ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 35.99 แข็งค่าจากเย็นวานนี้ หลังมีแรงขายดอลลาร์,มองกรอบวันนี้ 35.95-36.05

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 22, 2016 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.99 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัว แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา

"เงินบาทแข็งค่าตามแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร ประกอบกับมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลออก" นักบริหารเงินฯ
กล่าว

นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบวันนี้ไว้ระหว่าง 35.95-36.05 บาท/ดอลลาร์

"ช่วงนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า ยังไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ค่าเงินน่าจะแกว่งตัวในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.58 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ 117.50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0436 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ 1.0398 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.0220 บาท/
ดอลลาร์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ธ.ค.)
เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากดอลลาร์ทะยานขึ้นแข็งแกร่งก่อนหน้านี้ โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สกัดปัจจัยบวกของ
รายงานที่ว่า ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบเกือบ 10 ปี
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) ระบุว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย.ปรับตัวขึ้น 0.7%
ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 5.61 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2007 สวนทางกับที่นักวิเคราะห์
คาดว่าจะร่วงลง 1.0% สู่ระดับ 5.50 ล้านยูนิต
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของ
รัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง ซึ่ง
ข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 81 เซนต์ หรือ 1.5% ปิดที่ 52.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำ มันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 89 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 54.46 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.54% แตะที่
6.9435 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ (21 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากดัชนี
ดาวโจนส์ปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม
ดาวโจนส์ปรับตัวลงในกรอบจำกัด เนื่องจากตลาดขานรับรายงานที่ว่า ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบเกือบ
10 ปี

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 19,941.96 จุด ลดลง 32.66 จุด หรือ -0.16% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,471.43 จุด ลดลง 12.51 จุด หรือ -0.23% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,265.18 จุด ลดลง 5.58 จุด หรือ -0.25%

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (21 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์
ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่ายอดขายบ้านมือสองของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี โดยสัญญาทองคำตลาด
COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,133.20 ดอลลาร์/ออนซ์
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ทางการญี่ปุ่นจะปรับลดการออกพันธบัตรลงเล็กน้อยในปีงบประมาณ 2560 จากงบประมาณ
เบื้องต้นในปีงบประมาณปัจจุบัน โดยปรับลดลงเหลือ 153.96 ล้านล้านเยน (1.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่ง
จากต้นทุนพันธบัตรล็อตก่อนๆ ที่ปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ยอดการออกพันธบัตรใหม่จะปรับตัวลดลงเหลือ 34.37 ล้านล้านเยน จากเดิม 34.43 ล้านล้านเยน แต่ยังคงมีสัด ส่วนสูงถึง 35.3% ของรายได้ทั้งหมดในปีงบประมาณใหม่เริ่มตั้งแต่เดือนเม.ย.

  • คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยมาตรการในการสกัดแหล่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้าย และขบวนการ
อาชญากรรมในสหภาพยุโรป (EU) โดยข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นการคุมเข้มกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน, การสกัดกระแสเงิน
ทุนที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการอายัด และยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

ทั้งนี้ EC เสนอให้มีการระบุให้การฟอกเงินเป็นความผิดในคดีอาญา ซึ่งจะช่วยขจัดอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินการทาง ด้านศาลระหว่างประเทศต่างๆ และการส่งเสริมความร่วมมือของตำรวจในการสืบสวนการฟอกเงิน

  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., จีดีพีในไตรมาส

3/2559 (ตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้าย), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์, การใช้จ่าย-รายได้ส่วนบุคคลเดือนพ.

ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน และยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ