รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 21, 2011 12:17 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 กันยายน 2554

Summary:

1. ครม.ไฟเขียวปรับเงินเดือนขั้นต่าขรก.- ลูกจ้างรัฐ 1.5 หมื่นบาท มีผล 1 ม.ค. 55

2. ครม.เห็นชอบมาตรการบ้านหลังแรก

3. การเงินโลกระทึก เอสแอนด์พีหั่นเรตติ้งอิตาลี

Highlight:
1. ครม.ไฟเขียวปรับเงินเดือนขั้นต่าขรก.- ลูกจ้างรัฐ 1.5 หมื่นบาท มีผล 1 ม.ค. 55
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าครองชีพสาหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐที่มีเงินเดือนไม่ถึง 1.5 หมื่นบาท ให้ได้รับเงินเดือนขั้นต่า 1.5 หมื่นบาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 ซึ่งการปรับเพิ่มเงินครั้งนี้ จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 18,396 ล้านบาท รวมทั้งคาดว่าในปีต่อไปจะใช้งบประมาณเพิ่มเป็น 2.45 หมื่นล้านบาท การปรับเพิ่มเงินเดือนครั้งนี้ครอบคลุมบุคลากรภาครัฐ 5 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจา ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ ทหารกองประจาการ ครอบคลุมประมาณ 6.49 แสนคน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ จะทาให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาสที่ 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.8 แต่อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อของประชาชนที่คาดว่าจะสูงขึ้น จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกาลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของระดับเงินเดือนข้าราชการใหม่โดยอัตราเงินเฟ้อในด้านอุปสงค์จะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 54 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 54 จะปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 — 4.8 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือนมิ.ย.54) และจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ก.ย.54
2. ครม.เห็นชอบมาตรการบ้านหลังแรก
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เห็นชอบมาตรการภาษีบ้านหลังแรกแล้ว โดยกาหนดราคาซื้อบ้านหลังละไม่เกิน 5 ล้านบาท นามาขอทยอยคืนเงินในการคานวณภาษี 10% ภายใน 5 ปี หรือไม่เกิน 5 แสนบาท โดยจะมีการเริ่มมาตรการนี้ ตั้งแต่ 22 ก.ย.54-31 ธ.ค.55 โดยคาดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้ปีละ 1.7 พันล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลวางเงื่อนไขการซื้อบ้านที่ได้รับสิทธิ จากมาตรการนี้ จะต้องเป็นบ้านใหม่ ไม่ใช่บ้านมือสอง หรือบ้านสร้างเอง โดยขณะนี้มีบ้านในสต็อคที่เข้าข่ายได้รับประโยชน์ประมาณ 9 หมื่นยูนิต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ครม. มีมติมาตรการภาษีบ้านหลังแรก ประกอบกับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายสนับสนุนให้คนไทยมีบ้านหลังแรก ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 คงที่ 5 ปี นั้น จะส่งผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัดส่วนร้อยละ 15.7 ของ GDP และสาขาอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนร้อยละ 3.9 ในปี 53 จะขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในปี 54 ทั้งนี้ การจดทะเบียนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลขยายตัวเพิ่มขึ้น ปัจจุบันจานวนผู้จดทะเบียนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเดือนมิ.ย. 54 มีจานวน 8,243 หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่มีจานวน 8,209 หน่วย
3. การเงินโลกระทึก เอสแอนด์พีหั่นเรตติ้งอิตาลี
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สาธารณะของอิตาลี จากระดับ A+/A-1+ ไปอยู่ที่ระดับ A/A1 เนื่องจากความอ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการเมือง รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศที่มีจานวนเล็กน้อยที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิตาลี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อิตาลีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มยูโรโซน แต่ก็ยังเป็นอีกหนึ่งประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ประสบปัญหาด้านฐานะการคลังและต้องเผชิญปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยข้อมูลในปี 53 อิตาลีขาดดุลงบประมาณร้อยละ -4.6 ต่อ GDP และหนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ 120 ต่อ GDP ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเป็นอันดับ 2 รองจากกรีซ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลอิตาลีได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศสามารถใช้งบประมาณแบบสมดุลได้ในปี 56 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลีก็ยังถือว่าขยายตัวได้ดี และจะมีส่วนช่วยสนันสนุนให้รัฐบาลอิตาลีสามารถสร้างฐานะการคลังของประเทศให้เข้มแข็งขึ้นได้ โดยล่าสุด อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปในขณะนี้ก็ยังคงทาให้ต้องติดตามเศรษฐกิจของอิตาลีอย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ