รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 7 เมย 66

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 10, 2023 14:34 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

Executive Summary

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 66 สูงขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี และเงินเฟ้อพื้นฐาน

สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี

? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี

? ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ

20.1 ต่อปี

? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 66 คิดเป็นร้อยละ 61.13 ของ GDP

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 66สูงขึ้นที่ร้อยละ 2.8ต่อปี

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 66สูงขึ้นร้อยละ 2.8ต่อปีชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3จากการลดลงของราคาน้ามันเชื้อเพลิงและอาหารสด ตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลก และการปรับลดราคาขายปลีกน้ามันดีเซลลง และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงกว่าร้อยละ -0.3 เทียบกับเดือนก่อนหน้าและเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียง 0.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าราคาสินค้าและบริการปรับลดลงแล้ว โดยเฉพาะหมวดอาหารที่ลดลงถึงร้อยละ -0.5เทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร น้ามันพืช และของใช้ส่วนบุคคล เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบ้ารุงผิว และครีมนวดผม อย่างไรก็ตาม มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม ยาคูลท์ กระทิงแดง น้าตาล ซอลปรุงรส ค่าไฟฟ้าภาคธุรกิจ และ โรบินฮู้ดไรเดอร์เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อหักกลุ่มอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.7ต่อปี และไตรมาสที่ 1เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 3.9และ 2.2ตามล้าดับ

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากดัชนีราคาที่สูงขึ้น ในทุกหมวด เนื่องมาจากต้นทุนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งความต้องการใช้ในการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ และหมวดวัสดุฉาบที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 3.8และร้อยละ 3.1ตามล้าดับ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -0.4

จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามรายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นและราคาผลผลิตภาคเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสด อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การควบคุมการปล่อยสินเชื่อรถจักรยานยนต์ รวมทั้งสถานการณ์ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูงยังคงเป็นปัจจัยกดดันการใช้จ่ายเงินของประชาชนให้มีแนวโน้มชะลอลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของกระทรวงพาณิชย์ที่ปรับตัวลดลงในเดือน มี.ค.

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 66 มีจ้านวนทั้งสิ้น10,724,775.89ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 61.13 ของ GDPGDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 31,892 85ล้านบาท

ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPGDPยังอยู่ในระดับต้ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 770 ของ GDPGDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 88.43ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.337ของยอดหนี้สาธารณะ

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ดัชนีฯ PMIPMIภาคุตสาหกรรม (ISM) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 46.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.7 จุด ต้ากว่าคาดการณ์ตลาด และอยู่ต้ากว่าระดับ 50.0 จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ส่งผลให้ดัชนีอยู่ในระดับต้าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 สะท้อนถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มมากขึ้นก้าลังเริ่มส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ โดยภาคธุรกิจยังคงชะลอการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ในตลาดในช่วงครึ่งแรกของปี 66และอยู่ในช่วงการเตรียมพร้อมส้าหรับการเติบโตในช่วงปลายฤดูร้อนหรือต้นฤดูใบไม้ร่วง

ดัชนีฯ PMI นอกภาคุตสาหกรรม (ISM) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.1 จุด และต้ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 54.5 จุด ส่งผลให้ดัชนีอยู่ในระดับต้าที่สุดในรอบ 3เดือน เนื่องจากอุปสงค์ การจ้างงาน กิจกรรมทางธุรกิจ และค้าสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลดลง เป็นส้าคัญ

จ้านวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (26 มี.ค 1 เม.ย. 66) อยู่ที่ 2.28 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.46 แสนราย เป็นระดับที่ต้าที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ แต่สูงว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 2.00 แสนราย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการค้านวณการปรับฤดูกาล (Seasonal Adjusted) ท้าให้ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นจากที่รายงานก่อนหน้านี้มาก ขณะที่จ้านวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.38แสนราย

มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวในระดับที่ต้าที่สุดในรอบ 2ปี เป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงและต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอก

มูลค่าการน้าเข้าสินค้า เดือน ก.พ. 66 หดตัวที่ร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.พ. 66 ขาดดุลที่ -72.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนที่ -88.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ยูโรโซน

ดัชนีฯ PMIPMIภาคบริการ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 55.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.7 จุด ต้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 55.6จุด และอยู่สูงกว่าระดับ 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องของภาคบริการ

ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด ลดลงจากระดับ 48.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า และอยู่ต้ากว่าระดับ 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11บ่งชี้กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนยังคงหดตัวต่อเนื่อง

จีน ดัชนีฯ PMI ภาคุตสาหกรรม (Caixin) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.6 จุด สวนทางกับคาดการณ์ตลาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.7 จุด ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังไม่มั่นคง เนื่องจากยังเผชิญกับการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนทางการเงินทั่วโลก โดยดัชนีที่ปรับลดลงเป็นผลจากผลผลิตและค้าสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ในขณะที่ยอดขายและการจ้างงานจากต่างประเทศปรับตัวลดลง

ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 57.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.0 จุด และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ส่งผลให้ดัชนีอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 63 เป็นผลจากค้าสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการผ่อนคลายมาตรการ COVID 19 อย่างไรก็ดี ต้นทุนการผลิตปรับตัวเร่งขึ้นจากค่าจ้างและราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ประกอบกับความสามารถของบริษัทในการส่งต่อภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้ามีจ้ากัด จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลง

ญี่ปุ่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Jibun Bank PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.6จุด ซึ่งเป็นระดับต้าสุดนับจาก ก.ย. 63

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (Jibun Bank Composite PMI)

เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด สะท้อนผลผลิตของภาคเอกชนที่โตต่อเนื่อง 3เดือนติดต่อกัน รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและค้าสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตล้วนเติบโตเช่นกัน

เกาหลีใต้ ดัชนีส้ารวจทางธุรกิจ (BSI) ส้าหรับภาคการผลิต เดือน มี.ค. 66 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70จุด เพิ่มจากระดับ 63จุด ในเดือนก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในส่วนของยอดขายทั้งในและต่างประเทศ

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 66 หดตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ 3.2เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ดุลการค้า เดือน มี.ค. 66 ขาดดุล -4.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขาดดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12โดยภาคการส่งออกหดตัวร้อยละ -13.6ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6ขณะที่ภาคการน้าเข้าหดตัวร้อยละ-6.4

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (S&P Global Composite PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดจากระดับ 48.5 จุดในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต้าสุดในรอบ 6เดือน จากการที่ผลผลิตและค้าสั่งซื้อลดลงเป็นอย่างมาก สะท้อนความอ่อนแอทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต้าสุดในรอบ 1ปี

อินเดีย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (S&P Composite PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 58.4 จุด ลดลงจากระดับ 59.0ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยระยะยาว สหราชอาณาจักร ยอดผลิตรถยนต์ เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวร้อยละ 13.1 อยู่ที่ 69,707 คัน เร่งตัวขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ -0.3ในเดือนก่อนหน้า จากยอดการส่งออกที่ขยายตัวเป็นส้าคัญ

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (S&P Global PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด ลดลงจากระดับ 49.3จุดในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8ของภาคการผลิต

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (S&P Composite PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ลดลงจากระดับ 53.1จุด โดยผลผลิตภาคเอกชนยังคงขยายตัว

สิงคโปร์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (S&P Global PMI) เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับจาก พ.ย. 65และสะท้อนการขยายตัวของกิจกรรมในภาคเอกชน

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นค่อนข้างมากจากเดือน ก.พ. 66ที่หดตัวร้อยละ -0.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อินโดนีเซีย ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.2จุด ในเดือนก่อนหน้า และอยู่สูงกว่าระดับ 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19บ่งชี้กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมยังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.97 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.47 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นระดับต้าสุดในรอบ 7เดือน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2-4

มาเลเซีย ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 48.8 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 48.4จุด ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ต้ากว่าระดับ 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7บ่งชี้กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่อง ฟิลิปปินส์ ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด จากระดับ 52.7จุด ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่สูงกว่าระดับ 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14บ่งชี้กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นระดับต้าสุดนับตั้งแต่ เดือน ก.ย. 65และต้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 8.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน เวียดนาม ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด จากระดับ 51.2จุด ในเดือนก่อนหน้า เป็นระดับต้ากว่า 50.0จุด เป็นครั้งที่สองในปีนี้ จากผลผลิต ค้าสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ลดลง เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ออสเตรเลีย ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.6ต่อปี

ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันขอปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.พ. 66 เกินดลุที่ระดับ 11.62 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 16.82พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นPSEiPSEi(ฟิลิปปินส์) และ TWSETWSE(ไต้หวัน) เป็นต้น เมื่อวันที่ 55เม.ย. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1, 571.13571.13จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 3 55เม.ย. 6666อยู่ที่ 45,138.5845,138.58ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 3 -5 เม.ย. 66 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ

1,084.121,084.12ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 2020ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 11ถึง 15 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 44ปี และ 5050ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.31.3และ 3.53.5เท่าของวงเงินประมูล ตามล้าดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 55เม.ย.. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 12,449.8212,449.82ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่55เม.ย.6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 35,413,9835,413,98ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่55เม.ย. 666เงินบาทปิดที่ 33.9433.94บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ1.061.06จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐขณะที่เงินสกุลเปโซ วอน และดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.80

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ