ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 24, 2022 14:03 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2565

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

เล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่

อุปทานโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบบางรายการ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ

ทยอยปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวต่อเนื่อง

เป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน นอกจากนี้ดัชนีในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน อาทิ

เครื่องประดับ อัญมณี รองเท้า กระเป๋า และเบียร์

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมีนาคม 2565 การผลิตขยายตัว

ร้อยละ 0.4 เดือนเมษายน หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.03 และเดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 2.0

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 8.1 เดือนเมษายน

หดตัวร้อยละ 17.0 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 7.6

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 30.63 จากความต้องการที่ลดลง รวมถึงมีการยกเลิกการผลิตสินค้าเก่า

ในบางรุ่น

? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.35 จากการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย

? เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 16.72 จากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงทำให้

ลูกค้าใช้เหล็กที่มีอยู่ในคลังสินค้าแทนการสั่งซื้อเพิ่ม รวมถึงผู้ผลิตส่วนหนึ่งงดผลิตสินค้าบางรายการชั่วคราวและ

ระบายสินค้าเก่าที่มีอยู่แทน

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? การกลั่นปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.53 ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การเปิดประเทศ

รับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19

? เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.26 จากการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นหลัก ตามการ

ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประกอบ

กับภูมิอากาศแปรปรวนและมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2565

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่า 1,641.5

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องจักรที่ใช้ในการ

ก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องยนต์ เพลา

ส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่า 10,988.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17

จากอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์

กึ่งตัวนำ เหล็กและเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 176 โรงงาน เพิ่มขึ้นจาก

เดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 8.64 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.12

(%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่ารวม 9,758

ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 52.59 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อนร้อยละ 79.69 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการทำ

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน

ทั้ง 2 อุตสาหกรรม จำนวน 22 โรงงาน เท่ากัน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก

พลังงานแสงอาทิตย์ ยกเว้นที่ติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า จำนวนเงินทุน 1,423 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวนเงินทุน 771 ล้านบาท

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 139 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 75.95 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 117.19

(%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่ารวม 2,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน

พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 99.82 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.85 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2565 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทรายจำนวน 14 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมิถุนายน 2565 คือ อุตสาหกรรม

การทำอุปกรณ์ติดตั้ง หรือเต้าเสียบหลอดไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้า ตัวต่อตัวนำ มูลค่าเงินลงทุน 422 ล้านบาท รองลงมา

คือ อุตสาหกรรมการทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ มูลค่าเงินลงทุน 270

ล้านบาท?

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2565

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนมิถุนายน

2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้

1) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 16.8 จากสินค้าสำคัญคือ แป้ง

มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 16.3 เนื่องจากความต้องการบริโภค

ของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาด

หลัก เพื่อใช้ทดแทนในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น

อย่างต่อเนื่อง 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 14.5 จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 26.6 เนื่องจากความ

ต้องการบ ริโภ ค ใน ป ระเท ศ เพิ่ม ขึ้น รวม ถึงการที่ป ระเท ศ

ผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น อินเดีย ระงับการส่งออกเพื่อกันไว้บริโภค

ในประเทศ 3) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.2 จากสินค้า

สำคัญคือ ข้าวโพดหวานกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 89.4 เนื่องจาก

มีการเร่งการผลิตข้าวโพดหวานกระป๋องหลังการเก็บเกี่ยว สับปะรด

กระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 23.0 เนื่องจากวัตถุดิบสับปะรดมีปริมาณ

เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการบริโภคทั้งตลาดในและต่างประเทศ

โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และแคนาดา

4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็ง

และแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 6.2 เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการ

ต่างๆ ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและ

ต่างประเทศ รวมถึงการที่มาเลเซียระงับการส่งออกไก่ ทำให้ตลาด

ต่างประเทศมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนมิถุนายน 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 4.1

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น 1) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ

99.0 2) อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง ขยายตัวร้อยละ 29.5 3) เบียร์

ขยายตัวร้อยละ 25.5 4) เนื้อไก่สุกปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 17.6

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2565

ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญคือ ข้าว เนื่องจากราคา

ส่งออกข้าวของไทยปรับตัวลดลง จากปริมาณสต๊อกข้าวสะสมในประเทศที่มี

ปริมาณมาก โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อิรัก สหรัฐอเมริกา 2) ไขมันและน้ำมัน

จากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากราคาน้ำปาล์มดิบ

ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ผลิตส่งออกน้ำมันปาล์มดิบอย่างต่อเนื่อง

3) น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย ในตลาด

อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และ 4) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้สด

แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญ

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนกรกฎาคม 2565 ในภาพรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐ รวมถึงนโยบายเปิดประเทศ ทำให้

มีนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม

ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่งจะส่งผล

กระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้ม

หดตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้คำสั่งซื้อ

จากประเทศคู่ค้าชะลอตัว

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

110.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ

มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์ โดยเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 21.1, 14.7, 4.4 และ 3.8 ตามลำดับ เนื่องจาก

เครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และ

มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์ มีการจำหน่าย

ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้า

ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน เตาอบไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล

หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า ตู้เย็น และพัดลมตามบ้าน โดย

ลดลงร้อยละ 46.8, 41.5, 38.4, 33.8, 25.1, 17.9, 11.9 และ 9.9

ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟ ฟ้า มีมูลค่า 2,462.3

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม

เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9

หม้อแปลงไฟ ฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 แผงสวิทซ์

และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 มอเตอร์และเครื่อง

กำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง

ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เครื่องตัดต่อและ

ป้องกันวงจรไฟฟ้า ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ และเตาอบ

ไมโครเวฟ

?คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2565 อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1.0-3.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบ

จากสถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างต่อเนื่อง?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

97.1 ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โด ยสินค้าที่ป รับตัวลดลง ได้แก่ HDD แล

Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 30.4

และ 4.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศลดลงและ

คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ได้แก่ Printer, PWB และ IC โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.2, 5.9 และ

4.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศ

และต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,394.7

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD

มีมูลค่า 1,588.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 828.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา

และสิงคโปร์ ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ วงจรพิมพ์

มีมูลค่า 131.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา และจีน และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และ

ไดโอด มีมูลค่า 249.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.6

ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2565 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ

0.5-2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก

สถานการณ์เงินเฟ้อที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระ

ต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ใน

การผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้

ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้สินค้า

อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกได้?

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 มีจำนวน

143,016 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ 10.67

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.53

(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์

และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน

ปี 2565 มีจำนวน 67,945 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 ร้อยละ 4.96 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 4.93 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่าย

รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ

ผลกระทบจากโควิด-19 การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุน

เข้าประเทศได้ การประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้ง การเริ่มกลับมา

ดำเนินชีวิตตามปกติใกล้เคียงกับช่วงก่อนมีการระบาดของโควิด-19

การส่งออก รถ ยนต์ ใน เดือน มิถุนายน ปี 2565

มีจำนวน 73,887 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2565

ร้อยละ 3.96 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 11.00 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในตลาดเอเชีย

โอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน

กรกฎาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2564

เนื่องจากฐานการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ต่ำ จากการ

ล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่รุนแรง"

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2565

มีจำนวน 156,540 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 ร้อยละ 0.89 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 9.89 (%YoY) จากการลดลงของการผลิต

รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน

ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 174,281 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

พฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ 7.35 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.18 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด

จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 111-125 ซีซี และ 126-250 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2565

มีจำนวน 25,061 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ

12.16 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

51.93 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในประเทศจีน

สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม

ปี 2564 เนื่องจาก ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม

ปี 2564 ต่ำ จากการล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19

ระลอกสามที่รุนแรง? 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 จากการขยายตัวของการผลิตยางแท่ง

และยางแผ่น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 จากการเพิ่มขึ้น

ของการผลิต ยางรถยนต์นั่ง ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร

และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 ตามการขยายตัวที่ดี

ของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

ลดลงร้อยละ 6.64 เป็นผลจากความต้องการยางแผ่น

ยางแท่ง และน้ำยางข้นที่ลดลง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.32 ตามการชะลอตัวของ

ตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 28.00 จากความต้องการใช้

ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยาง

ข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.11 เป็นผลจากการขยายตัว

ของการส่งออกยางแท่งไปตลาดเกาหลีใต้และน้ำยางข้น

ไปตลาดจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17 จากการ

ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียและญี่ปุ่น

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 53.03 จากราคาของ

ถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2565

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิต

เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

สำหรับการผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการ

ยางรถยนต์ในตลาดต่างประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การ

จำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวตามการเติบโต

ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วนของการผลิตและ

จำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะขยายตัวจากความ

ต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่น่าจะเพิ่มสูงขึ้น

จากแน วโน้ม การกลับม แพ ร่ระบ ดของโรคโควิด-19

สายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกไปยัง

ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับ

การส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก

แนวโน้มการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา

และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ในส่วนของการส่งออก

ถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่องจากฐานตัวเลข

การส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง และราคาของถุงมือ

ยางที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2565

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2565 ดัชนีผลผลิตหดตัว

ร้อยละ 9.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิต

หดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบ

พลาสติก หดตัวร้อยละ 23.41 กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก

หดตัวร้อยละ 16.76 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ

11.34

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน ปี 2565 ดัชนีการส่งสินค้า

ขยายตัวร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

ขยายตัวร้อยละ 22.85 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 12.95 และ

ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 6.67

การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2565 มีมูลค่า 431.51

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 14.56 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น

กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 142.53

กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 42.79 และ

กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น

แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 38.30 การส่งออก

ขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ

มาเลเซีย

การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2565 มีมูลค่า 472.42

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้า

ขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณ ฑ์เครื่องประกอบของอาคาร

(HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 52.16 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว

(HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 35.91 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้

ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 16.66

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกรกฎาคม ปี 2565

สถานการณ์พลังงานที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย

สินค้าต่าง ๆ เริ่มมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าสินค้าจะทยอย

แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่เกี่ยวข้องลดลงตามความต้องการของผู้บริโภค เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า 6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ

107.96 ขยายตัวร้อยละ 11.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 17.02

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล ขยายตัว

ร้อยละ 78.72 กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 8.81 และโซดาไฟ

ขยายตัวร้อยละ 3.45 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัว

ร้อยละ 9.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์

ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ น้ำยาล้างจาน ขยายตัวร้อยละ

33.48 ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 31.95 และสบู่และเครื่อง

บำรุงผิว ขยายตัวร้อยละ 13.62

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ

106.53 ห ดตัวร้อยละ 3.73 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

หดตัวร้อยละ 2.18 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่

คลอรีน หดตัวร้อยละ 6.66 และโซดาไฟ 3.97 โดยกลุ่ม

เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 4.10 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการ

หดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 35.33 ยาสระผม หดตัว

ร้อยละ 11.30 และปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 10.80

การส่งออก เดือนมิถุนายน 2565 มูลค่าการส่งออกรวม

969.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.20 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า

การส่งออก 589.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.23

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 380.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 10.19 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น

เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 40.87 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

ขยายตัวร้อยละ 29.32 และเครื่องสำอาง ขยายตัวร้อยละ 11.23

การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และ

เวียดนาม

การนำเข้า เดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่าการนำเข้า

รวม 2,109.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 15.06

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการนำเข้า 1,289.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อ ย ล 19.92 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดียวกัน ข องปีก่อ น

ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 819.34 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกรกฎาคม 2565

ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ลดระดับ

การเตือนภัยโควิด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทยอย

กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว

ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ตามยังคง

ต้องติดตามราคาพลังงานโลกที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของ

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 98.77 หรือหดตัวร้อยละ

15.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลง

ร้อยละ 4.25 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 22.92 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ EPS

resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 51.25 และ 24.89

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 103.93 หดตัว

ร้อยละ 7.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

ปรับลดลงร้อยละ 2.36 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็น

ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 16.46

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย

ได้แก่ EPS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 50.63 และ

4.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2565 มีมูลค่า

1,121.23 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 4.99

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 2.49

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PS resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์*

การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2565 มีมูลค่า

624.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 0.46

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ

0.18 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัว

ร้อยละ 36.71 แต่หดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น

Propylene เป็นต้น ร้อยละ 6.50

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกรกฎาคม ปี 2565

คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก

โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ

Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคา

น้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลาย

ประเทศ จากสงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ การประท้วง

หยุดงานในเกาหลีและการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง

ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้น

ปริมาณการผลิต อีกทั้งประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงาน

โลกรายสำคัญ กำลังพิจารณ หยุดส่งก๊าซธรรมชาติ

ให้ประเทศในยุโรป นอกจากนี้การเข้าสู่ฤดูการเดินทาง

ในสหรัฐอเมริกายังกดดันให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2565

มีค่า 90.3 หดตัวร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลง ทำให้

ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการนำเข้า เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์

พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งเหล็กทรงยาวและ

เหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนี

ผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 83.8 หดตัวร้อยละ 21.3 ผลิตภัณฑ์

ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ

51.9 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน

หดตัวร้อยละ 32.5 และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น

หดตัวร้อยละ 26.7 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 97.3 หดตัวร้อยละ 16.0

ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม

หดตัวร้อยละ 39.4 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัว

ร้อยละ 19.9 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ

13.8

การบริโภคในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2565

มีปริมาณการบริโภค 1.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 7.0

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการบริโภค

ในกลุ่มเหล็กทรงยาว 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 17.5

จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัว

ร้อยละ 11.2 และเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 9.8 สำหรับ

เหล็กทรงแบนมีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน ขยายตัว

ร้อยละ 2.3 จากการบริโภคเหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ

56.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและ

ไม่เป็นม้วน ขยายตัวร้อยละ 3.4

การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2565 มีปริมาณ

การนำเข้า 1.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณ

การนำเข้า 0.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 27.6 จากการนำเข้า

ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 129.7 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมาคือ เหล็กลวด ชนิด Carbon

steel ขยายตัวร้อยละ 64.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ

มาเลเซีย จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย) และเหล็กลวด ชนิด

Alloy steel ขยายตัวตัวร้อยละ 25.5 (ประเทศหลักที่ไทย

นำเข้า คือ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณการนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากการ

นำเข้า เหล็กแผ่นรีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัว

ร้อยละ 126.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น และจีน)

รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและ

ไม่เป็นม้วน ประเภท Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 90.6

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน และญี่ปุ่น) และเหล็กแผ่น

บางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ประเภท Carbon

steel ขยายตัวร้อยละ 29.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ

จีน)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม

2565 คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตทรงตัวเท่ากับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจาก ราคาเหล็กมีแนวโน้มต่ำลง ผู้บริโภค

มีตัวเลือกในการซื้อเหล็กจากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่าการ

ผลิตในประเทศ ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม ได้แก่

การส่งออกเหล็กของรัสเซียมายังภูมิภาคตะวันออก ซึ่งคาดว่า

จะส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดเอเซียลดลง และอีกหนึ่งประเด็น

สำคัญคือ การดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็น

ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออก เหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจาก

ส่งผลต่อปริมาณการผลิต ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย? 9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 2.83 จากกลุ่มเส้นใย

โพลีเอสเตอร์ และผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 1.96 จากกลุ่มผ้าทอ

ใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ขยายตัวร้อยละ 8.55 จากกลุ่มเสื้อผ้ากีฬา ชุดออกกำลังกาย สูท

หรือชุดยูนิฟอร์มที่ขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยหลักเนื่องจากตลาด

ต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 จากความต้องการ

ของประเทศคู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหลักอย่าง

สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน หดตัวร้อยละ 1.19 และ 5.18

ด้วยกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบ

ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัว

สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยกลุ่มสินค้า

ฟุ่มเฟือย

เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 4.60 เนื่องจากการ

ผ่อนคลายข้อจำกัดสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการ

กระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใย ขยายตัวร้อยละ 34.17 และผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ

5.64 ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อ

ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป

การนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 34.12 จากจีน อิตาลี

เวียดนาม และกัมพูชา

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นเดือนที่ 16 ในตลาดหลัก

อย่าง สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และอินเดีย โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ

ผ้าผืน และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.02 18.95

และ 5.28 ตามลำดับ

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2565

คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัว

จากตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ประกอบกับโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาด

สหรัฐอเมริกาทดแทนการนำเข้าจากจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการ

ควบคุมโควิดจีน โดยรวมน่าจะส่งให้ความต้องการสินค้าแฟชั่น

เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบจากความยืดเยื้อของสถานการณ์

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัว

สูงขึ้นและภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่

รวมถึงโรคฝีดาษวานรที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉิน

ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน

ปี 2565 มีจำนวน 7.15 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 ร้อยละ 2.01 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 0.54 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

มิถุนายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.33 ล้านตัน

เพิ่ม ขึ้น จากเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ร้อยล 0.13

(% MoM) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการก่อสร้างโครงการ

ขนาดใหญ่ของภาครัฐ แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 6.74 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน

ปี 2565 มีจำนวน 0.85 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 ร้อยละ 67.95 (%MoM) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.68 (%YoY) โดยเป็นการ

ขยายตัวจากตลาดหลักศรีลังกาที่มีคำสั่งซื้อกลับมามาก โดย

เป็นส่วนของปูนเม็ด รวมถึงมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากจากตลาด

ส่งออกนอกตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกรกฎาคม 2565 คาดว่าจะ

ขยายตัวได้อีกเพื่อรองรับตลาดส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

มิถุนายน ปี 2565 มีจำนวน 3.63 ล้านตัน ลดลงจาก

เดือนพฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ 0.93 (%MoM) และ

ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.59 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.33

ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ

0.13 (%MoM) จากความต้องการที่อยู่อาศัยเริ่มฟื้นตัว

และได้แรงหนุนจากมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ แต่ลดลง

จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.59 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

มิถุนายน ปี 2565 มีจำนวน 0.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

พฤษภาคม ปี 2565 ร้อยละ 47.43 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงลดลงร้อยละ 5.48 (%YoY) จาก

การปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดเมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา

ร้อยละ 49.59 10.83 และ 9.53 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 คาดว่า

อาจจะขยายตัวได้เล็กน้อย เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูฝน

การก่อสร้างอาจพบอุปสรรคจากฝนที่ตกบ่อยครั้ง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ