สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2560 (มกราคม - มีนาคม) พ.ศ. 2560 (อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 2, 2017 15:16 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา2

0 2202 4384

การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น เบาะรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.97 เป็นผลจากการจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และเฟอร์นิเจอร์

การผลิต

ไตรมาส 1ปี 2560 ดัชนีอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง จำแนกได้ ดังนี้

1. การฟอกและการตกแต่งหนังฟอกดัชนีผลผลิตไตรมาส 1 ปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ4.97 และ26.15ตามลำดับ เป็นผลจากการจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น สอดคล้องกับดัชนีการส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.42 และ 24.90 ตามลำดับทำให้สินค้าคงเหลือในสต๊อกลดลงและส่งผลต่อดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลง ร้อยละ 14.08และ 6.10 ตามลำดับ

2.การผลิตกระเป๋าเดินทางกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลากดัชนีผลผลิตไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 4.41จากการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อ หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปี 2559 เป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีการส่งสินค้าที่ลดลง ร้อยละ 14.90ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.84แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.35ขณะที่ดัชนีการส่งสินค้าลดลงและดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลง ร้อยละ 4.89 และ 0.07 ตามลำดับ

3. การผลิตรองเท้าดัชนีผลผลิตไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.31ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการส่งออกที่มีมูลค่าลดลง แต่มีแนวโน้มการลดลงที่ดีขึ้นในส่วนดัชนีการส่งสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 15.50 ทำให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.44 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ2.09 ขณะที่ดัชนีการส่งสินค้าและดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลง ร้อยละ8.86 และ8.90 ตามลำดับ

ไตรมาส 1 ปี 2560 มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) สะสมจำนวน 4 แห่ง แบ่งเป็น โรงงานฟอกหนังสัตว์ จำนวน 1 แห่ง และ โรงงานผลิตรองเท้าและชิ้นส่วน จำนวน 3 แห่งโรงงานที่ได้รับการขยายกิจการ มีจำนวน 1 โรงงานคือ โรงงานหนังสัตว์ และโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน(ยกเลิกกิจการ) สะสมจำนวน 5แห่งคือ โรงงานหนังสัตว์และฟอกหนังสัตว์ จำนวน 3 แห่ง และ โรงงานผลิตรองเท้าและชิ้นส่วน จำนวน 2 แห่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลต่อภาคการผลิตและความต้องการบริโภคสินค้า

การตลาดและการจำหน่าย

การค้าระหว่างประเทศ

การส่งออก

ไตรมาส 1 ปี 2560อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 380.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 2.42และ 4.15เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ ประกอบด้วย 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญ ดังนี้

1. หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดไตรมาส 1 ปี 2560มีมูลค่าการส่งออก170.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 3.27 เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง และหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.10 และ 5.54 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นปรับตัวลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์หนังโคกระบือฟอก ถุงมือหนัง และเครื่องแต่งกายและเข็มขัด ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.85 5.32 และ 54.56 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หนังโคกระบือฟอก ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง ถุงมือหนัง และ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.47 7.96 9.37 และ 91.08 ตามลำดับ สำหรับหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.38 โดยตลาดคู่ค้าสำคัญของกลุ่มหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ได้แก่ เวียดนาม จีนและฮ่องกง มีสัดส่วน ร้อยละ 24.6511.94 และ 11.30 ตามลำดับ

2. เครื่องใช้สำหรับเดินทางไตรมาส1 ปี 2560มีมูลค่าการส่งออก 67.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.91 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือและ เครื่องเดินทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.41 และ 27.25 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าใส่เศษสตางค์ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 16.54 และ 16.82 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้สำหรับเดินทาง ปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.00 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทาง และกระเป๋าใส่เศษสตางค์ ลดลง ร้อยละ 26.54 และ 16.57 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือ และเครื่องเดินทางอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.41 และ 12.08 ตามลำดับ โดยตลาดคู่ค้าสำคัญของกลุ่มเครื่องใช้สำหรับเดินทาง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วน ร้อยละ 28.20 12.47และ 9.00ตามลำดับ

3. รองเท้าและชิ้นส่วนไตรมาส 1 ปี 2560มีมูลค่าการส่งออก 143.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ3.34 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ และรองเท้าหนัง ลดลง ร้อยละ17.41 8.69 3.29และ 1.29ตามลำดับซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนที่ปรับตัวลดลง เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักของไทย เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเดนมาร์กยังคงชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยสำหรับรองเท้าอื่น ๆ และส่วนประกอบรองเท้า ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.95 และ 0.37 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน ปรับตัวลดลง ร้อยละ7.86 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รองเท้ากีฬา รองเท้าหนัง รองเท้า อื่น ๆ และส่วนประกอบของรองเท้า ลดลงร้อยละ 12.9910.66 17.37และ18.93 ตามลำดับ สำหรับรองเท้าแตะ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.26 โดยตลาดคู่ค้าสำคัญของกลุ่มรองเท้าและชิ้นส่วน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์กและเมียนมามีสัดส่วน ร้อยละ 15.289.63และ 7.78 ตามลำดับ

การนำเข้า

ไตรมาส 1 ปี 2560อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 406.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.95 และ 10.63 ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญ ดังนี้

1. หนังดิบและหนังฟอกไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่าการนำเข้า 209.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.81 และ 27.01 ตามลำดับ เพื่อสต๊อกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของปริมาณความต้องการภายในประเทศที่ครอบคลุมทั้งความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้ารองเท้าและเครื่องหนัง และการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้หนังในกระบวนการผลิต เช่น เบาะรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ โดยแหล่งนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และเดนมาร์กมีสัดส่วนร้อยละ 16.4214.92 และ 12.20ตามลำดับ

2. กระเป๋าไตรมาส 1 ปี 2560มีมูลค่าการนำเข้า 102.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.05 เป็นไปตามทิศทางของการขยายตัวการท่องเที่ยวที่ทำให้เกิดอุปสงค์ของกระเป๋าภายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 3.36 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน อิตาลี และฝรั่งเศส มีสัดส่วน ร้อยละ 44.64 20.75 และ 13.69ตามลำดับ

3. รองเท้าไตรมาส 1 ปี 2560มีมูลค่าการนำเข้า 94.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ลดลง ร้อยละ 0.30 และ 2.00 ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจอย่างเต็มที่ เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆทำให้ผู้บริโภคกลับมามีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งสัญญาณนี้อาจเป็นสัญญาณระยะสั้นหลังจากเพิ่งผ่านช่วงสงกรานต์ และเตรียมการใช้จ่ายช่วงเปิดเทอม โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เวียดนามจีน และอินโดนีเซีย มีสัดส่วน ร้อยละ 37.3225.89 และ 10.48ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

1. นโยบายการส่งเสริม SMEs ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลที่ออกมาช่วยสร้างความ แข็งแกร่งให้กับ SMEs โดยมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่เน้นปัจจัยการผลิตเดิม (Factor Driven Growth) ประเภทที่ดิน แรงงาน และทุน ไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่การสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มเป็นปัจจัยขับเคลื่อน หรือการพัฒนาทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อยกระดับให้ SMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และตั้งเป้าหมายในปี 2558 เพิ่มสัดส่วนรายได้ของ SMEs ทั้งระบบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในปี 2559 หรือคิดเป็นมูลค่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ส่วนใหญ่เป็น SMEs จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะได้รับการส่งเสริม 2. นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 จำนวน 5-10 บาทใน 69 จังหวัด โดยพิจารณาแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่ปรับค่าจ้าง มี 8 จังหวัด คือ สิงห์บุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง ระนอง นราธิวาส ปัตตานี และยะลา 2) กลุ่มที่ปรับขึ้นค่าจ้าง 5 บาท มี 49 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี พัทลุง สตูล กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ชัยนาท ลพบุรีนครนายก สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม จันทบุรี ตราด ลำพูน พะเยา สุโขทัย อุตรดิตถ์ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี อ่างทอง เลย หนองบัวลำภู มุกดาหาร ยโสธร เชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ และหนองคาย3) กลุ่มที่ปรับขึ้นค่าจ้าง 8 บาท มี 13 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ สระบุรี ฉะเชิงเทรา กระบี่ พังงา และพระนครศรีอยุธยา และ 4) กลุ่มที่ปรับขึ้นค่าจ้าง 10 บาท มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และภูเก็ต โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่มีการขึ้นค่าจ้าง 10 บาทต่อวันดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2560 อาจจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

สรุปและแนวโน้ม

สรุป

การผลิตผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ที่ใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น เบาะรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.97 เป็นผลจากการจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น สำหรับการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก และการผลิตรองเท้า ลดลง ร้อยละ 4.41 และ 4.31 ตามลำดับ จากการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อ หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปี 2559

การส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด และรองเท้าและชิ้นส่วน ลดลง ร้อยละ 3.27 และ 3.34 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกของไทยได้รับอิทธิพลจากกระแสการค้าโลกที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งกระทบต่อกำลังซื้อและการนำเข้าของประเทศคู่ค้า ประกอบกับขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่า และมีความได้เปรียบด้านต้นทุน สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.91 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น

การนำเข้า ไตรมาส 1 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.81 และกระเป๋า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.05 เป็นไปตามทิศทางการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่มรองเท้า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.30

แนวโน้ม

ปี 2560 คาดว่า การผลิตผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง จะมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากฐาน ปี 2559 อยู่ในระดับต่า โดยมีปัจจัยที่จะกระตุ้นการผลิต จากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวและการลงทุนจากภาครัฐที่จะส่งผลเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศโดยรวม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้การผลิตใน ปี 2560 กลับมาดีขึ้น สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า จะปรับตัวในทิศทางที่ขยายตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ราคาน้ำมันดิบที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทิศทางค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้ารองเท้าและเครื่องหนังในตลาดที่มีการแข่งขันด้านราคาสูง นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบในด้านลบ คือ นโยบายกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ รวมถึงการเข้มงวดมากขึ้นกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหภาพยุโรป เช่น การเลือกตั้งของฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และการครบกำหนดชำระหนี้ของกรีซ เป็นต้นอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย สำหรับการนำเข้า คาดว่า จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการบริโภคสินค้าหรูเพื่อแสดงฐานะทางสังคมมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น นอกจากนี้ในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบ เช่น หนังดิบ หนังฟอก จะเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ วัสดุอุปกรณ์ประกอบ (Accessories) และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ