รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 4 ตุลาคม 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 7, 2019 14:48 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.32 ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.44 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 62 เกินดุล 3,990.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 62 อยู่ที่เป็นร้อยละ 41.3 ของ GDP
  • GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย. 62 สูงขึ้นร้อยละ 0.32 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้ากลุ่มอาหารสดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวร้อยละ 5.11 ตามการสูงขึ้นของ ข้าวสาร เนื้อสุกร ผักและผลไม้ เป็นสำคัญ ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานยังคงเป็นปัจจัยลบ โดยลดลงร้อยละ -6.39 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.44 ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. - ก.ย. 62) สูงขึ้น ร้อยละ 0.81

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 62 เกินดุล 3,990.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,768.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นที่ 3,583.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลที่ 407.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62 เกินดุลรวม 25,148.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 62 มียอดคงค้าง 18.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 2.8 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 62 มียอดคงค้าง 20.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.4 ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

Economic Indicators: This Week

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 62 เท่ากับ 105.9 หดตัวร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวร้อยละ -14.6 ต่อปี ตามราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับลดลงและราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวลงจากปีก่อน ประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศลดลง สะท้อนจากยอดขายเหล็กในประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์ซีเมนต์หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี จากความต้องการลดลง สอดคล้องกับยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ทำให้ในช่วงไตรมาสที่ 3 และช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -2.4 และ -0.8 ต่อปีตามลำดับ

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผล ทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -4.3 ขณะที่เขต กทม. ที่ร้อยละ 0.3 อย่างไรก็ดี ปริมาณรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 62 ยังขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 หลังขจัดผลทางฤดูกาล ยังขยายตัวที่ร้อยละ 6.9

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 62 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,915.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.3 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 6,915.3 พันล้านบาท ทั้งนี้สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 90.3 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 96.8 ของยอดหนี้สาธารณะ

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.1 จุด จากสินค้าคงคลังและการผลิตที่ลดลงเป็นสำคัญ และดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด จากการสั่งสินค้าใหม่และกิจกรรมเชิงธุรกิจที่ลดลงเป็นสำคัญ

Japan: worsening economic trend

ระดับอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากผลผลิตหมวดเครื่องจักรไฟฟ้าและเหล็กเป็นสำคัญ ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและของใช้ในครัวเรือนกลับมาขยายตัวเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 35.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 37.2 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี

Eurozone: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.5 ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า(47 จุด) จากการหดตัวของยอดสั่งซื้อใหม่ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 51.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5 จุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.9 จุด ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ร้อยละ 2.2

Vietnam: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7

South Korea: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าหมวดอาหาร นันทนาการและการศึกษาที่หดตัวเป็นสำคัญมูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าส่งออกไปจีนและฮ่องกงหดตัวถึงร้อยละ -21.4 และ-36.7 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -5.6 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 48.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีย่อยหมวดความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยยอดขายหมวดอาหารและเครื่องสำอางที่ขยายตัวเร่งขึ้น ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตหมวดการเกษตรเป็นสำคัญ

Australia: improving economic trend

ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5.93 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

UK: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากไตรมาสก่อน ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 48.3 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 49.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Taiwan: mixed signal

ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.9 จุด โดยดัชนีหมวดย่อยยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และการผลิตหดตัวในลดลง

China: worsening economic trend

ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 50.40 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.90 จุด สะท้อนถึงการขยายตัวของอุตสาหกกรรมภาคการผลิต

Hong Kong: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -23.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าเครื่องนุ่งห่มหดตัวในระดับสูง ดัชนี PMI รวม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 41.5 จุด จากระดับ 40.8 จุดในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงอุตสาหกรรมที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ดัชนีหมวดย่อยธุรกิจใหม่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง

Asean -5

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 49.1จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่งสัญญาณว่าสภาวะของภาคการผลิตในอาเซียนปรับตัวลดลงในระดับเล็กน้อยในอัตราที่ชะลอลง โดยฟิลลิปปินส์ เวียดนาม และสิงคโปร์ลดระดับลงจากเดือนก่อนหน้า

Indonesia: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน จากราคาสิรค้าหมวดเสื้อผ้า และอาหารที่ลดลง

Malaysia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของมูลค่าการส่งออกเครื่องจักร มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอลงของการนำเข้าแร่เชื้อเพลิง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์

Philippines: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 62 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันลดลง

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น CSI300 (จีน) KOSPI (เกาหลีใต้) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 3 ต.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,610.69 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 62 ที่ 41,150 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 10-11 ต.ค. 62 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -4,871 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้น 0-2 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะยาวปรับลดลง 0-4 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -2,159 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3 ต.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.08 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ เช่น เงินเยน ยูโร ริงกิต และวอน ขณะที่เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.05

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ