ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.95/97 ทิศทางแข็งค่าจากแรงขายดอลล์ หลังตัวเลขศก.สหรัฐอ่อนแอ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 19, 2016 09:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.95/97 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิด ตลาดที่ระดับ 35.03 บาท/ดอลลาร์

โดยล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ 34.98/35.00 บาท/ดอลลาร์ แนวโน้มวันนี้คาดว่าเงินบาทจะยังไปในทิศทางที่แข็งค่าได้ต่อ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาไม่ค่อยดี นักลงทุนจึงมีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ

"บาทวันนี้น่าจะยังแข็งค่าต่อ เพราะตัวเลขสหรัฐไม่ค่อยดี พอเห็นตัวเลขไม่ดีเลยขายดอลลาร์กัน" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.90-35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.05/08 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.40 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1316/20 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1301 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.0750 บาท/
ดอลลาร์
  • นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่
อัตราดอกเบี้ยต่ำจะเกิดการนำเงินไปลงทุนที่เสี่ยงเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นกันมากขึ้น ซึ่ง ธปท.ได้ติดตามดูมาระยะหนึ่งแล้ว ทั้ง
การซื้อลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ลงทุนในหุ้น และซื้อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
  • การท่องเที่ยวเผยต่างชาติเที่ยวสงกรานต์ทะลุ 4.4 แสนคน ด้านทีทีเอเอระบุคนไทยเที่ยวนอกผ่านทัวร์โต กว่า 15-
20% จับตาตลาดรับวันหยุดยาวช่วง พ.ค.บูมอีกรอบ ญี่ปุ่นยังได้รับความนิยมสูงสุด
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 เม.
ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงในเดือนเม.ย.
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ ระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบราย
เดือน โดยได้รับผลกระทบจากการร่วงลงของราคาอาหาร, เวชภัณฑ์ และที่อยู่อาศัย ถึงแม้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ค กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสภาวะน่าพึงพอใจ แต่เฟดจะยัง
คงใช้ความระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเผชิญความเสี่ยง แต่ทั้งนี้ยังเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับ
ตัวขึ้นสู่ระดับเป้าหมาย 2% ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และสภาวะทางด้านเศรษฐกิจมีความเหมาะสมที่จะทำให้เฟดเริ่มปรับนโยบายการ
เงินสู่ภาวะปกติ
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (18 เม.ย.) หลังที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออก
น้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่ม ไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต หลังสิ้นสุดการประชุมเมื่อวันอาทิตย์ที่
ผ่านมา
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 58 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 39.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับ
ปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.ปีนี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 19 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 42.91 ดอลลาร์/
บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบปิดตลาดอ่อนแรงลง หลังที่ประชุมกลุ่มโอเปก และประเทศนอกกลุ่ม ไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการ
ตรึงกำลังการผลิต
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุด 1.5% ในการประชุมวันนี้ โดยนับเป็นการตรึงดอกเบี้ยที่
ระดับดังกล่าวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางเลือกที่จะรอดูว่า สัญญาณการฟื้นตัวที่
ปรากฏในระยะนี้จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้เริ่มอัดฉีดเม็ดเงิน 1.625 แสนล้านหยวน (2.5 หมื่นล้านดอลลาร์) เข้าสู่ตลาดใน
การดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO ผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ตั้งแต่วานนี้
(18 เม.ย.) ทั้งนี้ MLF เป็นเครื่องมือของ PBOC เพื่อเสริมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ โดยการให้ธนาคารเหล่านี้สามารถกู้ยืม
เงินจาก PBOC ได้โดยใช้หลักทรัพย์ต่างๆ เป็นหลักประกัน
  • นายวาลดีส ดอมบรอฟสกี้ส์ รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ให้สัมภาษณ์นอกรอบการประชุมของกองทุนการเงิน

ระหว่างประเทศ (IMF) ว่า การหารือระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศในเรื่องการปฏิรูปประเทศจะได้ข้อสรุปในอีกไม่กี่

สัปดาห์นี้ ซึ่งปัจจุบันกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศยังไม่สามารถทำข้อตกลงกันได้ในเรื่องโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

งวดต่อไปวงเงิน 8.6 หมื่นล้านยูโร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ