รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 10 - 14 พ.ค. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 18, 2021 14:00 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

Executive Summary Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเม.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84.3 จากระดับ 87.3 ในร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเดือนก่อน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

          ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน        เม.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน

GDP มาเลเซีย ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

 Fiscal Policy Office      For 10 10 -  Economic Indicators: This Week ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน      เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84.3 จากระดับ 87.3 ในเดือนก่อนเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูงและขยายวงกว้างกว่าการระบาด 2 ครั้งแรก ประกอบกับ
          TISI วันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลง ส่งผลให้ดัชนีฯ ลดลงในทุกองค์ประกอบหลัก อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทมีทิศทาง          อ่อนค่าลง ประกอบกับการออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่ของรัฐบาล ที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน เม.ย. 64 หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่ในปีที่ผ่านมาไม่มีวันหยุดสงกรานต์เมื่อเทียบกับปีนี้ทำให้เกิดผลของฐานที่ไม่ปกติ อย่างไรก็ตาม จากการขยายตัวเมื่อเทียบรายเดือน ผลกระทบจากโควิดรอบใหม่อาจส่งผลต่อการก่อสร้างได้ไม่มากนัก รวมถึงปัจจัยเสริมจากการเร่งก่อสร้างภาครัฐที่จะช่วยให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่สะท้อนภาคการก่อสร้างกลับมาขยายตัวได้ในระยะถัดไป ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์     สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนมี.ค. 64 อยู่ที่ 5.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์   สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Global Economic Indicators: This Week

US อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ต.ค. 63 และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 51 จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังเปิดเศรษฐกิจ ขณะที่ ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเชื้อเพลิง อย่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตา และรถและรถบรรทุกมือสอง รวมถึงเป็นผลจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงในปี 63 ที่ส่งผลให้มีฐานต่ำ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (2-8 พ.ค. 64) ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 4.73 แสนราย ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อเดือน มี.ค. 63 อย่างไรก็ดี ยังคงเป็นจำนวนที่สูงกว่าระดับ 2.3 แสนราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ China อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 63 เป็นผลจากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มอุปโภคเป็นสำคัญ เช่น การขนส่งและการติดต่อสื่อสาร เสื้อผ้า ค่าเช่า เชื้อเพลิง และพลังงาน เป็นต้น Japan ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.5 จุด จาก 48.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น Eurozone ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พลิกกลับมาขยายตัวจากที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.8 ในเดือน ก.พ. 64 อย่างไรก็ตาม ขยายตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.6

.Malaysia GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

          \ Philippines GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) และธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี Indonesia ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 101.5 จุด สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 India ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 22.4  เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการเพิ่มกำลังการผลิตในหมวดอุตสาหกรรมเหล็ก เคมีภัณฑ์ อาหาร เวชภัณฑ์ ยานพานะ เครื่องมือเครื่องจักร เป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.29 ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากการลดลงของราคาอาหาร พืชผัก เสื้อผ้าและรองเท้า เป็นสำคัญ การส่งออก เดือน เม.ย. 64          มีมูลค่า 30.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 45.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน เม.ย. 64 ขาดดุล -15.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 South Korea อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย.64 อยู่ที่ร้อยละ 3.7  ลดลงจากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อนหน้า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน     เม.ย. 64 ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 0.5  เพื่อมุ่งหวังกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ UK ผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของการบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 และ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรัฐบาลเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19
 Weekly Financial Indicators  ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น DAX (เยอรมนี) FTSE100 (สหราชอาณาจักร) และ S&P/ASX 200 (ออสเตรเลีย) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วง      ปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,548.13 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10 - 13 พ.ค. 64 อยู่ที่ 118,774.35 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10 - 13 พ.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -10,970.83 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 15 ปีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0-3 bps และอายุ 15 ปี    ขึ้นไปปรับตัวลดลงในช่วง 0 ถึง -3 bps โดยในสัปดาห์นี้  นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11 ปี และมีนักลงทุนสนใจ 2.64 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 10 - 13 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,461.75 ล้านบาท และหากนับจาก  ต้นปีจนถึงวันที่ 13 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 41,026.24 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 13 พ.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 31.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.42 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลเยน ริงกิต และวอน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.59 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ