ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.65/67 แนวโน้มอ่อนค่า ตลาดมองโอกาสสูงที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในมิ.ย.

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 23, 2016 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.65/67 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากช่วงเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 35.64 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.58-35.67 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าได้ต่อ เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้น กดดันให้สกุลเงินในเอเชีย ปรับตัวอ่อนค่าลง หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะนี้ออกมาค่อนข้างดี ประกอบกับความเห็นล่าสุดจากประธานธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก ที่ออกมาระบุว่ามีโอกาสสูงที่การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในรอบหน้า (มิ.ย.) จะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

"บาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า เพราะตลาดให้น้ำหนักกับความเห็นของประธานเฟด นิวยอร์ก ที่ระบุว่ามีโอกาสสูงที่การ ประชุม FOMC เดือนหน้าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงทำให้ช่วงนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ากดดันสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.65 - 35.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.40/45 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.73 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1210/1215 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1228 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,381.69 ลดลง 4.17 จุด (-0.30%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 36,561 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 480.27 ลบ.(SET+MAI)
  • บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Rating and Investment Information, Inc. (R&I) ได้ยืนยันอันดับความน่า
เชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Issuer Rating) ที่ระดับ BBB+ และสกุลเงินบาท
(Domestic Currency Issuer Rating) ที่ระดับ A- และคงอันดับความน่าเชื่อถือหนี้รัฐบาลระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ ที่
ระดับ a-2 รวมทั้งคงสถานะแนวโน้มความน่าเชื่อถือของประเทศไทยไว้ที่ระดับเป็นลบ (Negative Outlook)
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผยสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มีนาคม 2559 ว่ามีจำนวน
6,013,649.86 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44.03% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,431,683.97 ล้านบาท หนี้ของ
รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,039,910.82 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
จำนวน 525,523.70 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16,531.37 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้
สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 7,862.69 ล้านบาท
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่าทิศทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลัง
จากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2559 ที่ออกมาขยายตัวได้ 3.2% ถือว่าขยายตัวได้ดีที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน6
(ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, บรูไน) ดังนั้นจึงเป็นเครื่องสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้ขยายตัวต่ำที่สุด
ในอาเซียน6 ตามที่มีกระแสข่าว
  • องค์กรส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งเยอรมนี (GTAI) ระบุว่า ในปี 2558 จีนยังคงครองตำแหน่งประเทศผู้ลง
ทุนสูงสุดในเยอรมนี โดยจีนลงทุนในเยอรมนี 260 โครงการ สูงกว่าปี 2557 ถึง 37% อีกทั้งยังเป็นตัวเลขสูงสุดทุบสถิติใหม่ ทั้งนี้
จีนเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่สุดในเยอรมนีติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ตามมาด้วยสหรัฐ ซึ่งมีโครงการลงทุน 252 โครงการ และสวิตเซอร์
แลนด์ มีโครงการลงทุน 203 โครงการ
  • กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MTI) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) สิงคโปร์ประจำเดือนเม.ย.ลดลง 0.5% และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมต้นทุนด้านที่
พักอาศัยและการคมนาคม ขยับขึ้นแตะ 0.8% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.ที่ระดับ 0.6% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อด้านการบริการปรับตัวสูง
ขึ้น
  • สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังอยู่ในระหว่างการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังมีจุดอ่อนอยู่บ้าง
ก็ตาม โดยยังคงคาดการณ์ไว้ที่ระดับเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นอกจากนี้ยังได้ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การชะลอตัวของ
เศรษฐกิจของจีนและตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก และเมื่อ
มองไปยังอนาคตนั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังคงฟื้นตัวต่อไป แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังในเรื่องความไม่มั่นคงของเศรษฐกิจต่างประเทศและผล
กระทบที่อาจมาจากตลาดการเงินที่ยังคงผันผวน
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยผลการสำรวจว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเกาหลีใต้ทั้งในประเทศและต่าง

ประเทศมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤติทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น ท่ามกลางความกังวลถึงแนวโน้มการยึดทรัพย์ของบริษัทในประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ