รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 14 มีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 14, 2013 11:57 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 14 มีนาคม 2556

Summary:

1. ธปท.ไม่กังวลเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 28 เดือน ชี้ปัจจัยเงินทุนไหลเข้า

2. ภาคเอกชนลุ้นรัฐบาล เลื่อนเปิด AEC

3. OPEC คาดอุปสงค์น้ามันในตลาดโลกในปี 56 ลดลง

Highlight:

1. ธปท.ไม่กังวลเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 28 เดือน ชี้ปัจจัยเงินทุนไหลเข้า
  • ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าสุดในรอบ 28 เดือนเมื่อวานนี้อยู่ที่ 29.57 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากเงินทุนต่างประเทศที่ไทยเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และมีโอกาสได้รับการปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ จึงจูงใจให้เข้ามาลงทุน ทั้งนี้ ค่าเงินบาท มีการเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง ซึ่งได้รายงานภาวะตลาดให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รับทราบแล้ว แต่ยืนยันว่ายังไม่จาเป็นต้องเรียกประชุม กนง. เร่งด่วน ซึ่ง ธปท.ยังคงติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดและดูแลให้สอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เงินบาทแข็งตัวและมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากแรงขาย USD เริ่มต้นจากผู้เล่น Offshore ตาม Sentiment โลกที่เป็น Risk-on ในช่วงท้ายตลาดข้ามคืน กอปรกับการเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตร หลังประเทศไทยได้รับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นจาก Fitch โดยเมื่อเงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 29.70 บาท ทาให้เกิดแรงขาย USD เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าเงินบาทไม่น่าจะหลุดระดับ 29.70 บาท แต่อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนักเพราะมีการดึงการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การแข็งตัวของค่าเงินบาทเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินยูโรและหยวน ทั้งนี้ สศค.คาดการณ์ว่าอัตราค่าเงินบาทในปี 56 จะอยู่ที่ประมาณ 30.70 บาท/ดอลลาร์ (29.70-31.70)
2. ภาคเอกชนลุ้นรัฐบาล เลื่อนเปิด AEC
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสารวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ 13 ประเภทธุรกิจว่า ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) ถึงร้อยละ 95.6 เห็นด้วยที่จะให้เลื่อนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จากวันที่ 1 ม.ค. 58 เป็นวันที่ 31 ธ.ค.58 โดยผลสารวจด้านความพร้อมของภาคการผลิตและภาคบริการ พบว่า ในปี 55 ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 94.7 มีความพร้อมแล้ว แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความพร้อมมีเพียงร้อยละ 43.2 โดยมีเพียงธุรกิจบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ธุรกิจการเงิน ธุรกิจภัตตาคารและโรงแรม รวมถึงธุรกิจขนส่ง ที่มีความพร้อมในการแข่งขัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลดีทั้งทางด้านการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่ทาให้เกิดการขยายตัวของตลาดภายในภูมิภาคมากขึ้น เนื่องจากตลาดอาเซียนจะมีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน โดยกระทรวงการคลังได้มีมาตรการสาคัญ เช่น (1) การเร่งรัดพัฒนาระบบการให้บริการศุลกากรเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window) (2) พัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเชื่อมโยงกับตลาดทุนอาเซียน และ (3) การผลักดันให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพไปลงทุนต่างประเทศ โดยการส่งเสริมการลงทุน/ทาธุรกิจในต่างประเทศ (Outward FDI และ Portfolio) และการเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ASEAN Exchange Linkage ทั้งนี้ การเลื่อนเปิด AEC ออกไป จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจหลักของประเทศไทย มีเวลาในการเตรียมความพร้อมมากขึ้นก่อนเปิด AEC อย่างไรก็ดี รัฐบาลจะมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษา รวมถึงการสนับสนุนเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะ SMEs
3. OPEC คาดอุปสงค์น้ามันในตลาดโลกในปี 56 ลดลง
  • ผู้ผลิตกลุ่ม OPEC คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ามันในตลาดโลกในปี 56 มีแนวโน้มลดลงจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซนที่อาจถดถอยและกระทบถึงบางประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดงบประมาณ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ามันในตลาดโลกลดลง ทั้งนี้ OPEC คาดว่าการบริโภคน้ามันทั่วโลกจะขยายตัว 840,000 บาร์เรลต่อวัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเป็นลาดับ เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ เครื่องชี้ด้านการผลิตมีสัญญาณดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) ในเดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับ 54.2 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 20 เดือน ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) อยู่ที่ระดับ 56.0 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 1 ปี บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) เศรษฐกิจจีน เครื่องชี้ด้านการผลิตมีสัญญาณดีขึ้นเช่นเดียวกัน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (จัดทาโดย NBS และ HSBC) ในเดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับ 50.1 และ 50.4 จุด ตามลาดับ ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการอยู่ที่ระดับ 54.5 และ 52.1 จุด ตามลาดับ บ่งชี้ถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมจีน นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์น้ามันในตลาดโลกในปี 56 อยู่ที่ 90.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่อยู่ที่ 89.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ราคาน้ามันดิบดูไบในปี 56 อยู่ที่ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีช่วงคาดการณ์108.0-118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 55)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ