สรุปสถานการณ์การผลิตภาค
อุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 การผลิตภาค
อุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของ
อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ
อุตสาหกรรมการผลิต
ยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตจักร
ยานยนต์ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 57.4
และแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและ ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 หดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาขา
อุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ
อุตสาหกรรมการผลิต
ยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และ
อุตสาหกรรมการผลิตจักร
ยานยนต์ ดังนี้
อุตสาหกรรมการผลิต
ยานยนต์หดตัวร้อยละ 9.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการระบาดโควิด-19 ในคลัสเตอร์โรงงานผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) ที่ใช้ใน
อุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วน จากต่างประเทศประสบปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามเป้าหมาย
อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 6.8เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงกว่าปีก่อนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำมันชะลอตัวลง เช่น การผลิต การขนส่ง และการเดินทาง ส่งผลกระทบทำให้การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศลดลง
อุตสาหกรรมการผลิตจักร
ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 45.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของตลาดในประเทศลดลง เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนมีรายได้และกำลังซื้อลดลง รวมถึงประเทศคู่ค้า ในกลุ่มอาเซียนชะลอการนำเข้าจักร
ยานยนต์ ทำให้ส่งออกได้น้อยลง
สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 12.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจากการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เป็นส่วนประกอบในสินค้าสมัยใหม่ เช่น เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์รถยนต์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.1เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศเริ่มคลี่คลายลง ทำให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ ส่งผลทำให้ความต้องการ ใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานขยายตัวร้อยละ 11.9เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลของฐานต่ำจากสถานการณ์โควิด-19 ในปีก่อนที่มี ความต้องการใช้เหล็กอย่างจำกัด ในขณะที่ปีนี้อุตสาหกรรมเหล็กมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ผู้ผลิต ในอุตสาหกรรมปลายน้ำโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม