รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 2 เม.ย. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 7, 2021 13:20 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ. 64 หดตัวร้อยละ คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว-1.1 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -18.1 ต่อปี

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -22.8 ต่อปี

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน -61,170 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 53.2 ของ GDP

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 4 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

          \ช   Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ. 64 หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล ทั้งนี้ การหดตัวของดัชนี MPI ในเดือน ก.พ. 64 เป็นผลมาจากการหดตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่อง แต่งกาย  อุตสาหกรรมมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ที่หดตัวร้อยละ -33.3 -26.2 และ -18.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่สำคัญที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ และ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 19.9 16.4 และ 16.3 ต่อปี ตามลำดับปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี แต่หดตัวร้อยละ -2.7 เทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยมีปัจจัยมาจากเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 35.6 และ 7.0 ต่อปี ตามลำดับ ขยายตัวสอดคล้องกับภาคการผลิตที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ดี เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางการก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่  ในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -18.1 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่   ร้อยละ -4.0 โดยหดตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากใช้จ่ายภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -35.5   ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนถูกเลื่อนไปชำระในเดือน มี.ค. 64 และการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภคขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 21.6 ต่อปี สอดคล้องกับทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ขยายตัว ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน     ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล เป็นการขยายตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 62 โดยการจัดเก็บภาษีขยายตัวในทุกหมวดการจัดเก็บ โดยเฉพาะในหมวดการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (บุคคลธรรมดา) ที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี โดยการระบาดรอบใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ถือว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกัน สถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มดีขึ้น จากการทยอยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงจูงใจผู้บริโภค จากการที่บริษัทผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย รวมถึงการออกมาตรการทางภาษีของรัฐบาล ช่วยให้ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น  Economic Indicators: This Week การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 181,450 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 40.2 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 165,296 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.0 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 39.3 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 141,785 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -12.4 ต่อปี  คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 44.7 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 23,511 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 241.0  ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 17.4 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 16,154 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -8.7  ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 52.9 ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)   ในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 ได้ 132,801 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.8 ต่อปี โดยหดตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่ม หดตัวร้อยละ -18.9 ต่อปี ภาษีเงินได้นิติบุคคล หดตัว ร้อยละ -38.9 ต่อปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หดตัว   ร้อยละ -18.0 ต่อปี จากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด       ในเดือน ก.พ. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -61,170 ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 46,190 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาล มีการกู้เงิน 20,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้เกินดุล 66,190 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 64  อยู่ที่ 516,229 ล้านบาท   Economic Indicators: This Week หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,421,958 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 53.2 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 226,884 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า กรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว  โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 84.5 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.3  ของยอดหนี้สาธารณะปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน     มี.ค. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นตัวจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัว    ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง   อย่างไรก็ดี ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยในเดือนถัดไปจะมีการกระตุ้นยอดขายจากกิจกรรมส่งเสริมการขายในงาน Motor Show ซึ่งต้องติดตามว่าจะส่งผลให้ตลาดรถจักรยานยนต์กลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องได้หรือไม่  Global Economic Indicators: This Week

US ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน (ขจัดผลทางฤดูการแล้ว) พบว่า ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากดัชนีราคาบ้านในเขต East, South, Central ที่หดตัวลงเป็นสำคัญ ขณะที่ ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากเทียบเป็นรายเดือนพบว่า ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือน ก.พ. 64 ลดลงร้อยละ -10.6 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากราคาบ้านที่พุ่งขึ้น และจำนวนสต็อกบ้านที่ลดลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 64.7 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 26 สะท้อนภาคการผลิตที่ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ทำให้อุปกรณ์และชิ้นส่วนการผลิตมีจำกัดChina ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน มี.ค. 64 (NBS) อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน สอดคล้องกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (NBS) เดือน มี.ค. 64 ที่ขยายตัวที่ระดับ 56.3 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ซึ่งเป็นผลจากการที่โรงงานในประเทศจีนได้เร่งการผลิต หลังจากหยุดพักไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ระดับ 50.6 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลง Japan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 หดตัวลงร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า ขณะที่ อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.7 จุด จาก 51.4 จุด ในเดือน ก.พ. 64 การเพิ่มสูงขึ้นของ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตและความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความคาดหวังว่าวัคซีน โควิด-19 จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้

.EU ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ -10.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -14.8 จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -10.8 จุด อัตราเงินเฟ้อ (เบื้องต้น) เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ถือเป็นเดือนที่ 3 ที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาขยายตัว และขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 63

          \ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 62.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 57.9 จุด แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งในยูโรโซน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในยูโรโซนและอุปสงค์โลก Hong Kong ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 24 เดือน และขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 48 เป็นผลจากการอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับการมีฐานต่ำ เมื่อปีก่อนจากโควิด-19 อย่างไรก็ดี การค้าปลีกของฮ่องกงในระยะนี้ยังคงต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากจากภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่สามารถเปิดได้อย่างเต็มที่ Vietnam GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากไตรมาสก่อนหน้าขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด ปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -8.3 จากสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ รวมถึงยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าและบริการในหมวดที่พัก อาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.16 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากราคาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญ Australia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 56.8 จุด เนื่องจากปัญหาด้านปัจจัยการผลิต และความล่าช้าในการขนส่ง ทั้งนี้ การผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่คงที่ Malaysia มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 64 เกินดุลที่ 17.9 พันล้านริงกิตมาเลเซีย ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.7 จุดIndonesia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ขณะที่อัตรา      เงินเฟ้อเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.38 จากราคา      เสื้อผ้าและรองเท้าเป็นสำคัญUK GDP ไตรมาสที่ 4/63 หดตัวในอัตราชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากการลดลงของภาคการลงทุน การส่งออก และการใช้จ่ายภาคคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 58.9 จุด จาก 55.10 จุด ในเดือน ก.พ. 64 โดยได้รับปัจัยยสนับสนุนมาจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นผลทำให้ผลผลิตจากภาคการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 63  Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ      ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) STI (สิงคโปร์) และ PSEi (ฟิลิปินส์) เป็นต้น โดยดัชนี SET ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นและช่วงท้ายของสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 64 ปิดที่ระดับ 1,595.12 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 64 ที่ 81,973.08 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 4,580.31 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น-ระยะกลาง โดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง 0 ถึง -2 bps ขณะที่ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0 ถึง 8 bps โดยในสัปดาห์นี้ ไม่มี    นักลงทุนเข้าร่วมการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,285.08 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,645.31 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1 เม.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.60 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน  ยูโร ริงกิต และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.18 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ