ภาวะตลาดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 18, 2010 16:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดทั่วไป

จากการที่จานวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (จากสถิติของ Foreseeing Innovative New Digiservices (FIND), Institute for Information Industry (III) ชี้ว่า จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2552 มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 16.13 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.9 ของจานวนประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 23 ล้านคน) ทาให้ผู้ประกอบการค้าปลีกในไต้หวันหันมาพัฒนาการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น โดยในช่วงเดือนพฤศิจกายน 2552 ที่ผ่านมา Matsui (Supermarket) และ Sun Far (ร้านขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์) ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Yahoo! Super City ซึ่งเป็นเวปไซด์จาหน่ายสินค้าออนไลน์ในแบบ B2C ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งมีผู้ประกอบการค้าปลีกร่วมเป็นพันธมิตรมากกว่า 1,500 ราย โดยกว่าครึ่งของจานวนนี้เป็นผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีร้านค้าเป็นของตัวเองด้วย โดยจากการประมาณการของ III คาดว่ามีร้านค้าออนไลน์ในไต้หวันในปี 2552 มากกว่า 25,000 แห่ง พร้อมทั้งคาดการณ์อัตราขยายตัวของการซื้อขายสินค้าออนไลน์แบบ B2C ในปี 2552 ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 26.5 แต่ตัวเลขดังกล่าวนี้ ครอบคลุมถึงมูลค่าของ Services Trade ที่ไม่ได้รวมอยู่ในรายงานฉบับนี้เอาไว้ด้วย

2. มูลค่าตลาด

จากสถิติของ Euromonitor Int'l ในปี 2552 ชี้ว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 85,923.9 ล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 32 เหรียญไต้หวัน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 9.0 โดยสินค้าที่มีการซื้อขายมากที่สุดคือ Consumer Electronics ด้วยมูลค่า 32,995.8 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 7.0 รองลงมาได้แก่ Clothing and Footware (มูลค่า 29,470.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0) และ Home Furnishing & Houseware (มูลค่า 9,376.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0)

3. การตลาด

PC Home Online ถือเป็นผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันมากที่สุดในปี 2552 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 9.0 โดยบริษัทมีประเภทสินค้าที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งอาหารสาเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสิรมความงามและสุขภาพ รวมไปจนถึงสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และเพื่อเพิ่มจานวนผู้เข้าชมเวปไซด์ ทางบริษัทได้จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษสาหรับผู้ที่เข้ามาสั่งซื้อสินค้าในช่วงเวลา 12.00-16.00 ของทุกวัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถดึงดูดให้สมาชิกเข้ามาใช้บริการเวปบ่อยขึ้นหากแต่ยังเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วยจากส่วนลดของราคาที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากซื้อสินค้ามากขึ้นด้วย

โดยอันดับรองลงมาได้แก่ Yahoo! Taiwan ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.0 ในปี 2552 โดยในปี 2552 นี้เป็นปีที่ผลประกอบการของบริษัทขยายตัวสูงมาก จากการเปิดตัว Platform ค้าปลีกออนไลน์ตัวใหม่อย่าง Yahoo! Super City และจากการที่ Yahoo! ถือเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไต้หวัน จึงสามารถดึงดูด Chain Stores ค้าปลีกแบรนด์ต่างๆ ให้หันมาร่วมมือด้วย ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปี 2552 จะมีร้านค้าออนไลน์ใน Yahoo! Super City มากถึง 1,500 แห่ง

นอกจากนี้ Coco ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าเครื่องดื่มชาที่มีชื่อเสียงในไต้หวันได้เริ่มเปิดให้บริการสั่งซื้อออนไลน์ในช่วงเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งบริษัทได้ประกาศว่าสามารถขายเครื่องดื่มได้มาถึง 10,000 แก้วภายในเวลา 10 วันที่เปิดให้บริการ จนส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าออนไลน์เฉลี่ยประมาณเดือนละ 525,000 เหรียญไต้หวัน แน่นอนว่าผลสาเร็จของบริษัทจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้ประกอบการรายอื่นในธุรกิจ Food & Drink หันมาให้ความสาคัญกับกลุ่มลูกค้าออนไลน์มากยิ่งขึ้นด้วย

ในด้านบริการและการชาระเงินนั้น เวปไซด์รายใหญ่จะมีบริการชาระเงินผ่านบัตรเครดิต รวมไปจนถึงการผ่อนชาระเป็นงวด ในบางโอกาสอาจมีการเสนอโปรโมชั่นผ่อนชาระได้โดยไม่คิดดอกเบี้ย แน่นอนว่าการบริการหลังการขายที่ดีและนโยบายการรับคืนสินค้าที่เหมาะสมตรงไปตรงมา ถือเป็นเงื่อนไขสาคัญที่มีการนาเสนอต่อลูกค้าด้วย และจากการที่ส่วนแบ่งตลาดระหว่าง PC Home และ Yahoo! ใกล้เคียงกันมาก ทาให้ทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามเสนอบริการที่ดึงดูดใจทาให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการให้ส่วนลดค่าขนส่งที่ถือเป็นต้นทุนแฝงสาหรับการซื้อสินค้าออนไลน์

ในส่วนของการซื้อขายแบบ C2C นั้น ยังคงได้รับความนิยมอยู่โดยเฉพาะในสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เนื่องจากต้นทุนในการเปิดให้บริการไม่สูงมากจึงทาให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้ปัญหาการฟ้องร้องจากการซื้อขายแบบ C2C ก็มีอยู่ไม่น้อย โดยมีรายงานว่ามีการเกิดกรณีพิพาทระหว่างปี 2551-2552 รวมประมาณ 3 ล้านกรณี

4. แนวโน้มและโอกาส

จากการคาดการณ์ของ Euromonitor Int'l ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์มีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากจานวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่จะเพิ่มสูงขึ้นและความแพร่หลายของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G (เช่นสมาร์ทโฟนต่างๆ ทั้ง iPhone หรือ HTC เป็นต้น) แน่นอนว่านโยบายการพัฒนาให้ไต้หวันเป็นเกาะแห่งอินเตอร์เน็ตของรัฐบาลจะมีส่วนทาให้ต้นทุนในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตค่อยๆ ลดลง จนทาให้แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกลก็จะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง ซึ่งช่องทางเหล่านี้จะเอื้ออานวยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงสินค้ามากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเวลาใด ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะหันมาใช้บริการซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วย และจากการความเพรียบพร้อมและศักยภาพทางเงินทุน คาดว่า Yahoo! Taiwan จะมีโอกาสกลายมาเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันได้ในเวลาไม่นานนัก จากข้อได้เปรียบในการเชื่อมโยงเข้ากับการใช้งาน Search Engine โดย Euromonitor คาดว่าในปี 2557 มูลค่าตลาดของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในไต้หวันจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 118,159.4 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึงร้อยละ 37.5

และเมื่อพิจารณาจากประเภทสินค้าที่จะมีอัตราการเติบโตสูง ทั้ง Beauty and Personal Care (เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.2) และ Clothing and Footware (เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0) แล้ว จะเห็นว่าเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยต่างก็มีศักยภาพสูงในตลาดโลก ประกอบกับกฏหมายของไต้หวันก็ไม่ห้ามผู้ประกอบการต่างชาติให้มาลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและเปิดให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองหุ้นได้สูงสุดในสัดส่วนร้อยละ 100 จึงถือเป็นโอกาสสาหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดมายังไต้หวันด้วยเงินลงทุนจานวนไม่มาก แต่ทั้งนี้ควรจะต้องมีการจัดทาเวปไซด์ที่เป็นภาษาจีน (Traditional Chinese) เนื่องจากผู้บริโภคไต้หวันไม่ค่อยนิยมใช้บริการเวปไซด์ภาษาอังกฤษ และคุ้นเคยกับการใช้เวปไซด์ภาษาจีนมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ความสาเร็จในการประกอบธุรกิจในไต้หวันจะสามารถช่วยในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีนได้ง่าย เพราะผู้บริโภคจีนให้การยอมรับและมีความสนใจจะติดต่อกับธุรกิจที่ประสบความสาเร็จ/มีชื่อเสียงในไต้หวันมากกว่าจากชาติอื่น ผู้ประกอบการไทยจึงสามารถใช้ไต้หวันเป็นกระดานหกในการกระโดดเข้าสู่ตลาดจีนได้เป็นอย่างดี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ