สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 9, 2013 15:27 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ระดับ 169.96 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยมีสาเหตุจากจากการลดลงของการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ซึ่งหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.18 สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาหดตัวหรือติดลบอีกครั้ง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวตัวร้อยละ3.1 แต่เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.45

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ระดับ 169.96 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยมีสาเหตุจากจากการลดลงของการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ซึ่งหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.18 สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาหดตัวหรือติดลบอีกครั้ง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวตัวร้อยละ3.1 แต่เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.45

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนกุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ร้อยละ 62.87 จากร้อยละ 67.01 ในเดือนมกราคม 2556 และร้อยละ 62.25 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวหรือติดลบอีกครั้ง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวตัวร้อยละ 3.1 แต่เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.45

อุตสาหกรรมรายสาขาสำ คัญ(กุมภาพันธ์ 2556)

อุตสาหกรรมอาหาร

การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.1 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 36.7 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลงลง ส่วนกลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศแบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มี การผลิตลดลงร้อยละ 15.4 เนื่องจากสต็อกมีอยู่ในปริมาณมาก ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าโดยเปรียบเทียบลดลง และมีการนำเข้ามาผลิตเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน ร้อยละ13.0, 3.9 และ6.5 ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตที่ต่ำในปีที่ผ่านมาประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดเอเชียและอาเซียนโดยเฉพาะจาก จีน อินเดีย เวียดนาม บังคลาเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้การผลิตเพิ่มสูงขึ้นการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักลดลงร้อยละ 6.9 และผ้าทอลดลงร้อยละ 12.9 ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป และเป็นตลาดส่งออกสำคัญของเครื่องนุ่งห่มไทยประกอบกับธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

การผลิตลดลงร้อยละ 5.42 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตลดลงร้อยละ 3.80 เหล็กทรงยาว มีการผลิตลดลง ร้อยละ 5.53ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก Billet เหล็กเส้น โดยจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของเหล็กทรงแบนแต่ในส่วนของเหล็กทรงยาวจะมีราคาที่ลดลงอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน229,204 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีการผลิต 168,096 คัน ร้อยละ 36.35 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2556 ร้อยละ 2.89 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน สำหรับการส่งออก มีจำนวน 94,527 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีการส่งออก 77,315 คัน ร้อยละ 22.26 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ6.27 ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 7.80 เนื่องจากความต้องการในตลาดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องปรับอากาศที่มีการขยายตัวมาก ถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ