สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ปี 2555 (ตุลาคม — ธันวาคม 2555)(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2013 11:48 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในไตรมาส 4 ปี 2555 เศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศยังคงขยายตัว ยกเว้นสหภาพยุโรปที่ยังคง หดตัวอยู่ ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปยังคงกดดันให้การส่งออกของแต่ละประเทศขยายตัวลดลง อัตราการว่างงานของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ 107.30 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ 104.94 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม (ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556) อยู่ที่ 96.64 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลมาจากตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปี 2555 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า อันมีสาเหตุมาจากนโยบายการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่มีต่อวิกฤตการคลัง (Fiscal cliff) รวมทั้งความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแซนดี้

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เท่ากับไตรมาส 4 ปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 65.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.3

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 94.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.0

หมายเหตุ

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี 2555อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.3 อัตราการว่างงานฟื้นดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) (เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556) ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดต่ำกว่าร้อยละ 6.5 และยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE 4)

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 2555 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวดีขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 105.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.3 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 20.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.4

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.8

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.3

หมายเหตุ

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.6 อัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 4ของปี 2554

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี จากร้อยละ 6.56 เป็นร้อยละ 6.00 (เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555) นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนกว่า 4 แสนล้านหยวนเข้าสู่ระบบตลาดเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอัตราดอกเบี้ย

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวเล็กน้อยแต่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยน และอุปสงค์ในตลาดคู่ค้าหลักชะลอตัวส่งผลให้การส่งออกหดตัว

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.5 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 39.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ38.8 การลงทุนในภาคก่อสร้าง ไตรมาส 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 87.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.2

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 5.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และยูโร และปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.5

หมายเหตุ

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2555

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.3 อัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 22 มกราคม2556) และมีมติซื้อสินทรัพย์เพิ่มด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่น ๆ ที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2 โดยมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาเงินฝืดที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในภาวะชงักงันมานานหลายปี

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2555 ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ภาคการผลิตยังคงหดตัว อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP หดตัวร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคไตรมาส 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.1

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 98.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7 และในเดือนตุลาคมพฤศจิกายน ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 95.9 และ 95.6 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 11.5 และ 5.5 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 9.6 และเดือนพฤศจิกายน หดตัวร้อยละ 0.04

หมายเหตุ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2555

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาในหมวดบริการลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.0 เป็นการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.75 (เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของภาวะ เงินเฟ้อที่อาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการภายในประเทศที่ขยายตัวเป็นสำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการภายในประเทศที่ขยายตัวทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามสภาวะการจ้างงาน และรายได้ ขณะที่การลงทุนขยายตัวจากการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 3 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 102.0 หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 133,421 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 13.3 ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 149,290 ล้านเหรีญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมายเหตุ

(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากราคาค่าเช่าบ้านค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงเล็กน้อยจากในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 2555 ยังมีความอ่อนแอ โดย GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการภายในประเทศและการส่งออกที่ยังคงอ่อนแรง

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังมีความอ่อนแอ จากความต้องการภายในประเทศและการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญยังอ่อนแรง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 157.3 ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 139,911 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ในไตรมาส 2 ปี2555 โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างสหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 3.4 6.8และ 5.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ26.4 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ขยายตัวร้อยละ 6.2 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 4 ปี2555 มีมูลค่า 129,888 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวต่อเนื่องเช่นเดียวกับการส่งออก

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในไตรมาส 3 ปี2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 โดยราคาผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ และราคาสินค้าอุตสาหกรรมยังมีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นจากในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ทั้งนี้จำนวนการจ้างงานในเดือนธันวาคม 2555 น้อยลงจากในเดือนพฤศจิกายน 2555 จากการจ้างงานในภาคการก่อสร้างที่ลดลงเนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี

หมายเหตุ

(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และภาคการบริการที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และภาคการบริการที่ขยายตัว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 98.9 หดตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนธันวาคม 2555 หดตัวร้อยละ 0.6 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 16.9 โดยตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกยังมีความอ่อนแออย่างต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป หดตัวร้อยละ 2.4

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 101,657 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย และอินโดนีเซียหดตัวร้อยละ 3.6 และ 4.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555มีมูลค่า 95,569 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากราคาที่อยู่อาศัย และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 4 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชนที่ขยายตัวเป็นสำคัญ

หมายเหตุ

(8) - ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.bi.go.id www.ceicdata.com

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามการลงทุนของภาครัฐหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ทั้งนี้เศรษฐกิจอินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่มีการพึ่งพาความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก โดยการบริโภคของภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2555 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.6 ของ GDP ขณะที่ภาคการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.6 ของ GDP

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 107.3 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.2 และ 20.1 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 47,048 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 49,705 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ลดลงเล็กน้อยจากในไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างทรงตัว จากราคาอาหารที่ไม่ค่อยมีความผันผวน

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.75 เนื่องจากอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐที่ขยายตัว

หมายเหตุ

(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.mier.org.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 3 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 123.5 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 6.6 และดัชนีในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ที่ขยายตัว

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 55,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง การส่งออกไปในหลายตลาดหดตัว โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป(27) หดตัวร้อยละ 14.4 0.3 และ 21.8 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2555 หดตัวร้อยละ 0.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 50,379 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม2555 ขยายตัวร้อยละ 8.5

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ลดลงเล็กน้อยจากในไตรมาส 3 ปี2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากในเดือนตุลาคม 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวดีที่ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัวขณะที่ภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวดีที่ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนที่ฟื้นตัว และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

หมายเหตุ

(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.neda.gov.ph www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 100.9 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 19.2 และ 9.8 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 13,306 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 22.5 สำหรับในเดือนตุลาคม 2555 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.8 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 15,287 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนตุลาคม 2555 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.4

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ระดับอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศในอาเซียน

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 176.0 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.8 และ 0.3 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกเดือนธันวาคม 2555 มีมูลค่า 24,877.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในเดือนธันวาคม2555 มีมูลค่า 42,549.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

หมายเหตุ

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.1 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.75 จากเดิมร้อยละ 8.0 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ