ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด และระบบ สศค. ประจำเดือนตุลาคม 2547 สรุปได้ว่า ตัวชี้วัดทางการคลังตามระบบ สศค. และตามระบบกระแสเงินสดยังแสดงถึงผลของการดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และผ่อนคลายแรงกดดันของภาคการคลัง โดยปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณสมดุลเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งการจัดทำงบประมาณสมดุลนี้จะส่งผลให้รัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการขาดดุล ผลที่ตามมาคือไม่เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจากภาครัฐบาล (Crowding Out Effect) ส่วนการขาดดุลเงินสดตามระบบกระแสเงินสดในช่วงต้นปีงบประมาณเกิดจากการโอนเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการชำระคืนเงินกู้ ทำให้มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติเมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่
1. ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis)
เดือนตุลาคม 2547
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 63,148 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 18,725 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.9 เนื่องจากมีการโอนรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของปีงบประมาณ 2547 เหลื่อมมาจำนวน 17,366 ล้านบาท ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 98,638 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 15,483 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6 ส่วนหนึ่งได้มีการชำระต้นเงินกู้ต่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น 5,924 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 35,489 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 16,430 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 51,919 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 15,043 ล้านบาท ส่วนดุลการคลังเบื้องต้น ขาดดุล 29,389 ล้านบาท
2. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มีจำนวน 99,642 ล้านบาท (ประมาณ 31วันทำการ) ลดลงจากเดือนที่แล้ว 51,919 ล้านบาท
3 ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis)
เดือนตุลาคม 2547
3.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 103,755 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 80,514 ล้านบาท รายได้จากเงินฝากนอกงบประมาณ เงินช่วยเหลือ และกองทุนนอกงบประมาณจำนวน 23,241 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 87,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.7
3.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 105,152 ล้านบาท โดยจ่ายจากเงินงบประมาณจำนวน 92,714 ล้านบาท จากเงินฝากนอกงบประมาณ เงินช่วยเหลือ และกองทุนนอกงบประมาณ และรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศจำนวน 12,438 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ(หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 89,152 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 13.7 ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 83,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และรายจ่ายลงทุน 5,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7
3.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 4,554 ล้านบาท และขาดดุลการกู้ยืมสุทธิจำนวน 1,397 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 8,693 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 10,091 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุลจำนวน 1,233 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (Government Final Consumption ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และการใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล (Gross Capital Formation) ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม (Fiscal Burden) เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง ในเดือนตุลาคม 2547 รัฐบาลมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายจำนวน 58,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับเงินเดือนข้าราชการในต้นปีงบประมาณ และการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 5,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 11.7 ส่วนภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนมีจำนวน 73,676 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.0 แสดงถึงการดำเนินนโยบายการคลังไม่ได้สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนในภาวะที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างเนื่อง
4.2 ภาคการเงิน
ปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดทำงบประมาณสมดุลเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งการจัดทำงบประมาณสมดุลนี้จะส่งผลให้รัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการขาดดุล ผลที่ตามมาคือไม่เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจากภาครัฐบาล (Crowding Out Effect) ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้นตามระบบการเงินโลก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2547 25 พฤศจิกายน 2547--
1. ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis)
เดือนตุลาคม 2547
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 63,148 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 18,725 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.9 เนื่องจากมีการโอนรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของปีงบประมาณ 2547 เหลื่อมมาจำนวน 17,366 ล้านบาท ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 98,638 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 15,483 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6 ส่วนหนึ่งได้มีการชำระต้นเงินกู้ต่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น 5,924 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 35,489 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 16,430 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 51,919 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 15,043 ล้านบาท ส่วนดุลการคลังเบื้องต้น ขาดดุล 29,389 ล้านบาท
2. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มีจำนวน 99,642 ล้านบาท (ประมาณ 31วันทำการ) ลดลงจากเดือนที่แล้ว 51,919 ล้านบาท
3 ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis)
เดือนตุลาคม 2547
3.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 103,755 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 80,514 ล้านบาท รายได้จากเงินฝากนอกงบประมาณ เงินช่วยเหลือ และกองทุนนอกงบประมาณจำนวน 23,241 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 87,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.7
3.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 105,152 ล้านบาท โดยจ่ายจากเงินงบประมาณจำนวน 92,714 ล้านบาท จากเงินฝากนอกงบประมาณ เงินช่วยเหลือ และกองทุนนอกงบประมาณ และรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศจำนวน 12,438 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ(หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 89,152 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 13.7 ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 83,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และรายจ่ายลงทุน 5,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7
3.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 4,554 ล้านบาท และขาดดุลการกู้ยืมสุทธิจำนวน 1,397 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 8,693 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 10,091 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุลจำนวน 1,233 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (Government Final Consumption ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และการใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล (Gross Capital Formation) ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม (Fiscal Burden) เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง ในเดือนตุลาคม 2547 รัฐบาลมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายจำนวน 58,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับเงินเดือนข้าราชการในต้นปีงบประมาณ และการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 5,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 11.7 ส่วนภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนมีจำนวน 73,676 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.0 แสดงถึงการดำเนินนโยบายการคลังไม่ได้สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนในภาวะที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างเนื่อง
4.2 ภาคการเงิน
ปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดทำงบประมาณสมดุลเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งการจัดทำงบประมาณสมดุลนี้จะส่งผลให้รัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการขาดดุล ผลที่ตามมาคือไม่เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจากภาครัฐบาล (Crowding Out Effect) ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้นตามระบบการเงินโลก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2547 25 พฤศจิกายน 2547--