ประเด็นด่วนวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 29, 2012 15:37 —กระทรวงการคลัง

ประเด็นด่วน:

สเปนใกล้เข้าสู่วิกฤติ หลัง Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารสเปน 16 แห่ง

  • เมื่อคืนวันที่ 17 พค.55 (ตี 4 ประเทศไทย) Moody’s ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสเปน 16 แห่ง ซึ่งอาจจุดชนวนให้รัฐบาลสเปนอำจต้องขอรับควำมช่วยเหลือจำก ECB/EU/IMF (Troika) เช่นเดียวกับประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ที่ขอรับความช่วยเหลือไปก่อนหน้ำนี้
  • สาเหตุหลักที่ Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ คือ สถานการณ์เศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอย Recession ในสเปน จะทำให้หนี้เสียในธนำคำรสูงขึ้น และฐานะการคลังของรัฐบำลที่อ่อนแอจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มทุนธนำคำรในสเปนได้พอเพียง ประกอบกับตลาดการเงินที่เริ่มตึงตัวมีโอกาสทำให้ธนาคารสเปนขำดสภำพคล่องได้โดยง่ำย
  • สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าการปรับลดความน่าเชื่อถือของ Moody’s ดังกล่าว จะยิ่งทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยกู้ให้รัฐบาลสเปน และจะยิ่งส่งผลให้ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลสเปนสูงขึ้น โดยขณะนี้ต้นทุนการกู้เงินของพันธบัตรระยะ 10 ปี ของรัฐบาลได้สูงเกินกว่ำ 6% (ซึ่งเป็นระดับ Trigger ที่ กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ต้องขอกู้จาก IMF/EU/ECB กลำยเป็นวิกฤติเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ)
  • นอกจากนี้ ช่วงห่างระหว่างดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสเปนระยะ 10 ปี กับดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี (ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย Safe Haven ของยุโรป) ขณะนี้อยู่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อตั้งยูโรโซนที่ 494 basis point
  • สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ คือ

ระยะสั้น: ผลกระทบด้านการเงินผ่านความผันผวนของตลาดเงินในตลาดทุนในตลาดโลก ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติถอนการลงทุนออกจำกประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรสหรัฐ และพันธบัตรเยอรมนีในระยะสั้น (ขณะนี้ เวลาตี 1 ในสหราชอาณาจักรที่ตลาดเงินในญี่ปุ่นเริ่มเปิดทำการ ตลาด Nekkei ในญี่ป่น ได้ตกลงทันที่เกือบ 2%)

ระยะปำนกลาง: ผลกระทบด้ำนความเสี่ยงในการล้มละลำยของคู่ค้ำสถำบันกำรเงินในต่างประเทศ (Counterparty Risk) ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องตึงตัวทั่วโลก และอาจส่งผลให้สภาพคล่องในไทยตึงตัวในระยะสั้น (แต่เชื่อว่าสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่เกือบ 3 ล้านล้านบาท จะสามารถรองรับสภาพคล่องตึงตัวได้ในระดับหนึ่ง)

ระยะยำว: ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง โดยวิกฤติธนาคาร (Banking Crisis) ในยุโรปที่รุนแรงขึ้น จะนำไปสู่วิกฤติสภาพคล่อง (Liquidity Crisis) และธนาคารที่ประสบปัญหาจะยิ่งระงับการปล่อยสินเชื่อให้ภาคเศรษฐกิจจริง ทำให้เศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น (Economic Crisis)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665: www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ