สศอ. ชี้ดัชนีอุตฯ ก.พ. 56 หดตัวร้อยละ 1.2 สาเหตุจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 5, 2013 15:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 เป็นผลมาจากสาเหตุจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

นายหทัย อู่ไทย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 เป็นผลมาจากการลดลงค่อนข้างมากในอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มที่มีสัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 นี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.18 ทำให้ 2 เดือนแรก ปี 2556 MPI ขยายตัวร้อยละ 4.3 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 62.87

นายหทัย อู่ไทย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญและแนวโน้มไตรมาสที่ 1/ 2556 ดังนี้

  • อุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.35 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์เร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อการส่งมอบให้ลูกค้า โดยการผลิตรถยนต์มีจำนวน 229,204 คัน และแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาส 1 ปี 2556 คาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์เร่งการผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า โดยคาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 710,000 คัน
  • อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนขยายตัวขึ้นร้อยละ 7.91 ในขณะที่ปริมาณการบริโภคขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 6.00 สำหรับแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ปริมาณการผลิตจะขยายตัวขึ้นร้อยละ 8 ในขณะที่ปริมาณการบริโภคขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 6 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างทั้งโครงการของภาครัฐซึ่งยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชน เช่น การก่อสร้างคอนโดมิเนียมตามเส้นทางรถไฟฟ้าก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในช่วงเวลาข้างหน้า คาดว่าภาวะการ
  • ผลิตเหล็กพื้นฐานจะกระเตื้องขึ้นจากที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐได้เรียกเก็บภาษี Safeguard กับเหล็กเจือโบรอนที่นำเข้ายกเว้นประทศที่กำลังพัฒนาและอาจจะมีการออกมาตรการเพิ่มเติมในช่วงต่อๆไปเพื่อช่วยผู้ผลิตในประเทศอีก
  • อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 6.27 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 7.80 มีการปรับตัวโดยรวมลดลงร้อยละ 6.27 เป็นผลมาจากความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดเริ่มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความต้องการ Hard disk drive ในตลาดเริ่มชะลอตัว จากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่มีความต้องการสูงมาก ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.96 โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องปรับอากาศที่มีการขยายตัวมากถึงร้อยละ 35 สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 คาดว่าการผลิตจะขยายตัวได้ร้อยละ 10.0 จากความต้องการในประเทศที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทำให้กำลังซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น และการลงทุนของภาคเอกชนที่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

Index              -------------------------    2555   ---------------------------         ---2556 ---

ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.

ดัชนีผลผลิต        172.01 193.29 165.35  189 182.39  178.7 174.42 173.39 173.75 188.09 175.76 176.16 169.96
อุตสาหกรรม

อัตราการ
เปลี่ยนแปลง(MOM)%   7.6   12.14  -14.5 14.3   -3.5     -2   -2.4   -0.6    0.2    8.3   -6.6    0.2   -3.5

อัตราการ
เปลี่ยนแปลง(YOY)%  -3.3   -2.6       0    6  -9.6   -5.5  -11.2  -11.9     36   82.3     23    10.2  -1.2

อัตราการใช้
กำลังการผลิต %    62.25  67.27   59.68 69.18 66.76 67.27  66.15  64.92  68.38  68.96   63.51   67.01 62.87

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ