ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.05 แนวโน้มอ่อนค่า จับตาประธานเฟดแถลงนโยบายการเงิน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 14, 2017 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว ใกล้เคียงจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 35.07 บาท/ดอลลาร์ แม้ดอลลาร์จะกลับมาแข็งค่าหลังมีแรงซื้อกลับเข้ามาขาน รับข่าวการประกาศนโยบายภาษีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ

"บาททรงตัวใกล้เคียงกับวันศุกร์ แต่มีทิศทางอ่อนค่า อาจจะดีเลย์กว่าคนอื่นสักหน่อย" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.00-35.10 บาท/ดอลลาร์

"คืนนี้ต้องรอดูถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน" นักบริหารเงิน กล่าว

*ปัจจัยสำคัญ

  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 113.55 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0643 ดอลลาร์/ยูโร
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.0595 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0643 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.0660 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (13-17 ก.พ.) ที่ 35.00-35.20 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาสัญญาณเกี่ยวกับนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ ตัวเลข
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือนธ.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาค
อุตสาหกรรมการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนม.ค. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ดัชนีกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเด
ลเฟีย และเฟดสาขานิวยอร์กเดือนก.พ. นอกจากนี้ นักลงทุนอาจรอติดตามตัวเลขจีดีพีของยุโรปและญี่ปุ่น รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อของ
อังกฤษด้วยเช่นกัน
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ( 13-17 ก.พ.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.90-35.20
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ต้องจับตาการเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะกับ ปธน.ทรัมป์ในวันที่ 10 ก.พ.ที่กรุงวอชิงตัน
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการค้าระหว่างสองประเทศ การลงทุนในสหรัฐฯ และค่าเงิน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานการให้บริการบัตรเครดิตของระบบในสิ้นเดือน ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา
พบว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 4.22 หมื่นล้านบาท หรือ 28.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจาก 1.47 แสน
ล้านบาท เป็น 1.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นตามมาตรการช็อปช่วยชาติได้ลดภาษี หนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล บวกกับเป็น
เทศกาลส่งท้ายปีใหม่ที่มีการจับจ่ายใช้สอยสูงตามฤดูกาลอยู่แล้ว
  • พาณิชย์คาดเศรษฐกิจไทยปีไก่โต 3-4% จากแรงหนุนลงทุนรัฐ ส่งออกฟื้น บริโภคในประเทศกระเตื้อง เร่งดันมูลค่า
ส่งออกขยายตัว 2.5-3.5% ดึงบิ๊กธุรกิจร่วมแผนเจาะตลาดรายภูมิภาค 7 โซน ยันลุยทันที และต่อเนื่องตลอดปี
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของเฟดสาขาดัลลัสว่า
เฟดควรรีบขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ เพื่อให้ในอนาคตนั้นสามารถลดการผ่อนคลายนโยบายได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป แทนที่จะขึ้นดอกเบี้ยครั้ง
ละมากๆ ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อตลาด
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13
ก.พ.) ด้วยแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุน ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้ให้คำมั่นว่าจะประกาศ
แผนปรับลดภาษีครั้งใหญ่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 113.63 เยน จากระดับ
113.50 เยน ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0601 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0628 ดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่
ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดติดต่อกัน 3 วันทำการ นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่
นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 14-
15 ก.พ.นี้ โดยคาดว่าอาจจะมีการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป
  • ตลาดการเงินทั่วโลกต่างจับตานางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงนโยบายการ
เงินต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภา ในวันที่ 14-15 ก.พ.นี้ โดยนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่า ถ้อยแถลงของ
ประธานเฟดในครั้งนี้อาจจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป หลังจากที่คณะกรรมการเฟดได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์
เงินเฟ้อในการประชุมเดือนก.พ.
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม.ค., ดัชนีตลาด
ที่อยู่อาศัยเดือนก.พ. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้
กำลังการผลิตเดือนม.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนเดือนธ.ค., ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนม.
ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนม.ค.โดย Conference Board

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ