รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 8 เม.ย. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 18, 2022 15:09 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี เช่นเดียวกันกับ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี

? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน

? ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -8.6

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.0

จากระดับ 43.3 ในเดือนก่อน

? ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน มี.ค. 65 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 89.2

จากระดับ 86.7 ในเดือนก่อน

ภาคการเงิน

? ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 65 ขาดดุลที่ -651.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

? สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปี

ก่อน เช่นเดียวกันกับเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ

5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

3

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 จากราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน

ยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น น้ามัน ถ่านหิน และเหล็ก ส่งผลให้ดัชนีฯ ทุกหมวดขยายตัว โดยเฉพาะหมวดสินค้า

ส้าคัญอย่างหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และซีเมนต์ ขยายตัวในเดือน มี.ค. 65

ร้อยละ 19.8, 6.0 และ 5.6 ต่อปี ตามล้าดับ (ทั้ง 3 หมวดคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 53) กระทบต่อต้นทุน

การผลิตและขนส่งสินค้าวัสดุก่อสร้างให้เพิ่มขึ้น

Construction Materials Price Index : CMI

8.6

-5

0

5

10

15

90

100

110

120

130

Index Index %YoY %YoY

Indicators

(%yoy)

2021 2022

Q4 ทั้งปี Q1 Feb Mar YTD

ดัชนีราคาวัสดุ

ก่อสร้าง

9.7 8.0 7.2 6.7 8.6 7.2

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.73 ต่อปี

สาเหตุส้าคัญจากราคาพลังงานตลาดโลก ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคา

ขายปลีกน้ามันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.43 อีกทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ปรับตัวสูงขึ้น เช่นกัน โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด อาทิ มะนาว ผักกาดขาว ผักชี เนื้อสุกร และ

ไก่สด เป็นต้น อย่างไรก็ดี สินค้ากลุ่มอาหารโดยเฉพาะข้าวและเนื้อสัตว์ราคาลดลง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารและ

อาหารส้าเร็จรูปราคาสูงขึ้นในอัตราที่ลดลง ขณะที่ราคาสินค้าและบริการอื่นยังคงปกติ สอดคล้องกับ

ความต้องการบริโภคของประชาชน ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสด และพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ

2.00 และไตรมาสแรกของปี 65 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ

1.43 ต่อปี

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 65 ขาดดุลที่ -651.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือน

ก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -2,204.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างมีนัยส้าคัญมาอยู่ที่ 3,391.3

ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ -4,043.2

ล้านดอลลาร์สหรัฐ

4

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 65 มี

ยอดคงค้าง 19.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการ

ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 65 มี

ยอดคงค้าง 23.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการ

ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน

หน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการ

ขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่

ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่

สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวคงที่ที่ร้อยละ

3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึ้น

ที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจาก

ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.3 จาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ เงินฝากจากสถาบัน

การเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.5 จาก

ช่วงเดียวกันปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

5

ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -8.6 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -9.6

กลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 64 โดยเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่กลับมาแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและรุนแรง ประกอบกับราคาสินค้าและค่าครองชีพ

ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยกดดัน

ก้าลังซื้อให้ฟื้นตัวได้ช้าและกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 43.3

ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต้าในรอบ 6 เดือน

โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และปัญหา

ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ามันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดัน

ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ช้าและมีแนวโน้มชะลอตัวลง และอาจส่งผลต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยใน

อนาคต นอกจากนี้ การที่ระดับราคาน้ามันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและปัญหาราคาสินค้าแพง ส่งผลให้

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

6

ดัชนี TISI เดือน มี.ค. 65 ปรับตัวสูงสุดในรอบ 25 เดือน โดยเกือบทุกองค์ประกอบของดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก

เดือนก่อนหน้า ยกเว้นต้นทุนประกอบการที่ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลาย

มาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและความต้องการ

สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต่างเร่งผลิตสินค้าเพื่อให้ส่งมอบทันก่อนช่วงเทศกาล

สงกรานต์ อย่างไรก็ดี ปัญหาต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของข้อพิพาท

ระหว่างรัสเซียและยูเครน (อาทิ อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี สินแร่สาหรับผลิตเหล็กอลูมิเนียม) ยังคงเป็นปัจจัยกดดันส้าคัญ

ของภาคการผลิตไทย ขณะที่ในระยะถัดไป ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตามอุปสงค์ที่

ฟื้นตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ

99.6 จากระดับ 97.1 ในเดือนก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่

สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน

มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 ขาดดุลที่ -8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่

ขาดดุล -10.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ 58.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน

ก่อนหน้าที่ 56.5 จุด จากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ขณะที่ปัญหาการ

ขาดแคลนแรงงานบรรเทาลง ท่ามกลางราคาต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มมากขึ้น ความท้าทายด้านการ

ขนส่งและห่วงโซ่อุปทาน ความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อสถานการณ์เงินเฟ้อ ราคา

พลังงาน และความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

จ้านวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (27 มี.ค.-2 เม.ย. 65) อยู่ที่ระดับ 1.66

แสนราย ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.02 แสนราย บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของ

ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ขณะที่จ้านวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานระยะเฉลี่ย 4 สัปดาห์

(4 week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัวลดลงจาก

สัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 1.70 แสนราย

ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 42.0 จุด ลดลงจากเดือน

ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต้าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 และบ่งชี้ถึง

การหดตัวในภาคบริการเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส

โควิด-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด

จีน

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

ยูโรโซน

ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง

จากเดือน ม.ค. 65 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี

ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

8

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

อินเดีย

ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 54.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่

อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด และเป็นระดับที่ต้าที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากกิจกรรมโรงงานเติบโตช้า

ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 64 เป็นผลจากยอดค้าสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่ชะลอตัวลง ประกอบ

กับยอดค้าสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออกที่ปรับตัวลดลง เป็นส้าคัญ

ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่

ระดับ 51.8 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตและ

อุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4 ต่อปี และคงอัตราดอกเบี้ย

reverse repo ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางใช้อ้างอิงในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร

พาณิชย์ ที่ร้อยละ 4 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ท่ามกลางแรงกดดดันด้าน

เงินเฟ้อและความตึงเครียดจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความ

รุนแรงเพิ่มขึ้น

ออสเตรเลีย

ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 จากการประชุมในเดือน

เม.ย. 65 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้กล่าวว่าถ้าหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ

2 ถึง 3 ในระยะปานกลาง ธนาคารกลางออสเตรเลียจึงจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจาก

เดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 30.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นลงจาก

เดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 เกินดุลที่ระดับ 7.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลงจากเดือน

ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 11.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

อินโดนีเซีย

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 111.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่

ที่ระดับ 113.1 จุด

สิงคโปร์

ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือน

ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน

ก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายอาหารและเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์เป็นส้าคัญ

อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของก้าลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่

อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของก้าลังแรงงานรวม

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

9

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

ฟิลิปปินส์

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 27.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 ขาดดุลที่ -3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่

ขาดดุลที่ -4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน

หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาบ้านเป็นส้าคัญ

อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ของก้าลังแรงงานรวม คงที่จากเดิมก่อนหน้า

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 92.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลผลิต

จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นเป็นส้าคัญ

เกาหลีใต้

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน

ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบประมาณ

10 ปี นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 54 โดยได้แรงหนุนจากต้นทุนพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น

อันเนื่องมาจากวิกฤตในยูเครน และเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางก่อนการประชุมการตัดสินใจ

เรื่องอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

Foreign

E xchange 7

Apr 22 1w %

chg 1m %

chg YTD %

chg Avg

2021 % chg

USD/THB

33.51

-

0.60 -

1.98 -

0.58 -

4.69

USD/JPY

123.76

-

1.74 -

7.60 -

6.93 -

12.65

EUR/USD

1.09

-

1.67 0.19

-

3.22 -

7.71

USD/MYR

4.22

-

0.34 -

0.94 -

0.88 -

1.76

USD/KRW

1,219.10

-

0.69 -

0.63 -

2.38 -

6.53

USD/SGD

1.36

-

0.50 0.23

-

0.40 -

1.21

USD/CNY

6.37

-

0.28 -

0.29 0.21

1.33

NEER

108.90

0.01

-

0.62 1.19

-

1.24

ค่าเงินสกุลต่างๆ เครื่องหมาย + คือแข็งค่าขึ้น และเครื่องหมาย -คืออ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น (+) หรืออ่อนค่าลง (-) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ

ดัชนี SETSETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei 225

ญี่ปุ่น) STI สิงคโปร์) และDJIA สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 77เม.ย. 655ดัชนีปิดที่ระดับ 1,682.41 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 44-77เม.ย. 655อยู่ที่ 77,154.17 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 44-77เม.ย. 655นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,068.09ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 11ถึง 14 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 1111ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.212.21เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 44-77เม.ย. 655กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 5,794.18 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 77เม.ย. 6565กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 33,776.32ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 77เม.ย. 655เงินบาทปิดที่ 33.513.51บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.600.60จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตวอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคเล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.01 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ