ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทมาจากการปรับตัวแข็งค่าของดอลลาร์ ขณะเดียวกันตลาดยังจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ในกรอบ 32.05-32.20 บาท/ดอลลาร์
ล่าสุด SPOT อยู่ที่ 32.0800 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M อยู่ที่ 2.04797% และ THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ 2.13407%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 103.59/60 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 102.77 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3751/3753 ดอลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3771 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.1220 บาท/ดอลลาร์
- ศูนย์วิจัยทองคำเปิดผลสำรวจโบรกทอง คาดราคาปีหน้าลดลงต่อเนื่อง หวั่นแตะระดับต่ำสุด 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เหตุปัจจัยชะลอคิวอีและดอกเบี้ยสหรัฐขยับ แนะลดสัดส่วนถือครอง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำเดือนธ.ค.วูบ หลังเศรษฐกิจอเมริกาฟื้นตัว
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จับตาปัจจัยการเมืองไทยมีความเสี่ยงสูงและหากยืดเยื้อ จะกระทบต่อภาคการลงทุน-บริโภค ประเมินกรณีปกติเรื่องจบมีรัฐบาลชุดใหม่ทันในครึ่งปีแรก-ส่งออกฟื้นจีดีพีโต 4.5% แต่หากยืดเยื้อดิ่งสุดอาจโตแค่ 0.5% ส่วนกรณีการลด QE แม้กระทบบ้าง แต่มั่นใจรับมือได้
- กระทรวงแรงงานสหรัฐ เผยราคานำเข้าในเดือน พ.ย.ปรับตัวลดลง 0.6% จากเดือน ต.ค.ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยเป็นผลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ราคานำเข้าร่วงลง 1.5% ส่วนราคาส่งออกในเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากลดลง 0.6% ในเดือน ต.ค.
- กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ เผยยอดคลังสินค้าของบริษัทในภาคการผลิตและการค้าของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือน ต.ค.หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือน ก.ย. โดยยอดสต๊อกสินค้าในเดือน ต.ค.อยู่ที่ประมาณ 1.69 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3.6% จากปีก่อน ขณะที่ยอดขายของผู้ผลิต ค้าส่ง และค้าปลีก เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือน ต.ค.จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 1.31 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนอัตราส่วนสต๊อกสินค้าต่อยอดขาย ซึ่งเป็นมาตรวัดระยะเวลาในการขายสินค้าอยู่ที่ 1.29 ณ สิ้นเดือน ต.ค.ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือน ก.ย.
- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เฟดอาจตัดสินใจปรับลดขนาด QE ในการประชุมสัปดาห์หน้า โดยดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.3% แตะที่ระดับ 137.69 จุด เมื่อเวลา 9.13 น.ตามเวลาโตเกียว, ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 15,316.89 จุด ลดลง 24.93 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,080.19 จุด ลดลง 137.93 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,355.01 จุด ลดลง 6.32 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,963.04 จุด ลดลง 4.89 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,044.28 จุด ลดลง 14.76 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 5,740.94 จุด ลดลง 21.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,833.26 จุด ลดลง 0.61 จุด
- China Foreign Exchange Trading System(CFETS) รายงานว่า เงินหยวนอ่อนค่าลง 33% แตะที่ 6.1148 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้
- ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 15,739.43 จุด ลดลง 104.10 จุด -0.66%, ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,998.40 จุด ลดลง 5.41 จุด -0.14%, ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,775.50 จุด ลดลง 6.72 จุด -0.38%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,069.12 จุด ลดลง 17.74 จุด -0.43%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,017.00 จุด ลดลง 60.11 จุด -0.66%, ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,445.25 จุด ลดลง 62.47 จุด -0.96%, ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,062.50 จุด ลดลง 41.70 จุด -0.82%
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้(12 ธ.ค.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดขนาดมาตรการ QE โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้น 6 เซนต์ ปิดที่ 97.50 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน ม.ค.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.03 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ โดยสัญญาทองคำร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า เฟดจะปรับลดมาตรการ QE ในการประชุมที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้า โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ก.พ.ร่วงลง 32.3 ดอลลาร์ หรือ 2.57% ปิดที่ 1,224.9 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน มี.ค.ปรับตัวลง 90.3 เซนต์ ปิดที่ 19.453 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ม.ค.ร่วงลง 20.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1364.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 18.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 720.25 ดอลลาร์/ออนซ์
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดขนาดมาตรการ QE โดยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 103.26 เยน จากระดับ 102.56 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8895 ฟรังค์ จากระดับ 0.8805 ฟรังค์ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงแตะระดับ 1.3746 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3788 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6347ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6382 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.8936 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9067 ดอลลาร์สหรัฐ