รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 29 มีนาคม - 2 เมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 7, 2010 12:23 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์นี้

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ก.พ. 52 ลดลงร้อยละ 0.9

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index) ประจาเดือน ก.พ.53 ลดลงร้อยละ 1.2 สร้างความกังวลว่าภาวะเงินฝืดจะยืดเยื้อ

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน ก.พ.53 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 2. มูลค่าการส่งออกประจาเดือนกุมภาพันธ์ 52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 จากการส่งออกไปยังจีน สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.7 และ 50.4 ตามลาดับ 3. ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 4 ไตรมาสแล้ว

-----------------------------------

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์นี้

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ก.พ. 52 ลดลงร้อยละ 0.9

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือน ก.พ. 53 ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 91.3 (ปี 2005=100) ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 12 เดือน เนื่องจากการผลิตรถยนต์และโทรทัศน์จอ LCD ลดลง

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือน ก.พ.53 ลดลงร้อยละ 1.2 อยู่ที่ 99.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภคได้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 12 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาสินค้าบริโภคทุกประเภทลดลงอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีความกังวลว่าภาวะการฝืดอาจจะนานกว่าที่คาดการณ์ไว้

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

อัตราการว่างงานเดือน ก.พ.53 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 เท่ากันกับเดือน ม.ค.53

2. มูลค่าการส่งออกประจาเดือนกุมภาพันธ์ 52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า และมีมูลค่า 5.1287 ล้านล้านเยน ซึ่งเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว โดยยอดการส่งออกไปยังจีน สหรัฐ และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.7 50.4 และ 19.7 ตามลาดับ เป็นผลมาจากการส่งออกยานยนต์ไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากเดิม ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากการเรียกคืนรถยนต์ Toyota นอกจากนี้ ความต้องการในต่างประเทศฟื้นตัวขึ้น ในขณะเดียวกันยอดการนาเข้าก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 มีมูลค่า 4.4777 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว

การส่งออกมากกว่านาเข้า ทาให้เกินดุลการค้าเดือน กุมภาพันธ์ 2553 เป็นจานวน 651 พันล้านเยน

ดุลการค้าประจาเดือนกุมภาพันธ์ 2553

หน่วย: พันล้านเยน ยอดการส่งออก (ร้อยละ) ยอดการนำเข้า (ร้อยละ) ดุลการค้า (ร้อยละ) สหรัฐฯ 837.1 (50.4) 441.2 (7.2) 395.9 (173.0) สหภาพยุโรป 588.0 (19.7) 422.1 (7.3) 165.9 (69.9) เอเชีย (รวมจีน) 2,775.6 (55.7) 1,962.7 (38.9) 812.9 (120.3) สาธารณรัฐประชาชนจีน 902.4 (47.7) 927.0 (54.3) -24.6 รวม 5,128.7 (45.3) 4,477.7 (29.5) 651.0 (818.8) ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น 3. ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 4 ไตรมาสแล้ว ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ)ได้ประกาศผลการสารวจของ Tankan ซึ่งสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเด็นต่างๆ เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะธุรกิจทั่วไป ภาวะอุปสงค์และอุปทาน ภาวะยอดขาย และภาวะผลประกอบการ เป็นต้น ในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่และผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กทั้งในภาคอุตสาหกรรมและนอกภาคอุตสาหกรรมจานวน 11,684 ราย ทุก 3 เดือน ผลการสารวจของ Tankan พบว่าดัชนีตัวที่ใช้วัดความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะธุรกิจโดยทั่วไป (Business Sentiment Diffusion Index: DI) ของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ประเภทอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 11 จุด จากระดับ -14 จุด ในการสารวจครั้งก่อนหน้า อยู่ที่ -25 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็น 4 ไตรมาสแล้ว เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศกาลังพัฒนา ทาให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ DI เป็นดัชนีที่ใช้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเอกชนญี่ปุ่น Business Sentiment Diffusion Index ประเภท ไตรมาส 1 คาดการณ์ (จำนวนเพิ่ม) (จำนวนเพิ่ม) ประกอบการรายใหญ่ อุตสาหกรรม -14 (11) -8 (6) นอกอุตสาหกรรม -14 (7) -10 (4) ประกอบการรายกลาง อุตสาหกรรม -19 (9) -20 (-1) นอกอุตสาหกรรม -21 (6) -21 (0) ประกอบการรายย่อย อุตสาหกรรม -30 (11) -32 (-2) นอกอุตสาหกรรม -31 (3) -37 (-6) รวม อุตสาหกรรม -23 (10) -22 (1) นอกอุตสาหกรรม -25 (5) -28 (-3)

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ