ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 21, 2007 15:54 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          GDP ไตรมาสที่ 3/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.7  การบริโภค การลงทุนและการส่งออกสุทธิชะลอลง GDP 3 ไตรมาสแรกขยายตัว
ร้อยละ 5.3
* เศรษฐกิจไตรมาส 3/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อน เป็นการชะลอลงทั้งภาคเกษตร
และภาคนอกเกษตร โดยเศรษฐกิจรวม 3 ไตรมาสขยายตัวร้อยละ 5.3 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ของระยะเดียวกันในปีก่อน
* ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยหมวดพืชผล ปศุสัตว์และป่า ไม้ ชะลอตัวลงร้อยละ
5.3 โดยเฉพาะผลผลิตพืชหลักบางชนิดออกสู่ตลาดน้อยลงในไตรมาสนี้ จากผลกระทบของภาวะฝนตกหนัก ในขณะที่หมวดประมงปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ
4.8
* ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้าส่งค้า
ปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และสาขาตัวกลางทางการเงิน ซึ่งเป็นสาขาหลักชะลอตัวลงตามความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
* รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลงร้อยละ 2.9 เทียบกับร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยหลักมา
จากรายได้ของเกษตรกรที่ชะลอตัวตามปริมาณและราคาสินค้าเกษตร ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
และภาวะน้ำท่วม
* รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อน จำแนกเป็นค่าตอบแทนแรงงานเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.7 และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
* การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นการชะลอลงทั้งการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน
ในอัตราร้อยละ 3.8 และ 2.9 ตามลำดับ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนตามความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง และไม่มี
โครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นใหม่ในส่วนของการลงทุนภาครัฐ
* ดุลการค้าในราคาประจำปีเกินดุล 54.1 พันล้านบาท กลับมาเกินดุลอีกครั้งหลังจากขาดดุลต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2548 ใน
ขณะที่ดุลบริการเกินดุล 47.5 พันล้านบาท ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังคงขยายตัว ส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบริการเกินดุล 101.6 พัน
ล้านบาท ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 86.2 พันล้านบาท
* สินค้าคงเหลือ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่การผลิตชะลอตัวแต่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี
ส่งผลให้สต็อกสินค้าสำเร็จรูปส่งออก และวัตถุดิบนำเข้าเพื่อผลิตสินค้าส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม จากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่ชะลอ
ตัวลง ส่งผลให้มีการสะสมสต็อกเพิ่มขึ้นในบางหมวดสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
GDP ไตรมาสที่ 3/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงทั้งการบริโภค การลงทุน และการส่งออกสุทธิ GDP 3 ไตรมาสแรกของปีขยาย
ตัวร้อยละ 5.3
เศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 3/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่ 2/2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค
บริโภคของครัวเรือนชะลอตัวเหลือร้อยละ 2.9 โดยเฉพาะสินค้าคงทนลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของรายได้เกษตรกรและราคาน้ำมันที่
ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล และการลงทุนชะลอตัวเหลือร้อยละ 4.3 และ ร้อยละ 3.2 ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน
การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 เทียบกับร้อยละ 147.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่ม
ขึ้นมาก ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราชะลอลง
ภาวะการผลิตโดยรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยภาคเกษตรชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 5.2 จากการขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่
แล้ว เป็นผลมาจากหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.5 และ 6.5 จากร้อยละ 9.7 และ 8.5 ตามลำดับ ในขณะที่หมวดประมง
ขยายตัวร้อยละ 4.8 ส่วนภาคนอกเกษตรชะลอตัวลงเล็กน้อย เหลือร้อยละ 4.7 จากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตสาขาหลักชะลอ
ตัวลงต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และตัวกลางทางการเงิน เป็นต้น
GDP ที่ปรับค่าฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ร้อยละ)
2548 2549
2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ภาคเกษตร -3.2 -8.7 -4.7 1.9 -0.8 7.6 7.1 5.2
ภาคนอกเกษตร 5.3 4.8 5.5 5.8 5.0 6.0 4.9 4.7
GDP 4.5 3.5 4.7 5.5 4.3 6.1 5.0 4.7
GDP ปรับฤดูกาล 4.5 -0.7 2.1 1.9 1.0 1.1 1.1 1.5
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 1,942.6 พันล้านบาท เมื่อหัก ค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่าง
ประเทศ 45.8 พันล้านบาท คงเหลือเป็น
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) เท่ากับ 1,896.8 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.0
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปีเกินดุล 101.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่าง
ประเทศ ซึ่งขาดดุลเพียง 15.4 พันล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 86.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อย
ละ 2.3 ในไตรมาสที่แล้ว
ระดับราคา โดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง โดยดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 ใน
ไตรมาสที่แล้ว ในขณะเดียวกันดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และ 3.6 ต่ำกว่าร้อยละ 10.3 และ 6.0 ในไตรมาสที่
แล้ว ตามลำดับ
(ยังมีต่อ).../ด้านการผลิต..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ