สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 21, 2021 14:13 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2564
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 4/2563 ที่หดตัวร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์
จากผลของฐานต่ำในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ระลอกแรก อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 1/2564 อาทิ เหล็กและเหล็กกล้า การผลิต
เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า โดยได้รับอานิสงส์จากราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงความ
ต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะยานยนต์และการก่อสร้าง เม็ดพลาสติก ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้ผลิตรายหนึ่งหยุดซ่อมบำรุงประจำปีน้อยกว่าปีก่อน เฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่องโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยังมีการทำงานแบบ
Work from Home ส่งผลดีต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ การผลิตรถยนต์ ภาวะการผลิต
เพิ่มขึ้น เนื่องจากปีก่อนอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกโดยกระทบ
ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงในปีนี้ตลาดส่งออกมีการขยายตัวเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากความ
ชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายประเทศเริ่มทยอยออกมา การผลิตน้ำตาล
ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปีนี้ปิดหีบช้ากว่าปีก่อน นอกจากนี้ แม้ว่าในปีนี้จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่ด้วย
ผลผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพ การหีบสกัดเป็นน้ำตาลได้สูงขึ้น ทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยปรับตัวดีขึ้น
กว่าปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2564
? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการยกเลิกมาตรการการคืนภาษีส่งออกของจีนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กบางรายการ ทั้งนี้
ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ได้แก่ ราคาเหล็กในตลาดโลกและใน
ประเทศที่ปรับตัวที่สูงขึ้น รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่า ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 6.0 ตามลำดับ
เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น มีความต้องการใช้
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการขยายมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
(Safeguard Measure : SG) ของสหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ
และโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยให้ลดลงได้
? อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0 และ 5.0
ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยาย
โครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศ
และต่างประเทศเพิ่มขึ้น
? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 350,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อ
จำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 470,000 คัน โดย
แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
4
? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมาก และยังได้
อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์
? เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาดภายในประเทศจากมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ รวมทั้ง
การผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์
ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น
ไม้และเครื่องเรือน คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้
ในประเทศ คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด
ที่เกิดขึ้น
ยา การผลิต คาดว่าจะชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการหดตัวต่อเนื่อง
ของตลาดในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของร้านขายยา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน
โดยเฉพาะเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.00
ตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 15.00 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั่วโลก สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด
ปาล์มน้ำมัน มีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคในตลาดคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน อเมริกา และยุโรป มีแนวโน้ม
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยคาดว่าสินค้าอาหารที่
ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง ผักและผลไม้แช่แข็ง เครื่อง
ปรุงรส อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป จะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น
5
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2564
6
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
GDP
หดตัวร้อยละ 2.6 (%YoY)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 หดตัวร้อยละ 2.6 โดย
ชะลอตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว
ร้อยละ 2.1 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
ที่หดตัวร้อยละ 4.2
ขยายตัวร้อยละ 0.7 (%YoY)
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
ขยายตัวร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
ที่หดตัวร้อยละ 0.7 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.4 โดยปรับตัวดีขึ้นตามการผลิต
สินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรม
ยานยนต์ ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการ
พาณิชย์ เป็นต้น
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1
ของปี 2564 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและดีขึ้น
สามไตรมาสต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขยายตัวของ
การส่งออกที่มีความต้องการของตลาดต่างประเทศเพิ่ม
สูงขึ้นโดยเฉพาะตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาและ
ประเทศจีน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง
อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัวเป็นอย่างมากและ
ต่อเนื่อง แม้ว่าทั่วโลกยังได้รับผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
7
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ขยายตัวร้อยละ 0.3
(%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้า
ระดับการจำหน่ายสินค้าหดตัวร้อยละ 0.8
(%YoY)
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 103.26 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(95.99) ร้อยละ 7.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (103.00) ร้อยละ 0.3
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การ
ผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตเหล็กและ
เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563
ได้แก่ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิต
พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และ การผลิต
เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่
ระดับ 99.58 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.40)
ร้อ ย ล 2 . 2 แ ต่ล ด ล ง จ ก ไ ต ร ม ส เ ดีย ว กัน
ของปี 2563 (100.39) ร้อยละ 0.8
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ
การผลิตน้ำตาล และการผลิตพลาสติกและยาง
สังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตน้ำตาล
และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ระดับการสำรองสินค้าเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
(%YoY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ร้อยละ 67.09
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังอยู่ที่ระดับ 139.41 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(127.32) ร้อยละ 9.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (137.88) ร้อยละ 1.1
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ
เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่
การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
เครื่องใช้ในครัวเรือน และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์
ที่ใช้รักษาโรค เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ระดับร้อยละ 67.09 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(ร้อยละ 63.77) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (ร้อยละ 66.94)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล
การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตพลาสติกและ
ยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง
การผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์
ขั้นต้น และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 85.3
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 85.30 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่าน
มา (86.40) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563
(90.13) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า
3 เดือน อยู่ที่ระดับ 92.37 ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (97.83)
ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการลดลงของความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ยังเป็นผล
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่รุนแรงขึ้น
ในไทยเป็นระลอกที่ 2 ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563
จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าการระบาดในรอบแรก
และขยายขอบเขตไปหลายจังหวัด รวมทั้งกำลังซื้อและ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้า อย่างไรก็ดียัง
มีปัจจัยที่พยุงเศรษฐกิจ ภาคการผลิตยังคงดำเนินการ
อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดชะงัก มาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจของภาครัฐและมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อาทิ โครงการ
เราชนะ โครงการ ม.33 เรารักกัน มาตรการช่วยเหลือ
ด้านสภาพคล่องและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์
มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้น
พื้นฐาน (ไฟฟ้า น้ำประปา และอินเตอร์เน็ต) สำหรับ
ผู้ประกอบการขนาดเล็กและประชาชนในระยะเร่งด่วน
(เดือน ม.ค.- มี.ค. 2564) มาตรการจัดหาอุปกรณ์
ป้องกันโควิด-19 อาทิ ให้กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งจัดหา
อุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 อาทิ หน้ากากอนามัย
หน้ากากผ้า เจลแอลกอฮอล์ ชุดอุปกรณ์ป้องกัน
ส่วนบุคคล ให้เพียงพอและครอบคลุมทั่วถึงโดยเฉพาะ
พื้นที่ที่มีกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10
การค้าต่างประเทศของไทย
?มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ซึ่งขยายตัวตามอุปสงค์ในตลาดคู่ค้าหลักของไทยที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับ
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศและความเชื่อมั่นจากแผนการ
กระจายวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ไปยังประเทศต่าง ๆ?
การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 127,780.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 64,148.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 63,632.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เกินดุล 515.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 64,148.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า
เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 5,748.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.9 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
มีมูลค่าการส่งออก 4,469.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.2 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 51,862.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.0 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,067.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 5.9
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (7,971.9
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.8) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (5,003.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 8.4) ผลิตภัณฑ์ยาง (3,932.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.5) เม็ดพลาสติก (2,542.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31.8) เคมีภัณฑ์ (2,038.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.7) เป็นต้น
11
ตลาดส่งออกสินค้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ตลาดส่งออกหลักในสหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้าหลัก
อื่น ๆ ยังคงหดตัว ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน
(9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27
ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 68.8 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น
ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.2 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ)
คิดเป็น ร้อยละ 22.6, 15.0, 12.5, 10.0 และ 8.6 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 12,5 10.7 20.6 และ 6.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) ยังคงหดตัวลงร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
12
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 63,632.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า
8,304.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.7 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,494.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 7.2 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 28,288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.3
สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 7,729.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.59 ยานพาหนะและอุปกรณ์
การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,765.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1,059.4 และสินค้าหมวดอาวุธ
ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 50.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 96.7
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 อัตราการขยายตัวในตลาด
นำเข้าสำคัญของไทยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขยายตัวในตลาด จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (9 ประเทศ) ขณะที่
ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวลง
โดยทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้า รวมคิดเป็นร้อยละ 67.5
และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32.5 ของการ
นำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา
คิดเป็นร้อยละ 23.2, 17.9, 14.1, 6.6 และ 5.7 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในตลาดจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน
(9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 29.3, 14.9, และ 0.5 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพ
ยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 36.9 และ 1.1 ตามลำดับ
13
เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
?ภาวะเศรษฐกิจโลก ปริมาณการค้า และภาคการผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีนและการเร่งกระจายวัคซีนให้เข้าถึงภาคประชาชน
อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้ตามปกติและพลิกฟื้นตัวได้อีกครั้ง?
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
(%YoY)
GDP Inflation MPI Export Import Unemp.
Rate
Policy
Rate
สหรัฐฯ ? 0.4 ? 2.1 ? 1.6 ? 1.8 ? 11.8 At 6.5 At 0.00-0.25
จีน ? 18.3 ? 5.0 ? 14.1 ? 48.8 ? 27.6 At 5.5 At 4.35
ญี่ปุ่น ? 1.4a ? 0.5 ? 0.9 ? 8.8 ? 4.7 At 2.8 At -0.10
เกาหลีใต้ ? 1.8 ? 1.2 ? 4.5 ? 12.5 ? 12.0 At 5.0 At 0.50
สิงคโปร์ ? 0.2 ? 0.4 ?10.7 ? 11.2 ? 6.8 At 2.6 At 0.75
ไทย ? 2.6 ? 0.5 ? 0.3 ? 2.3 ? 9.4 At 1.9 At 0.50
ที่มา : รวบรวมจาก CEIC, https://www.gtis.com/gta, https://www.nesdc.go.th, https://www.opec.org
หมายเหตุ : a เป็นตัวเลขคาดการณ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2563
เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนได้จากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลักขยายตัวเกือบทุกประเทศ
ซึ่งขยายตัวตามภาคการส่งออก-นำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงทรงตัว อัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.00-0.25% เพื่อช่วยสนับสนุนมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19
ด้านราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว
อย่างต่อเนื่อง และในหลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ได้มากขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้ราคาน้ำมัน
ปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ผู้บริโภค โดยราคาน้ำมันดิบดูไบไตรมาส 1 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 60.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 50.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนราคา
น้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนมีนาคม อยู่ที่ 62.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล
14
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2564
และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2564
15
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรม มีค่า 107.4 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 14.7 (%YoY) และขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ร้อยละ 15.2 (%QoQ) การผลิตเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ
10.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด
ขยายตัวร้อยละ 35.2 รองลงมา คือ ลวดเหล็กและเหล็กเส้นกลม
ขยายตัวร้อยละ 17.8 และ 17.6 ตามลำดับ ด้านการผลิตเหล็กทรง
แบน ขยายตัวร้อยละ 23.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด
คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 93.1 รองลงมา คือ
เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ
49.9 และ 43.2 ตามลำดับ การผลิตเหล็กในไตรมาส 1 ปี 2564
ขยายตัว เนื่องจาก การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และ
นโยบายของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม รวมถึงราคาเหล็ก
ในตลาดโลกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
มีปริมาณ 4.9 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 10.5 (%YoY) (ขยายตัวเป็นไตรมาสแรก นับตั้งแต่ไตรมาส
3 ปี 2562) และขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 17.0
(%QoQ) การบริโภคเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 8.6 จากการ
บริโภคเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 20.8 เหล็กเส้นและเหล็ก
โครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 1.6 การบริโภคเหล็กทรงแบน
ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม
ขยายตัวร้อยละ 41.6 รองลงมา คือเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัว
ร้อยละ 32.1 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 20.5
การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 2.6 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 20.8 (%YoY) (ขยายตัวเป็นไตรมาสแรก นับตั้งแต่ไตรมาส
2 ปี 2562) และ ขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 21.5
(%QoQ) การนำเข้าเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 11.4 ผลิตภัณฑ์
ที่มีการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon
Steel ขยายตัวร้อยละ 51.6 รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท
Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 42.1 และลวดเหล็ก ขยายตัว
ร้อยละ 23.6 สำหรับการนำเข้าเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ
24.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือเหล็กแผ่นบาง
รีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 75.1 รองลงมาคือ
เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ขยายตัว
ร้อยละ 62.2 และ 43.6 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2564
คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการยกเลิก
มาตรการการคืนภาษีส่งออกของจีนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็ก
บางรายการ ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของ
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ได้แก่ ราคาเหล็กในตลาดโลกและ
ในประเทศที่ปรับตัวที่สูงขึ้น รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วย
สนับสนุนอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนขยายตัว เช่น เหล็กลวด ลวดเหล็ก เหล็กเส้นกลม
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม และเหล็กแผ่นรีดเย็น
16
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่
112.0 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 18.6 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.9 (%YoY)
เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจาก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์
ไฟฟ้า สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า และ
เตาอบไมโครเวฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7, 21.3, 21.2, 15.5, 9.2, 8.1 และ
7.8 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน
เครื่องปรับอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว และคอมเพรสเซอร์ ลดลง
ร้อยละ 12.2, 10.4, 8.4, 4.0 และ 3.7 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2564 สินค้าที่มี
การปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
พัดลม เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มอเตอร์ไฟฟ้า และ
ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7, 15.7, 9.7, 4.1, 3.8 และ 2.1
ตามลำดับ ในขณะที่เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน
คอมเพรสเซอร์ หม้อหุงข้าว และเครื่องปรับอากาศ หดตัวร้อยละ
33.6, 22.2, 8.5, 2.7 และ 2.6 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า
4,446.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
ร้อยละ 5.3 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 16.3 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า และ เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 74.3, 31.5, 30.2 และ 15.6 ตามลำดับ ในขณะที่
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง เตาไมโครเวฟ และหม้อแปลงไฟฟ้า
ลดลงร้อยละ 70.5, 30.3 และ 18.8 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2564 มีมูลค่า
การส่งออก 7,137.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่แล้วร้อยละ 8.4 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 18.4 (%YoY) จากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ
จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.0, 32.1 และ 31.6 ตามลำดับ โดย
หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น
มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และพัดลม ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 82.4, 36.5, 30.0, 29.1, 22.1, 12.8, 10.8 และ 4.3
ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 6.0
ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้หลายประเทศ
เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น มีความต้องการใช้อุปกรณ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการขยาย
มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure :
SG) ของสหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก
เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ และโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยให้
ลดลงได้
107.1
84.6 88.5
111.0
79.0 90.2 94.4
112.0
0
20
40
60
80
100
120
140
Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564
ดัชนีผลผลิต
639.0
1586.0 1038.0
834.1 588.5
1,340.9 1554.4
1697.0
964.4
1137.0
1405.2
1587.1
2,254.5
2878.1 2893.8
2394.6
1967.2
3442.9
877.7
1059.5
764.0
1252.8
965.3 1233.7
165.7 32.9 9.1 29.0 22.2 25.3
419.5
458.5 450.1 629.0 444.2
468.1
291.8 243.5 178.6 261.3 274.6 190.0
916.9
752.8 509.6
883.3 922.1
735.4
0.0
500.0
1,000.0
1,500.0
2,000.0
2,500.0
3,000.0
3,500.0
4,000.0
Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พัน
เครื??อง)
เครื??องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื??องซักผ้า
เตาไมโครเวฟ ตเ ย็น กระติกนํ??ร้อน หม้อหุงข้าว
0
1,000
2,000
3,000
4,000
5,000
6,000
7,000
8,000
Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจ
โลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า
สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า และเตาอบไมโครเวฟ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ
จีน
17
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ 98.8 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.4 (%QoQ)
และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.6 (%YoY)
โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, แผงวงจร
(PWB), Semiconductor devices transistor, วงจรรวม (IC) และ HDD
โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.5, 17.9, 12.6, 10.9 และ 3.3 ตามลำดับ
ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ วงจรพิมพ์ (PCBA)
โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 14.5 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของเ ชื้อไ วรัสโ ควิด-19 ที่ส่ง ผล กระท บต่ออุตสาหกรรม
ก ร ผ ลิต อย่างไรก็ตาม PCBA ยังจำเป็นต่อการพัฒนาระบบ
เทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
ทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1
ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 10,012.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 22.4 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ โทรศัพท์และ
อุปกรณ์ วงจรพิมพ์ วงจรรวม (IC) และ ไดโอด ทรานซิสเตอร์
อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
81.1, 36.5 18.6 และ 1.6 ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องส่ง
สำหรับวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเครื่องส่ง
เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 48.4 และ 25.3 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1
ปี 2564 มีมูลค่าการส่งออก 9,917.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.5 (%QoQ) และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.7 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เอเชีย
ยุโรป และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8, 22.6 และ 16.9
ตามลำดับ โดยวงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์
กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ HDD และวงจรรวม (IC) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 40.2, 25.8, 20.6 และ 15.3 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2
ของปี 2564
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัว
ได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0 และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจาก
ตลาดส่งออกโลกและประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยาย
โครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ
IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศ
และต่างประเทศเพิ่มขึ้น
91.9 98.7 97.1 91.8 83.9 92.8 100.2 98.8
-10
40
90
140
Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต
8,664.1 8,801.7 9,499.5 8,181.7 8,736.0 8,877.6
8,765.3 9,945.5 10,012.8 9,159.4 9,369.5
8,498.5 8,173.2 8,575.9
9,867.4 9,917.8
0
1,000
2,000
3,000
4,000
5,000
6,000
7,000
8,000
9,000
10,000
11,000
12,000
Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนา
ระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center, IoT และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้มีการผลิตและคำสั่งซื้อในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย
สินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, แผงวงจร (PWB), Semiconductor devices transistor, วงจรรวม (IC) และ HDD และมีมูลค่า
การส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ยุโรป และจีน
18
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 350,000 คัน โดยแบ่งเป็นการ
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ
45-50
การผลิตรถยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 465,833 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 0.25 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 2.68
(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ
36 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 62 และรถยนต์
เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 188,463 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 26.78 (%QoQ) และ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.64
(%YoY)
การส่งออกรถยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 258,108 คันเพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 20.39 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.13
(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง
ร้อยละ 34 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 60 และรถ PPV
ร้อยละ 6
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 2,711.20 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 9.83
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 17.91 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 2,913.16
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ร้อยละ 10.95 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 11.13 (%YoY) โดยตลาดนำเข้า
ที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่
ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
453,682
152,450
356,255
464,687 465,833
200,064
128,540
206,125
257,381
188,463
250,281
100,269
170,907 214,385
258,108
1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
2,299.29
1,171.39
1,886.65
2,468.57
2,711.20
2,621.36
1,826.55 1,937.61
2,625.70
2,913.16
1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q2563 1Q 2564
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการ
จำหน่ายในประเทศมีการขยายตัวอันเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโควิด-19 ของภาครัฐ ส่งผลให้การดำเนินกิจการและ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งตลาดส่งออกมีการขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการ
วัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศเริ่มทยอยออกมา
19
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณ
การในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 470,000 คัน
โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิต
เพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
การผลิตรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 516,360 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 3.00 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.68
(%YoY)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 435,443 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 17.61 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.09
(%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 269,472 คัน
(เป็นการส่งออก CBU 111,039 คัน และ CKD 158,433
ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 25.60
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 5.71 (%YoY)
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 295.65 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 30.12
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 27.72 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น กัมพูชา และ
บราซิล
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 265.88 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 40.64
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 25.00 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและจีน
475,130
207,385
431,500
501,304 516,360
430,730
301,249 413,888
370,229 435,443
254,925
100,963
156,703
214,561
269,472
1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
231.49
108.64
144.26
227.21
295.65
212.72 133.86
135.52
189.05
265.88
1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q2563 1Q2564
มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการ
ควบคุมและป้องกันโควิด-19 ของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19
20
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 11.45
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่หดตัวร้อยละ 1.74
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิต
ที่หดตัว เช่น สบู่และเครื่องบำรุงผิว และยาสระผม
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ
7.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว
ร้อยละ 3.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้าที่ขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี และแป้งฝุ่น
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า
2,351.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.75 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ
19.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเครื่องสำอาง
ตลาดส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
และเวียดนาม
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่ารวม
4,324.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.57 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 13.70
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ผลิตภัณฑ์
หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และสารลดแรงตึงผิว
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 การนำเข้าและการส่งออกอาจขยายตัวจากมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่ทั้งนี้ อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงระลอกใหม่
ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม อย่างไรก็ดีสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัวได้ไม่มาก
มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า
21
อุตสาหกรรมพลาสติก
การผลิต และการตลาด
ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ
2.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่
หดตัวร้อยละ 4.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัว
ร้อยละ 2.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)
แต่หดตัวร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมาก
ที่สุด ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า
1,120.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.90
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว
ร้อยละ 6.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัว
สูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922)
มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า
1,322.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.39
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว
ร้อยละ 11.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด
ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก ? การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์
พลาสติกทั้งในประเทศและต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ
อุตสาหกรรม ทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ที่ยังคงผันผวน
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว
ตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบใน
ตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มี
ความต้องการพลาสติกบางประเภทเพิ่มขึ้น
22
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การผลิตและการจำหน่าย
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 114.13 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.78 โดยสินค้าที่ส่งผลให้
ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP resin
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 111.51 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.79 โดยสินค้าที่ส่งผล
ให้ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin
และ PE resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 3,108.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
22.05 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของ
กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 เช่น Ethylene, Toluene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.52 เช่น
PP resin และ PE resin เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 1,636.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
15.52 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้า
เพิ่มขึ้น ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Toluene และ Propylene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ
PP resin เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2564
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยจากเศรษฐกิจ
หลายประเทศ เริ่มกลับมาหลังจากหยุดชะงักหลังจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความต้องการสินค้า หรือการดำเนินการในหลาย
ภาคส่วนเพิ่มขึ้นบ้าง
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.78 และ
10.79 (%YoY) และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ร้อยละ 8.4 และ 10.5 (%QoQ) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มีการฉีดวัคซีน
ในหลายประเทศ ประกอบกับหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้การผลิตและการส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้
ปรับขยายตัวดีขึ้น
23
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2564
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟต์) ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์
จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมาก และยังได้อานิสงส์ตามการ
ใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์ประกอบกับเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่ม
เยื่อกระดาษ สำหรับกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ จะขยายตัวได้ไม่มาก
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 กำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม
จำนวน 4 รายการ ได้แก่ หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์ แอลกอฮอล์และเจลล้างมือ เศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้อีก จะใช้บังคับเป็น
ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตในประเทศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตกระดาษในประเทศบางส่วนยังมี
ความจำเป็นต้องนำเข้าเศษกระดาษและกระดาษใช้แล้ว เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าและในประเทศมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตามการควบคุม
สินค้าดังกล่าวควรกำหนดมาตรการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ผลิตในประเทศ
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
?
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
การผลิต การผลิตในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ในกลุ่มเยื่อกระดาษและ
กระดาษ เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ขยายตัวทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่
เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน และ
กล่องกระดาษลูกฟูก ยกเว้นกระดาษคราฟต์ เนื่องจากมีการนำเข้า
ค่อนข้างมาก ซึ่งขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 22.92 และเมื่อเปรียบเทียบ
(%YOY) การผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ และ
กระดาษลูกฟูก ซึ่งล้วนแล้วแต่นำมาผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นใช้
สำหรับส่งของทางออนไลน์ในยุคสถานการณ์ปัจจุบันจากการระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19
การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1
ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออกรวม 538.71
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.71 จากเยื่อกระดาษ โดยมี
ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าหลัก และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่า
การส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.31 จากเยื่อกระดาษที่ส่งออกเพิ่มสูง
ถึงร้อยละ 102.63 ซึ่งกว่าร้อยละ 80 ส่งออกไปยังประเทศจีน และกลุ่ม
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ขยายตัวร้อยละ 1.82 มีเวียดนาม และ
อินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกหลัก
การนำเข้า เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1
ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 787.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบ
เทียบ (%QoQ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.21 จากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษ
และผลิตภัณฑ์ และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.48
จากการเพิ่มขึ้นของเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และสิ่งพิมพ์ อย่างไร
ก็ตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก
โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระดาษยังนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากวิถีการ
ดำรงชีวิตปรับเปลี่ยนไปจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด-19 การผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการ
นำเข้า
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ขยายตัวทุกผลิตภัณฑ์
ยกเว้นกระดาษคราฟต์ และ (%YoY) พบว่า การผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ และกระดาษลูกฟูก ซึ่งล้วน
แล้วแต่นำมาผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ สำหรับการส่งออกและนำเข้ามีมูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทีม?? : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื??อสาร กระทรวงพาณิชย์
24
อุตสาหกรรมเซรามิก
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน
และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน
2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์
การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต
35.09 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 13.85
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.87 (%YoY)
เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อจากตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ
อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์
มีปริมาณการผลิต 1.91 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ
3.92 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.42
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การจำหน่าย 44.06 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ร้อยละ 13.47 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.37 (%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน
0.87 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 7.71 แต่เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.33 จากความต้องการของตลาด
ในประเทศที่ได้รับผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และ
มาตรการส่งเสริมการจำหน่ายของผู้ประกอบการ
การส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
มีมูลค่า 27.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ร้อยละ 7.79 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.12
ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 59.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 2.39 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 15.52 โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ ประเทศ
สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 2 ของปี 2564
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 2 ของปี 2564 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามความ
ต้องการของตลาดภายในประเทศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาด
ของผู้ประกอบการ รวมทั้งการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการส่งออก
เครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมี
แนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ตามห้องปฏิบัติการและผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา
จีน และญี่ปุ่น
ปริมาณการผลิต กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวจากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศ
คู่ค้า ส่วนปริมาณการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกขยายตัวตามความต้องการของผู้บริโภค โดยตลาดหลักในการส่งออกยังคงเป็นประเทศ
สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2 ของปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดภายในประเทศ
และการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออก
25
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564
มีจำนวน 11.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ร้อยละ 10.77 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 2.17 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 10.43 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 12.11 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.61 (%YoY)
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาส ที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่าจากการส่งออก 87.78 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.04 (%QoQ) เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 3.07 โดยเพิ่มขึ้นจากตลาดเมียนมาถึง
ร้อยละ 31.35 โดยอาจเป็นผลจากหลังการเกิดรัฐประหาร
ในประเทศ กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ออก
ประกาศให้สินค้านำเข้าและส่งออกบางรายการไม่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก (Import Export License) เป็นการชั่วคราว
เพื่อเพิ่มความสะดวกให้นักธุรกิจส่งออกและนำเข้าสินค้าหลายชนิดซึ่งรวมถึงสินค้าปูนซีเมนต์ด้วย ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวม
ปูนเม็ด) มีมูลค่า 20.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 36.70 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.48 โดยลดลงจาก สปป.ลาว และจีน ร้อยละ 0.54 และ 0.16 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการ
ผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะปรับตัวลดลงเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลับมาระบาดต่อเนื่องจากปลายไตรมาสที่ 1
และมีแนวโน้มระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ประชาชนงดกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น เช่น การออกไปทำงาน การออกไปจับจ่ายสินค้า
ท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลกำลังพิจารณาต่ออายุมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อให้ประชาชน โดยคาดว่าจะพิจารณาในเดือนพฤษภาคม
ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาผลกระทบให้เบาบางลงได้ สำหรับตลาดส่งออกหลักของไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่าจะมีผลให้การส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยหดตัวลงต่อไป
ปริมาณอุตสาหกรรการผลิต....ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560......เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เป็นผลจาก.
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเริ่ม
ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างดี ส่วนการส่งออกในไตรมาสนี้มีอัตราขยายตัวดีจากตลาดเมียนมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่
กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ออกประกาศให้สินค้าปูนซีเมนต์และสินค้าอื่นบางรายการไม่ต้องขอใบอนุญาตเพื่ออำนวยความ
สะดวกแก่การนำเข้าส่งออก
26
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตและจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง
ร้อยละ 11.98 17.25 และ 19.74 (%YoY) เนื่องจากการบริโภค
ในประเทศชะลอตัว ประกอบกับการส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบ
กับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2563 พบว่า การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (%QoQ)
ขยายตัว ตามประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จาก
การฉีดวัคซีนที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ด้านการจำหน่ายในประเทศของ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ลดลง ร้อยละ 4.86 16.45
และ 22.97 (%YoY) ปัจจัยหลักมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
ชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบ
กับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกในช่วงแรกชะลอตัว
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,568.85
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.20 (%YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า
พบว่า กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,009.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ
3.39 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 559.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
8.29 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังได้รับผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 แม้จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ เช่น
สหรัฐอเมริกา และจีน ที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับความไม่สงบ
ทางการเมืองในเมียนมา ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2563
พบว่า การส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในประเทศคู่ค้าสำคัญ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ
และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัว ร้อยละ 19.96 และ 7.20 (%QoQ) ตามลำดับ
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,266.07
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.57 (%YoY) เนื่องจาก
คำสั่งซื้อจากต่างประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มกลับมา ทำให้ผู้ประกอบการ
เพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 การผลิต การจำหน่ายในประเทศ และส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน โดยยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
การผลิตเส้นใยและเครื่องนุ่งห่มสามารถขยายตัวได้จากการที่ประเทศไทยและคู่ค้าสำคัญที่เริ่มฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2564
การผลิต การส่งออก และการนำเข้า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่าจะทรงตัว
จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 1
ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าในหลาย
ประเทศมีสถานการณ์ที่คลายตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังการฉีดวัคซีนในวงกว้าง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ
หลายประเทศเริ่มส่งผลในทางบวก
27
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ใน
ประเทศ (ล้านชิ้น)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 1 ปี 2564 มีจำนวน 2.75
ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.36 และ 43.98 จากไตรมาสที่ผ่านมา
และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากการ
ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2564
มีจำนวน 0.35 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
พบว่า ลดลงร้อยละ 10.26 จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ
ที่ยังคงชะลอตัว
? การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 1 ปี 2564 มีมูลค่ารวม
994.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.08 และ 22.54 จาก
ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และ
ผ ล ตภ ณฑ์แผ่น ไม ม มูลค 317.74 35.70 แล 640.82
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.59 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ปรับ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์
แผ่นไม้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.48 ทั้งนี้ในภาพรวมการส่งออกไม้
และผลิตภัณฑ์ไม้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีนและ
สหรัฐอเมริกา
แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์
ว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้น
1.91 1.95
2.41 2.61 2.75
0.39 0.33 0.33 0.30 0.35
0
1
2
3
4
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
811.36
706.18
839.95
937.28
994.26
0
200
400
600
800
1,000
1,200
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
เครอ?? งเรือนและชน?? ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม
ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม มูลค่ารวม
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศมีปริมาณ
ลดลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
28
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณ 13,063.83 ตัน ลดลง
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.28 โดยเป็นการชะลอตัว
ของการผลิตยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด และยาครีม ซึ่งหดตัวร้อยละ
20.95 23.10 47.06 และ 16.81 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อ
จากร้านขายยาที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 9,307.89 ตัน
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.49 โดยเป็นการ
ชะลอตัวของการจำหน่ายยาทุกชนิด ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ ยา
แคปซูล ยาฉีด ยาครีม และยาผง ซึ่งปรับลดลงร้อยละ 17.53
28.85 13.07 54.53 17.68 และ 23.55 ตามลำดับ ในภาพรวม
ตลาดยาในประเทศโดยเฉพาะในส่วนของร้านขายยาหดตัวลง
ค่อนข้างมาก เนื่องจากการใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ และการดูแล
ตนเองตามมาตรการอื่นของรัฐ ทำให้คนไทยเป็นหวัดลดลง
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 95.32 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.00 โดย
เป็นการขยายตัวที่ดีในตลาดเวียดนาม ลาว จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง
สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 420.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.73 โดยเป็นการนำเข้ายา
จากเยอรมนี ฝรั่งเศส เปอร์โตริโก ญี่ปุ่น และอิตาลี ลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
การผลิตยาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 คาดว่าจะชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการหดตัว
ต่อเนื่องของตลาดในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของร้านขายยา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ
เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา
รัฐบาลไทยได้ลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้า และสัญญาการจัดซื้อวัคซีน จำนวน 26 ล้านโดส
กับบริษัท AstraZeneca จำกัด โดยขณะนี้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ผู้ผลิตยาชีววัตถุรายใหญ่ของไทย อยู่ระหว่างรับถ่ายทอด
เทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาชีววัตถุ ชั้นนำของโลก โดยคาดว่าจะ
สามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวออกสู่ตลาดได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรรวมถึงการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม
การผลิตยาของไทยต่อไป
0
5,000
10,000
15,000
20,000
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
0
100
200
300
400
500
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
การส่งออก การนำเขา
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตามความต้องการใช้ยาที่ปรับลดลง จากการที่ประชาชนมีการป้องกันตนเองจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ตามมาตรการของภาครัฐ ในขณะที่ยังมีการขยายตัวที่ดีในตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม ลาว และจีน
ตามลำดับ
29
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุง
มือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 0.54 ล้านตัน 15.44 ล้านเส้น
และ 8,150.96 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงร้อยละ
3.00 เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติเข้าสู่ตลาดลดลง
ในขณะที่การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.85 และ 15.49 ตามลำดับ ตามการขยายตัวที่ดีของ
ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีจำนวน 0.13 ล้านตัน 11.52 ล้านเส้น
และ 501.70 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มี
ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72 และ 7.32 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์
และตลาด Replacement ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยาง
มีปริมาณลดลงร้อยละ 51.61 ตามการปรับลดการจำหน่ายผ่าน
พ่อค้าคนกลางลงของผู้ผลิตในประเทศ
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 1,440.82 1,593.90 และ 1,068.69
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.13 11.98 และ 229.99 ตามลำดับ ตามการ
ขยายตัวของตลาดที่สำคัญของไทย เช่น จีน มาเลเซีย
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ยานยนต์ในประเทศและตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.00 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น
ทั่วโลก สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
การยางแห่งประเทศไทยมีการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000
ล้านบาท เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง และพัฒนาอุตสาหกรรม
ยางพาราทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการอื่น ๆ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th
6,000
8,000
10,000
0
5
10
15
20
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม (ลา นตัน) ยางรถยนต์ (ลา นเสน้ )
ถุงมือยาง (ลา นชน?? )
3.36
-27.87
1.13
31.75
47.06
-40.00
-20.00
0.00
20.00
40.00
60.00
0
500
1,000
1,500
2,000
Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต์
ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว (YOY)
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและ
ต่างประเทศ การผลิตและส่งออกถุงมือยางขยายตัวตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก และการผลิตและส่งออกยาง
แปรรูปขั้นปฐมขยายตัวจากการส่งออกไปยังตลาดจีนและมาเลเซียเป็นหลัก
30
อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตลดลง
ร้อยละ 11.55 เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทาง* และ
รองเท้า ปรับตัวลดลง ร้อยละ 35.59 และ 16.41 ตามลำดับ
จากความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่าย
ในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงในทุกผลิตภัณฑ์
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับ
เดินทาง และรองเท้า ลดลงร้อยละ 7.71 15.04 และ 8.33
ตามลำดับ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมีตลาดส่งออก
สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก ฮ่องกง และจีน
การนำเข้า ไตรมาส 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 477.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หนังดิบและหนังฟอก มีมูลค่า 190.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.97
กระเป๋า มีมูลค่า 131.20 ลดลงร้อยละ 2.96 และ รองเท้า
มีมูลค่า 155.70 ลดลงร้อยละ 6.07 ตามลำดับ ผลกระทบจาก
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภค
ระมัดระวังการใช้จ่าย
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 2 ปี 2564
การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิตกระเป๋าเดินทาง และ
รองเท้า ยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงทั้งจากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก อย่างไรก็ตาม
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากการค้นพบวัคซีนและทั่วโลกได้เร่งการนำ
วัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาด
รอบใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด ? 19 ที่มีการแพร่ระบาดและการติดเชื้ออย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาวะ
เศรษฐกิจที่จะชะลอตัวอีกครั้ง
40.00
60.00
80.00
100.00
120.00
140.00
160.00
Q1/2563 Q2/2563 Q3/2563 Q4/2563 Q1/2564
ดัชนีผลผลิต
การฟอกและตกแต่งหนงั ฟอก การผลิตกระเป๋ เดินทาง* การผลิตรองเท้า
0.00
50.00
100.00
150.00
200.00
Q1/2563 Q2/2563 Q3/2563 Q4/2563 Q1/2564
มูลค่าการส่งออก การนำเข้า
การส่งออก เครอ?? งใชส้ หรับเดินทาง
การนำเขา กระเป๋
การส่งออก รองเทา และชน?? ส่วน
การนำเขา รองเทา
การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด
การนำเขา หนังดิบและหนังฟอก
ไตรมาส 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก กระเป๋าเดินทาง*
และรองเท้า มีการผลิตลดลง ตามความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และยังมีความกังวล
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
31
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 1 ปี 2564
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.82 เนื่องจากการผลิตเครื่องประดับแท้ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.88 ส่วนการผลิตเพชร และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ
39.39 และ 18.63 ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด?19 ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย
การจำหน่าย
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาส 1 ปี 2564
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณที่ลดลง
ในทุกผลิตภัณฑ์ คือ เพชร เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับ
เทียมลดลงร้อยละ 22.37 10.79 และ 0.46 เนื่องจากผู้บริโภค
ระมัดระวังการใช้จ่ายและมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ในปัจจุบัน
การส่งออก
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 1 ปี 2564
เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม
1,357.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 13.19 จากมูลค่า
การส่งออก พลอย และเครื่องประดับแท้ ลดลงร้อยละ 39.65
และ 30.88 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง
และอินเดีย แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
ในภาพรวม มีมูลค่ารวม 1,806.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 66.78
แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 2 ปี 2564
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่ายังมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เป็นผลจากสถานการณ์
ทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าการผลิตมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ที่มีการกลายพันธุ์เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อ
ภาพรวมทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ในบางประเทศ เช่น อินเดีย และบราซิลพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นมากติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ภายในประเทศภาครัฐได้มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ สำหรับมูลค่าการส่งออก (ไม่รวม
ทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่าจะยังมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย สำหรับการนำเข้าในภาพรวมคาดว่าจะมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทองคำยังไม่ขึ้นรูป เนื่องจากราคาตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเกิดการเก็งกำไรจากการซื้อขายทอง
81.84
46.13
76.29
77.95 82.84
80.99
47.78
78.22 79.64 72.67
-
20.00
40.00
60.00
80.00
100.00
40.00
60.00
80.00
100.00
120.00
Q1/63 Q2/63 Q3/63 Q4/63 Q1/64
ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า
1,563
662
1,136 1,507
1,357
5,437
4,635
6,053
2,082 1,806
-
2,000
4,000
6,000
8,000
Q1/63 Q2/63 Q3/63 Q4/63 Q1/64
มูลค่าการส่งออก
(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ไม่รวมทองคำรวมทองคำ
ไตรมาส 1 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายอัญมณีและ
เครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวลดลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้
ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับการส่งออก มีมูลค่าลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อยู่ใน
ภาวะชะลอตัว
32
อุตสาหกรรมอาหาร
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562
ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.
ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 122.1 ขยายตัว
ร้อยละ 2.4 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้า
อาหารที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 17.8
เนื่องจากมีคำสั่งซื้ออาหารแมวอย่างต่อเนื่องจากตลาดอเมริกา การขยายช่องทาง
จำหน่ายออนไลน์ของผู้ประกอบการ ประกอบกับความนิยมในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่
เติบโตขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ สับปะรดกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ
13.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดหลักอเมริกา ข้าวโพดหวานกระป๋อง
ขยายตัวร้อยละ 12.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้
ไต้หวัน กุ้งแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 9.6 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดใน
ประเทศ น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 6.8 เนื่องจากการปิดหีบปี 2563/2564 ช้ากว่าปี
ที่ผ่านมา ประกอบกับผลผลิตอ้อยสดมีคุณภาพดี ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตัน
อ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น และ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 5.3 เนื่องจาก
มันสำปะหลังเป็นสินค้าทดแทนข้าวโพด จากการที่ราคาข้าวโพดในจีนปรับตัว
สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณ
64,930 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 3.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของ
ผู้บริโภค เช่น โครงการคนละครึ่ง เราชนะ สำหรับสินค้าบางประเภทที่
มีการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ กุ้งแช่แข็ง
น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ กะทิ ซีอิ๊ว ปลาแช่แข็ง ผักผลไม้แช่แข็ง ปลาหมึก
แช่แข็ง รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป
การส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 7,104.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขยายตัวร้อยละ 0.3 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากสินค้าสำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจำนวน
มากจากจีน เพื่อนำไปใช้ผลิตเอทานอล ทดแทนข้าวโพดที่มีราคาสูง
รองลงมาคือ สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาด
ส่งออก เช่น อเมริกา แคนาดา และรัสเซีย รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง
เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธุรกิจ
อาหารสัตว์เลี้ยงของไทยได้รับจ้างผลิต (OEM) ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับ
โลก
การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 4,703.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขยายตัวร้อยละ 6.1 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากการนำเข้าปลาทูน่า เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวของ
อุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับ
การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ
กากพืชน้ำมัน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 คาดว่าดัชนี
ผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตร
ที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด
ปาล์มน้ำมัน มีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคในตลาดคู่ค้าหลัก
ได้แก่ จีน อเมริกา และยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจาก
ความสามารถในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 โดยคาดว่าสินค้า
อาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง
แป้งมันสำปะหลัง ผักและผลไม้แช่แข็ง เครื่องปรุงรส อาหารสัตว์เลี้ยง
สำเร็จรูป จะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภค
ในประเทศและเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัว ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ เช่น สับปะรด มันสำปะหลัง มีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มี
วัตถุดิบที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร โดยผลผลิตสินค้าอาหารที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดกระป๋อง
กุ้งแช่แข็ง น้ำตาล และแป้งมันสำปะหลัง สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวเล็กน้อยจากสินค้าสำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง
อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น
0
20
40
60
80
100
120
140
0
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
ดัชนีผล ผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้า อุตสาหกรรม
อาหารไต รม ส 1 ปี 2564
สง่ ออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จำหน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)
ปริมาณจำหน่าย (พันตัน)
มูลค่าส่งออก/นำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ดัชนีผลผลิต (MPI)
33
รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ
หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์
? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่
1/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2564
? อุตสาหกรรมรายสาขา
กว.
0-2430-6806
? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
กร. 1
กร. 1
0-2430-6804
0-2430-6804
? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2430-6805
กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2



          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ