สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2555 (มกราคม — มีนาคม) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมปิโตรเคมี)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 23, 2012 15:36 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ไตรมาส 1 ปี 2555 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยราคาสูงสุดเมื่อสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ของไตรมาสแรกอยู่ที่ประมาณ 1,200เหรียญสหรัฐต่อตัน เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกักเก็บสำรองวัตถุดิบหลังช่วงวันหยุดยาว

การผลิต

ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมีแผนการร่วมลงทุนเพื่อก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรในประเทศเวียดนาม ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นในปี 2560 จะมีกำลังการผลิตพอลีเอธิลีนแบบความหนาแน่นต่ำ (LLDPE), พอลีเอธิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE), พอลีพรอพิลีน (PP) และแครกเกอร์รวม 2,650,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตพอลีพรอพิลีนในจังหวัดระยองเพื่อรองรับความต้องการจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การค้าระหว่างประเทศ

ส่งออก

การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำมีมูลค่า 68,227.39 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวโดยรวมลดลงร้อยละ 22.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 23.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2554โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายส่งออกลดลงร้อยละ 30.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2554 ทั้งนี้เนื่องจากมีหลายบริษัทลดกำลังการผลิตและมีการปิดเพื่อซอ่ มบำรุงประจำป รวมถึงในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์มีบางบริษัทที่ต้องหยุดการผลิตเนื่องจากปัญหาขัดข้องเรื่องไฟฟ้านอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยโดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ ประกอบกับการที่ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทย เช่น ประเทศจีนและเวียดนามมีแผนการขยายกำลังการผลิตเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2556-2560 และบางแห่งเริ่มทยอยเดินเครื่องการผลิต ส่งผลให้ตลาดมีความตึงตัวและลดการพึ่งพิงการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทยได้

การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในไตรมาสแรกของปี 2555 มีมูลค่าลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 29.24 ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การที่ผู้ประกอบการภายในประเทศยังมีสินค้าคงคลัง รวมไปถึงโรงงานของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูทำให้ยังไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิตเดิม จึงทำให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังไม่เต็มที่

ราคาสินค้า

ราคาเอธิลีนในตลาดเอเชียในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ค่อนข้างทรงตัว โดยราคาเฉลี่ยตลอดไตรมาสอยู่ที่ประมาณ 39.98 บาทต่อกิโลกรัม และราคาพรอพิลีนเฉลี่ยตลอดไตรมาสอยู่ที่42.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาของทั้งสองผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2555 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CFR) ในเดือนมีนาคม 2555 ของ LDPE, HDPE,และ PP อยู่ที่ระดับ 43.56, 43.02, 44.45 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ PE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่ง สศอ.ดำเนินการศึกษาในปี2554 ผลที่ได้รับประกอบด้วย ยุทธศาสตร์/แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่มีการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น และพัฒนาไปเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

สรุปและแนวโน้ม

สรุป

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่ลดลง โดยมีปัจจัยมาจากการที่ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยมีการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ รวมถึงมีแผนการขยายกำลังการผลิตส่งผลให้ลดการพึ่งพิงการนำเข้าจากไทยได้

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ป ?2555 มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ซึ่งคาดว่ามีปัจจัยมาจากการที่อุตสาหกรรมในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ และอาจยังมีสินค้าคงคลังเหลือจากไตรมาสก่อน

แนวโน้ม

แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยทั้งปี 2555 คาดว่าอัตราการขยายตัวจะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวที่ทรงตัว จึงส่งผลให้การส่งออกและนำเข้าของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไทยมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าปัจจัยหนุนจากภายในประเทศ คือ การที่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติกเริ่มกลับมาทำการผลิตได้อีกครั้งในช่วงกลางปี น่าจะทำให้ความต้องการวัตถุดิบเม็ดพลาสติกมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีดีขึ้น ดังนั้น ในระยะสั้น ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงควรวางแผนการผลิตให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ และอาจชะลอแผนการผลิตเพื่อส่งออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกรวมถึงปัญหาหนี้สินในยุโรปยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้คำสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศดังกล่าวชอละตัว

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ