ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.07 แกว่งแคบ-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 36.95-37.20

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 23, 2024 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 37.07 บาท/ดอลลาร์ เท่ากับช่วง เปิดตลาดเมื่อเช้า

โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.99 - 37.09 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ ตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะที่มีกระแส เงินทุนต่างประเทศไหลออกจากการนำเข้าทองคำ หลังราคาทองในตลาดโลกปรับตัวลดลงมามาก

"บาทกลับมาปิดตลาดที่ระดับเดิม เคลื่อนไหวไปตาม Flow จากการนำเข้าทอง" นักบริหารเงินฯ กล่าว

นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.95-37.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 154.81 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 154.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0661 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0656 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,357.46 จุด เพิ่มขึ้น 7.94 จุด, +0.59% มูลค่าซื้อขาย 46,622.77 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,219.46 ล้านบาท
  • นายกรัฐมนตรี เชิญผู้บริหารธนาคาร 4 แห่ง คือ กสิกรไทย กรุงเทพ กรุงไทย และไทยพาณิชย์ ถกปัญหาเศรษฐกิจทั่วไป
พร้อมทั้งขอให้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โดยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า จากการหารือ
เบื้องต้นได้รับฟีดแบ็คค่อนข้างดี
  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เผยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 เม.ย.67 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแล้ว 11.29
ล้านคน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 544,861 ล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก
ได้แก่ จีน (2,152,167 คน) มาเลเซีย (1,466,837 คน) รัสเซีย (727,351 คน) เกาหลีใต้ (643,412 คน) และอินเดีย
(587,282 คน)
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงไตรมาส 1 ปี 67 (ม.ค.-มี.ค.67) หดตัว 4.1%
จากช่วงเดียวกันของปี 66 แต่มั่นใจทั้งปีจะเติบโตเพิ่มขึ้น 0.7-1.7% จากปีก่อน
  • รมว.คลังญี่ปุ่น เผยญี่ปุ่นจะใช้มาตรการที่เหมาะสมในการรับมือกับตลาดปริวรรตเงินตราที่มีความผันผวนมากเกินไป โดยจะ
ไม่ตัดทางเลือกใดๆ ในการใช้มาตรการดังกล่าว ขณะที่เงินเยนยังคงอ่อนค่าและเคลื่อนตัวเข้าใกล้ระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 155 เยน/
ดอลลาร์
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและการผลิตขั้นต้นของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือน เม.ย.
จากระดับ 50.3 ในเดือน มี.ค. ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ และอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
  • HSBC เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของอินเดียอยู่ที่ระดับ 62.2 ในเดือน เม.ย.
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขขั้นสุดท้ายเดือน มี.ค.ที่ระดับ 61.8
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและ

ภาคบริการขั้นต้นเดือนเม.ย., ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย

สัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2567 (ประมาณการเบื้องต้น), ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย

(Pending Home Sales) เดือนมี.ค. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้

บริโภคขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ