ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.29 คาดระหว่างวันเคลื่อนไหวกรอบแคบที่ 35.25-35.33 รอดูผลประชุมเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 15, 2017 09:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.29 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.30/32 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดการเงินโลกรอผลการประชุม FOMC คืนนี้ ยังไม่มีปัจจัยอื่น คาดว่าระหว่างวันของวันนี้ก็น่าจะแกว่งแคบ" นัก
บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ 35.25-35.33 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.78 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิดที่ระดับ 115.07/10 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0613 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ปิดที่ระดับ 1.0639/0640 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.3130 บาท/
  • รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอ็ม) ได้
สรุปผลการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 60 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะสั้นถึงระยะ
ปานกลาง โดยการใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นใน
ระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนในระยะต่อไป
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้ไม่น่ากังวล คาดว่า
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) โลกน่าจะเติบโตดีขึ้นจาก 2.3% ในปีที่แล้วเพิ่มเป็น 2.7% และเศรษฐกิจสหรัฐจาก 1.6%
เพิ่มเป็น 2.2% ส่วนจีนอาจจะโตลดลงบ้างแต่ยังสูงที่ 6.2% จากการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของโลก ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับ
ขึ้น โดยราคาน้ำมันคาดว่าจะปรับจาก 43 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ในปีที่แล้วเป็น 53 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในปีนี้ ทำให้เงินเฟ้อให้
ขยับขึ้น ดังนั้นอาจจะทำเห็นอัตราดอกเบี้ยไทยปรับขึ้นสัก 1 ครั้ง ที่ 0.25% ก็เป็นได้ จากเดิมที่คาดว่าไม่น่าจะขึ้นเลย
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศในตลาดเกิดใหม่จะยังคงเป็นตัวจักรสำคัญใน
การผลักดันแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง โดยเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนมากกว่า 75% ของการขยายตัวของจีดีพี
ระดับโลกในปีนี้

IMF ยังเปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกกำลังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวในเชิงบวกที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ได้เตือนว่า นโยบายที่ ให้ความสนใจแต่เพียงภายในประเทศ และสภาวะทางการเงินในระดับโลกที่มีการตึงตัวอย่างมาก จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัว

  • นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า ในเวลาอีกเพียงไม่กี่วัน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะ
ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการนำอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการ

ทันทีที่ร่างกฎหมาย Brexit ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีก็จะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมาย พร้อมกับเปิดทางให้มีการประกาศใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอนของสหภาพ ยุโรป (EU) เพื่อเริ่มต้นกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูง
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.1% แต่ต่ำกว่าระดับ 0.6% ของเดือนม.ค.
  • สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) แถลงในวันนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมขยับขึ้น 0.2 จุด สู่
ระดับ 93.8 ในเดือนก.พ.
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14
มี.ค.) ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงินซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน และจะสิ้นสุดลงในวันนี้ตาม
เวลาในสหรัฐ

โดยยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0620 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0658 ดอลลาร์ และดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 114.66 เยน จากระดับ 114.80 เยน

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) หลังจากมีกระแสคาดการณ์เป็นวงกว้างว่า ธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์
ยังสร้างแรงกดดันต่อภาวะการซื้อขายในตลาดทองคำด้วย
  • นักลงทุนยังจับตาเหตุการณ์อื่นๆที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง การเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ในวันนี้, การประชุมของ
ธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพุธและพฤหัสบดี รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G20 ในวันศุกร์และเสาร์นี้

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ตลาดจับตาในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.พ., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลข การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. และ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ