ในช่วงระยะ 6 เดือนแรกปี 2551 (ม.ค-มิ.ย) การค้าระหว่างไทยและกัมพูชามีมูลค่าการค้ารวม 1,129.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 651.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของระยะเดียวกันปี 2550 ร้อยละ 73.42 แยกเป็นการส่งออก 1,089.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 634.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของระยะเดียวกันปี 2550 ร้อยละ 71.79 และนำเข้า 39.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 17.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของระยะเดียวกัน ปี 2550 ร้อยละ 133.79 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 1,049.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 617.04 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ของระยะเดียวกันปี 2550 ร้อยละ 70.08
ตารางแสดงการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราการขยายตัว % 2548 2549 2550 2550 2551 2548 2549 2550 2550 2551 (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) มูลค่าการค้า 951.61 1,270.13 1,404.13 651.18 1,129.26 26.47 33.47 10.55 11.63 73.42 การส่งออก 920.21 1,235.47 1,355.38 634.11 1,089.35 26.92 34.26 9.71 11.60 71.79 การนำเข้า 31.41 34.66 48.76 17.07 39.91 14.54 10.37 40.66 12.76 133.79 ดุลการค้า 888.80 1,200.80 1,306.62 617.04 1,049.44 27.41 35.10 8.81 11.57 70.08 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร 2. การส่งออกไทยส่งออกมากัมพูชาในช่วงระยะ 6 เดือนแรกปี 2551 (ม.ค-มิ.ย) มูลค่า 1,089.35 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เพิ่มจากระยะเดียวกันของปี 2550 ซึ่งนำเข้า 634.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มร้อยละ 71.79 โดยสินค้า หมวดวัสดุก่อสร้างมีการขยายตัวสูงสุด เช่น สินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มร้อยละ 238.30 จากยอดนำเข้าของปี 2550 มูลค่า 22.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 77.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการด้านการก่อสร้างมีสูงมาก โครง การก่อสร้างขนาดใหญ่เพิ่งเริ่มโครงการในปี 2551 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 หรือ 2554
การนำเข้าน้ำตาลทราย เพิ่มร้อยละ 180.13 จากยอดนำเข้าปี 2550 มูลค่า 19.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 54.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการหลักคือ การส่งต่อไปเวียดนามและการนำเวียนกลับเข้าไทย เพราะราคาน้ำตาลทรายในไทยมีการปรับราคาขายปลีกทำให้ราคาน้ำตาลทรายในไทยสูงกว่าในกัมพูชา
น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มร้อยละ 169.85 จากการนำเข้าปี 2550 มูลค่า 83.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 224.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่ม ขณะที่สถิติการนำเข้าแก๊สหุงต้ม เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นไม่มีปรากฎสถิติเช่นกัน
รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และเครื่องยนต์ นำเข้าเพิ่มร้อยละ 103.80 เพราะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ทำให้ ความต้องการปัจจัยที่ 5 เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อาหารสัตว์ เพิ่มร้อยละ 81.68 จากการนำเข้าปี 2550 มูลค่า 14.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 26.6 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2551 เพราะคนกัมพูชาหันมาเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเพื่อป้อนตลาดในประเทศและชดเชยการนำเข้า เพราะ ตั้งแต่ต้นปี 2551 กัมพูชานำเข้าสุกรจากไทยวันละนับพันตัว มูลค่านำเข้าวันละประมาณ2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (สถิตินี้ไม่ ปรากฎในตัวเลขของกรมศุลกากร)
สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยไปกัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราการขยายตัว % 2548 2549 2550 2550 2551 2548 2549 2550 2550 2551 (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) น้ำมันสำเร็จรูป 129.4 144.7 215.2 83.2 224.5 36.16 11.90 48.65 7.60 169.85 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 31.8 42.5 42.8 22.8 77.3 7.50 33.62 0.66 13.24 238.30 รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 37.7 64.4 82.2 38.7 69.5 -19.52 70.67 27.60 13.92 79.34 เครื่องดื่ม 52.5 69.2 74.1 41.0 56.3 14.01 31.70 7.05 9.47 37.24 น้ำตาลทราย 64.2 88.4 61.0 19.4 54.3 73.89 37.66 -30.95 -59.41 180.13 รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 25.8 40.2 49.9 21.9 52.1 -7.71 55.84 24.23 2.88 137.76 ปูนซีเมนต์ 57.7 72.0 86.2 40.7 45.2 26.84 24.86 19.79 13.30 11.08 เคมีภัณฑ์ 43.6 51.1 54.5 25.5 41.6 32.72 17.17 6.63 11.45 62.80 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 21.7 29.7 46.4 20.8 40.4 112.03 37.14 55.98 57.54 94.31 ผลิตภัณฑ์ยาง 26.7 32.0 42.1 22.2 29.2 15.26 19.83 31.56 34.11 31.47 อื่นๆ 429.1 601.3 601.1 297.8 399.1 29.69 40.11 -0.03 23.25 34.00 รวมทั้งสิ้น 920.2 1,235.5 1,355.4 634.1 1,089.4 26.92 34.26 9.71 11.60 71.79 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร 3. การนำเข้าไทยนำเข้าจากกัมพูชาในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่า 39.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากระยะ เดียวกันของปี 2550 ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 17.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 133.79 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่และเศษโลหะ เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากกัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราการขยายตัว % 2548 2549 2550 2550 2551 2548 2549 2550 2550 2551 (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 0.6 5.0 5.5 3.6 11.0 64.45 725.95 9.71 31.75 203.25 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 4.3 7.2 9.6 5.0 10.9 -50.01 67.63 33.88 64.13 118.59 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 9.0 7.6 15.1 0.5 4.9 149.34 -15.93 98.65 -57.32 848.86 ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งจากผัก ผลไม้ 0.1 0.1 1.0 0.5 3.1 -60.66 76.18 604.90 317.13 492.07 เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 0.6 1.6 2.5 1.2 2.6 57.64 166.39 52.37 100.60 120.33 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ 8.2 4.8 5.6 2.6 2.2 238.34 -41.08 16.80 3.57 -18.29 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 0.3 0.9 1.6 0.6 1.4 92.39 231.82 81.71 69.10 123.13 เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 1.4 1.7 1.6 0.6 0.7 2.80 21.54 -6.13 -34.48 13.48 สัตว์และผลิตภัณฑ์ 0.9 1.1 0.5 0.1 0.6 71.02 12.12 -48.95 -85.07 323.87 กาแฟ ชา เครื่องเทศ 0.1 0.1 0.4 0.1 0.6 17.36 -28.91 404.05 29.26 820.36 อื่นๆ 6.0 4.6 5.4 2.1 1.9 -38.80 -22.38 16.92 -15.75 -11.01 รวมทั้งสิ้น 31.4 34.7 48.8 17.1 39.9 14.54 10.37 40.66 12.76 133.79 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากรนักสังเกตการณ์หลายคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขการนำเข้าอย่างเป็นทางการจากสถิติของกรมศุลกากรไทย ว่าด้วยมูลค่าการส่งออกและการนำเข้านั้น มีสถิตินำเข้าตามแนวชายแดนโดยเป็นการเสียภาษีลักษณะเหมาจ่ายและการ นำเข้าเพื่อมนุษยธรรมจำนวนหนึ่งนั้น มูลค่าการค้าน่าจะมากตัวเลขทางการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ซึ่งนั่นหมายความว่ามูลค่า การค้าของกัมพูชาและไทยนั้นปีหนึ่งมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทีเดียว
สคต.พนมเปญ คาดว่าการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชาในปี 2551 เพิ่มร้อยละ 25 ขณะที่ปี 2549 เพิ่มร้อยละ 33.47 และปี 2550 เพิ่มร้อยละ 10.55 ซึ่งหากดูตัวเลขของ 6 เดือนแรกปี 2551 ที่ผ่านมาไทยส่งออกเพิ่ม 71.79 และนำเข้าเพิ่ม 133.79 คาดว่าการค้าในปี 2551 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างแน่นอน
สำนักงานฯ ได้ผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขายสินค้า สร้างค่านิยมต่อสินค้าไทย ส่งแสริมภาพ ลักษณ์สินค้าไทย การนำคณะผู้แทนการค้ากัมพูชาเดินทางไปประเทศไทยเพื่อเจรจาซื้อสินค้าทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม นับสิบคณะ ซึ่งเป็นการบุกตลาดกัมพูชาอย่างหนักและต่อเนื่อง เพราะประจักษ์ว่าการส่งออกจากไทยไปประเทศอื่นๆ ประสบ ปัญหานานับ ประการ ขณะที่การส่งออกมากัมพูชาเหมาะสม เพราะเศรษฐกิจกำลังบูมเต็มที่ รวมถึงการส่งผ่านกัมพูชาเพื่อ ไปเวียดนามและจีน มีศักยภาพสูง
เมื่อหันมามองประเทศคู่แข่งหลักของไทยในกัมพูชาได้แก่เวียดนามและจีนแล้วจะเห็นว่าทั้งสองประเทศรุกหนัก ทั้งการค้าและการลงทุน โดยเวียดนามซึ่งเคยเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 5 หรือที่ 6 สามารถแซงจีนซึ่งเคยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 1 ของกัมพูชา โดยเวียดนามกลายเป็นคู่ค้าลำดับ 1 แทนด้วยมูลค่า(จากสถิติของกัมพูชา) 755 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ จีนมีมูลค่าการค้ารวม 654 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เละไทยมีมูลค่าการค้ารวม 578 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเวียดนามมี มูลค่าการค้ามากกว่าไทยร้อยละ 30 และมากกว่าจีนร้อยละ 15
สคต.พนมเปญ
ที่มา: http://www.depthai.go.th