการค้าในปานามามา
                เยือนงานแสดงสินค้าในไทย
              - การจัดคณะผู้แทนการค้าไทยไปเจรจา        - Panama City
                การค้าในประเทศปานามา

9. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ

1. กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมปานามา

Ministerio de Comercio e Industria

Plaza Edison, Sector El Paical, Pisos 2 y 3..

Tel: (507) 560-0600, (507) 560-0700. Fax: (507) 261-1942.

2. กระทรวงการต่างประเทศปานามา

Ministerio de Relaciones Exteriores, San Felipe. Calle 3. Palacio Bolvar.

Ciudad de Panam. Zona Postal San Felipe, Panam 4

Tel: (507) 511-4100 / (507) 511-4200

Fax: (507) 511-4022

3. องค์กรการท่องเที่ยวปานามา

Autoridad de Tourismo Panama

Samuel Lewis Ave. and Gerardo Ortego Str., Central Bldg., Panama City

Tel: (507) 526-7000

10. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย

Embassy of Panama

1168/37 Lumpini Tower Building, 16th Floor

Tungmahamek, Sathorn,

Bangkok 10120, Thailand

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

กรกฎาคม, 2012


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ