กรุงเทพ--12 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังนำคณะรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาและเยี่ยมชมโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547
ตามที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547 และมีรัฐมนตรีจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมจำนวน 19 ประเทศ นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงผลลัพธ์ของการจัดการประชุมดังกล่าว ดังนี้
การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าร่วมการประชุมรับทราบถึงปรัชญาการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีโอกาสเยี่ยมชมและสัมผัสโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ที่ดำเนินการภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้การเลือกโครงการในพระราชดำริที่นำคณะไปเยี่ยมชมจำนวน 4 แห่ง นั้นได้หารือกับ ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และพิจารณาให้สอดคล้องกับภูมิประเทศของประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเข้าหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และได้ทำการฟื้นฟูปรับปรุงให้อุดมสมบูรณ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและป่า และดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ ส่งผลให้เกษตรกรในโครงการประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ไม่มีหนี้สิน และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2. บ้านเกษตรกรตัวอย่าง ที่ห้วยทราย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นการดำเนินการตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยเน้นเรื่องการทำไร่นาสวนผสม ทำพืชผักสวนครัว
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรและชาวบ้าน
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่สูง ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อกันดินพัง การทำสวนสมุนไพร การสร้าง
ฝายแม้ว ซึ่งเป็นฝายเล็ก ๆ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดิน ช่วยยุติปัญหาเรื่องไฟป่าและใน 10 ปี สร้างหน้าดินให้หนาขึ้น 1 ซม. นอกจากนี้ฝายแม้วยังมีบทบาทสำคัญด้านการชลประทานและการประมง ทั้งนี้ฝายแม้วมีค่าก่อสร้างเพียงฝายละ 5,000 บาทปรัชญาสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงคือความพอประมาณและความพอดี การเกษตรใด ๆ
หากดำเนินการเป็นโครงการใหญ่ทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ก็จะต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ซึ่งทำให้ขาดความสมดุลของธรรมชาติ หากทำพอประมาณ ก็จะได้ผลิตผลที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และส่วนที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำมาขายเป็นกำไรได้ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมแสดงความสนใจและชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หลายประเทศแสดงความสนใจที่ส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาครั้งละประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเรียนรู้และได้รับการอบรมในพื้นที่ ผู้แทนอัฟกานิสถานประสงค์ที่จะเชิญเจ้าหน้าที่ไปให้การฝึกอบรมที่อัฟกานิสถาน นอกจากการเรียนรู้ประสบการณ์ของไทยแล้ว ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันอีกด้วย ซึ่งเป็นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
ผู้แทนประเทศต่าง ๆ เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีชื่อเสียงขจรไกลไปยังทุก ๆ ภูมิภาคทั่วโลก สามารถช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาประเทศของตนเองได้ และประสงค์ที่จะให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในด้านนี้ให้กว้างขวางออกไป และมีความยินดีที่ได้เดินทางมาสัมผัสและศึกษาโครงการตามแนวพระราชดำริด้วยตนเอง หลังจากชี้แจงเรื่องการประชุมดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ว่าได้ชี้แจงให้ประเทศมุสลิมที่สำคัญ ๆ อาทิ อิหร่าน มาเลเซีย อินเดีย โมร็อคโค และบาเรนห์ ให้เข้าใจถึงสถานการณ์และการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประเด็นสำคัญคือรัฐบาลไทยมิได้มีนโยบายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในประเทศ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมิใช่ความขัดแย้งทางศาสนา ทั้งนี้รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวมุสลิมภายในประเทศ โดยจะเห็นได้จากการจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้น โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอิสลาม การให้เงินอุดหนุนการเดินทางไปฮัจจ์ เป็นต้น ซึ่งประเทศต่าง ๆ แสดงความเข้าใจและจะช่วยชี้แจงต่อประเทศและชาวมุสลิมต่าง ๆ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังนำคณะรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาและเยี่ยมชมโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547
ตามที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547 และมีรัฐมนตรีจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมจำนวน 19 ประเทศ นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงผลลัพธ์ของการจัดการประชุมดังกล่าว ดังนี้
การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าร่วมการประชุมรับทราบถึงปรัชญาการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีโอกาสเยี่ยมชมและสัมผัสโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ที่ดำเนินการภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้การเลือกโครงการในพระราชดำริที่นำคณะไปเยี่ยมชมจำนวน 4 แห่ง นั้นได้หารือกับ ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และพิจารณาให้สอดคล้องกับภูมิประเทศของประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเข้าหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และได้ทำการฟื้นฟูปรับปรุงให้อุดมสมบูรณ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและป่า และดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ ส่งผลให้เกษตรกรในโครงการประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ไม่มีหนี้สิน และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2. บ้านเกษตรกรตัวอย่าง ที่ห้วยทราย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นการดำเนินการตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยเน้นเรื่องการทำไร่นาสวนผสม ทำพืชผักสวนครัว
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรและชาวบ้าน
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่สูง ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อกันดินพัง การทำสวนสมุนไพร การสร้าง
ฝายแม้ว ซึ่งเป็นฝายเล็ก ๆ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดิน ช่วยยุติปัญหาเรื่องไฟป่าและใน 10 ปี สร้างหน้าดินให้หนาขึ้น 1 ซม. นอกจากนี้ฝายแม้วยังมีบทบาทสำคัญด้านการชลประทานและการประมง ทั้งนี้ฝายแม้วมีค่าก่อสร้างเพียงฝายละ 5,000 บาทปรัชญาสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงคือความพอประมาณและความพอดี การเกษตรใด ๆ
หากดำเนินการเป็นโครงการใหญ่ทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ก็จะต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ซึ่งทำให้ขาดความสมดุลของธรรมชาติ หากทำพอประมาณ ก็จะได้ผลิตผลที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และส่วนที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำมาขายเป็นกำไรได้ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมแสดงความสนใจและชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หลายประเทศแสดงความสนใจที่ส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาครั้งละประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเรียนรู้และได้รับการอบรมในพื้นที่ ผู้แทนอัฟกานิสถานประสงค์ที่จะเชิญเจ้าหน้าที่ไปให้การฝึกอบรมที่อัฟกานิสถาน นอกจากการเรียนรู้ประสบการณ์ของไทยแล้ว ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันอีกด้วย ซึ่งเป็นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
ผู้แทนประเทศต่าง ๆ เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีชื่อเสียงขจรไกลไปยังทุก ๆ ภูมิภาคทั่วโลก สามารถช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาประเทศของตนเองได้ และประสงค์ที่จะให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในด้านนี้ให้กว้างขวางออกไป และมีความยินดีที่ได้เดินทางมาสัมผัสและศึกษาโครงการตามแนวพระราชดำริด้วยตนเอง หลังจากชี้แจงเรื่องการประชุมดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ว่าได้ชี้แจงให้ประเทศมุสลิมที่สำคัญ ๆ อาทิ อิหร่าน มาเลเซีย อินเดีย โมร็อคโค และบาเรนห์ ให้เข้าใจถึงสถานการณ์และการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประเด็นสำคัญคือรัฐบาลไทยมิได้มีนโยบายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในประเทศ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมิใช่ความขัดแย้งทางศาสนา ทั้งนี้รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวมุสลิมภายในประเทศ โดยจะเห็นได้จากการจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้น โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอิสลาม การให้เงินอุดหนุนการเดินทางไปฮัจจ์ เป็นต้น ซึ่งประเทศต่าง ๆ แสดงความเข้าใจและจะช่วยชี้แจงต่อประเทศและชาวมุสลิมต่าง ๆ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-