แท็ก
การส่งออก
6. ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหาร
6.1 ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออกรวมแล้วผู้ผลิตสินค้าแต่ละรายส่วนใหญ่
จะประสบปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งปัญหาหลักทางด้านการผลิตที่ผู้ประกอบการประสบมากที่สุดในปัจจุบัน คือ
ปัญหาทางด้านแรงงาน และปัญหาทางด้านวัตถุดิบ ซึ่งสามารถจำแนกออกตามรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
6.1.1 ปัญหาทางด้านแรงงานที่มีต่อการผลิตสินค้า
- อัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (Labor Turn Over) ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารอยู่ในอัตรา
ที่ค่อนข้างสูง สาเหตุหลักของปัญหาในจุดนี้คือ ปัจจุบันแรงงานมีโอกาสในการเลือกงานมากขึ้นหรือเป็นงานที่สามารถจ่ายค่า
ตอบแทนแรงงานได้สูงกว่า มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี
- การขาดแคลนแรงงานระดับฝีมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับตั้งแต่ผู้ควบคุมการผลิตขึ้นไป สาเหตุ
ของปัญหานี้เกิดจากกรณีที่แรงงานที่อยู่ในระดับนี้ถูกเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าจากกิจการอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อ
รองรับการขยายตัวสำหรับกิจการนั้นๆ
- การรวมตัวเพื่อเรียกร้องค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือปัญหาใน
เรื่องของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้ต้นทุนการผลิตทางด้านแรงงานอยู่ในระดับราคาที่สูงขึ้น
- การไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐบาลในการนำมาซึ่งการจ้างแรงงานต่างชาติซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายที่ต่ำกว่า
6.1.2 ปัญหาด้านวัตถุดิบที่มีต่อการผลิตสินค้า
- ราคาของวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบภายนอกนั้นมีราคาไม่คงที่ โดยมักจะมีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทาง
ที่สูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่มากกว่าที่จะปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
- ปริมาณของวัตถุดิบจากแหล่งภายนอกอยู่ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่แน่นอน บ่อยครั้งที่เกิดกรณีวัตถุดิบขาด
แคลน จะทำให้แผนการผลิตที่วางไว้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นผลดีต่อการผลิตเสมอ
- คุณภาพของวัตถุดิบจากแหล่งภายนอกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตร
ฐานตามที่ต้องการหรือบ่อยครั้ง อาจต่ำกว่า
- กรณีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศบางครั้งถูกจำกัดจำนวนที่สามารถนำเข้าได้ หรือแม้แต่กรณี
การถูกเรียกเก็บภาษีการนำเข้าวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อทั้งปริมาณที่จะสามารถผลิตได้และต้นทุนที่จะต้องมีการ
เปลี่ยนแปลงไป
6.2 ปัญหาและอุปสรรคทางด้านการตลาด
- ปัญหาทางด้านการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศเกิดความคุ้นเคยต
่อประเภทของสินค้าและตรายี่ห้อของสินค้านั้นทำได้ค่อนข้างยากลำบากหรือถ้าทำได้ก็จะต้องอาศัยเงินลงทุนในจำนวนที่ค่อนข้างสูง
ซึ่งไม่คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่จะได้รับ
- ปัญหาทางด้านจำนวนของคู่แข่งที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยที่คู่แข่งดังกล่าวเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงในเชิง
การแข่งขัน เพราะสามารถนำเสนอสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าและ/หรือมีคุณภาพที่ดีกว่า
- ในกลุ่มของสินค้าผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารด้วยกันเอง ยังขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจังใน
การสร้างอำนาจในการต่อรองทางการตลาด
- ตลาดนำเข้าส่วนใหญ่มีความเข้มงวดมากในการนำเข้าสินค้าอาหาร ซึ่งปกติจะเรียกร้องเอกสาร
รับรองต่าง ๆ มากมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือมีความรับผิดชอบต่อตัวสินค้าที่ส่งออก ซึ่งบางครั้งหน่วยงานราชการที่ทำหน้า
ที่สนับสนุนไม่สามารถออกเอกสารหรือหนังสือรับรองต่างๆ เหล่านั้นได้ทันตามกำหนดที่ต้องการได้ จึงทำให้เสียโอกาสทางการ
ตลาดในที่สุด
6.3 กฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการผลิตสามารถกล่าวได้ว่า ไม่พบปัญหาใดที่พาดพิงถึงกฎระเบียบข้อบังคับ
ทั้งที่เป็นของในประเทศไทยเองหรือเป็นของต่างประเทศที่จะเข้ามามีผลต่อการผลิตโดยตรงในทางกลับกันทางกลุ่มของผู้ประกอบ
การผลิตอาหารต่างเห็นว่าหน่วยงานภายนอกโดยเฉพาะหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกลับมีภาพพจน์
ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา
6.3.1 กฎระเบียบข้อบังคับจากต่างประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
การที่ทางต่างประเทศไม่ยอมรับผลการรับรองคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ออกจากหน่วยงานใน
ประเทศไทย เช่นการรับรองของคณะกรรมการอาหารและยา การรับรองของกรมประมงหรือกรมปศุสัตว์ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้
เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยอาจจะมีผลถึงการระงับการนำเข้าสินค้านั้นๆ
6.3.2 กฎระเบียบข้อบังคับจากภายในประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
การตรวจสอบตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินงานโดยคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ หรือ
กรมประมงนั้น ในการออกหนังสือรับรองคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเพื่อการส่งออก พบว่าผู้ประกอบการผลิตหลายรายได้พูดถึง
เรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบว่านานเกินไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำการผลิตสินค้าเพื่อส่งให้กับลูกค้าได้
ทันตามกำหนดระยะเวลาและมีผลเสียตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการผลิตของแต่ละกิจการ
7. ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
7.1 ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวในการผลิต
วัตถุดิบ - วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตควรจะเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีมีความสะอาด
- การคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ
- ราคาของวัตถุดิบควรอยู่ในระดับมาตรฐานและมีความแน่นอน
- การช่วยลดหย่อนภาษี/ระบบการจ่ายคืนภาษีที่รวดเร็ว ในการนำเข้าวัตถุดิบจากต่าง ประเทศ
- ควรจะมีการทำวิจัยและพัฒนาในการนำวัตถุดิบใหม่ๆที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมเข้า
มาแทนที่วัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันอยู่อย่างต่อเนื่อง
แรงงาน - บุคลากรที่อยู่ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตจำเป็นที่จะต้องมี
ความรู้ ความชำนาญ ทั้งนี้ คงจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์
ของเจ้าหน้าที่แต่ละคนที่มีอยู่ในขั้นตอนของงานหนึ่งๆ
- มีแรงงานเพียงพอต่อความต้องการของแต่ละส่วนงานการผลิต
- บุคลากรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญต่องานในแต่ละหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ
- ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร แรงงานที่จะมีต่อเทคนิคการ
ผลิตการควบคุมคุณภาพ
เครื่องจักร - ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์จักรอุปกรณ์การ
ผลิตตลอดจน Know How ต่างๆ ที่เหมาะสมและเลือกที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการ
พัฒนาเสริมสร้างกำลังการผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- มีเจ้าหน้าที่เทคนิคที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อดูแลในส่วนของการซ่อมบำรุงให้เครื่อง
มือเครื่องจักรปฎิบัติงานให้เต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา
การควบคุม - การเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ของเจ้าหน้าที่จากหน่วยคุณภาพและส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการพัฒนาทางด้านเทคนิคการผลิตการส่งออก
หรือในเรื่องของเทคนิคการผลิตต่างๆ
- มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิตทำสินค้าให้มีความเป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
ของผู้บริโภค
- คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นให้ถูกจุดทั้งการควบคุมคุณภาพและการทำการผลิต รวมทั้ง
พยายามหาทางแก้ไข ตลอดจนหาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเดิม
หรือลักษณะใหม่
อื่นๆ - มีแหล่งเงินทุนที่ดี ที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา - มีการทำการศึกษาการวิจัยและพัฒนา ทั้งทางด้านการผลิตและทางด้านการตลาดอย่างต่อ เนื่อง
- มีการทำธุรกิจแบบครบวงจร กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบเอง การผลิต
และการนำเสนอสินค้าต่อผู้บริโภค
- ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ไม่เอารัดเอาเปรียบโดยการพยายามผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
และจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
7.2 ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทางการตลาด
- ความสามารถที่ดีในการดำเนินงานในส่วนของการผลิตให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งใน
เรื่องของคุณภาพมาตรฐานและการมีกำลังการผลิตที่เพียงพอกับความต้องการที่แท้จริงของตลาด
- ข้อมูลทางการตลาดทั้งที่เป็นข้อมูลรวมทางการตลาดหรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ข้อมูล
ทางการตลาดนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทางการผลิตและแผนทางการตลาดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดที่แท้จริง
ได้
- การทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนรูป
แบบของสินค้าและการกำหนดราคาเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม รวมถึงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่
เป็นที่ต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทางการตลาด
- สินค้าที่มีการนำเสนอสู่ตลาด นอกจากจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี และผ่านการ
ควบคุมการผลิตที่ดีแล้ว การนำเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาใช้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถทำการผลิตสินค้าคุณภาพ ซึ่งจะ
ส่งผลถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จะมีต่อตัวสินค้าและเป็นที่ยอมรับในที่สุด
- การเข้ามาให้ความช่วยเหลือของภาครัฐบาลในเรื่องของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การเปิด
ตลาดใหม่ ๆ ให้กับสินค้า เช่น การจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- การปรับปรุงระบบการทำงานในส่วนของภาครัฐบาล ซึ่งรวมถึงทุก ๆ หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง
ซึ่งการปรับปรุงระบบดังกล่าวจะส่งผลถึงความรอบคอบและความรวดเร็วในการทำงาน การให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ
ต่อไป
- การได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินลงทุนจากภาครัฐบาล
- ประสบการณ์ของผู้ประกอบการเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถเป็นพื้นฐานที่ดีที่ทำให้กิจการมีการ
พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง--จบ--
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก
6.1 ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออกรวมแล้วผู้ผลิตสินค้าแต่ละรายส่วนใหญ่
จะประสบปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งปัญหาหลักทางด้านการผลิตที่ผู้ประกอบการประสบมากที่สุดในปัจจุบัน คือ
ปัญหาทางด้านแรงงาน และปัญหาทางด้านวัตถุดิบ ซึ่งสามารถจำแนกออกตามรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
6.1.1 ปัญหาทางด้านแรงงานที่มีต่อการผลิตสินค้า
- อัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (Labor Turn Over) ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารอยู่ในอัตรา
ที่ค่อนข้างสูง สาเหตุหลักของปัญหาในจุดนี้คือ ปัจจุบันแรงงานมีโอกาสในการเลือกงานมากขึ้นหรือเป็นงานที่สามารถจ่ายค่า
ตอบแทนแรงงานได้สูงกว่า มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี
- การขาดแคลนแรงงานระดับฝีมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับตั้งแต่ผู้ควบคุมการผลิตขึ้นไป สาเหตุ
ของปัญหานี้เกิดจากกรณีที่แรงงานที่อยู่ในระดับนี้ถูกเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าจากกิจการอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อ
รองรับการขยายตัวสำหรับกิจการนั้นๆ
- การรวมตัวเพื่อเรียกร้องค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือปัญหาใน
เรื่องของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้ต้นทุนการผลิตทางด้านแรงงานอยู่ในระดับราคาที่สูงขึ้น
- การไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐบาลในการนำมาซึ่งการจ้างแรงงานต่างชาติซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายที่ต่ำกว่า
6.1.2 ปัญหาด้านวัตถุดิบที่มีต่อการผลิตสินค้า
- ราคาของวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบภายนอกนั้นมีราคาไม่คงที่ โดยมักจะมีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทาง
ที่สูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่มากกว่าที่จะปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
- ปริมาณของวัตถุดิบจากแหล่งภายนอกอยู่ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่แน่นอน บ่อยครั้งที่เกิดกรณีวัตถุดิบขาด
แคลน จะทำให้แผนการผลิตที่วางไว้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นผลดีต่อการผลิตเสมอ
- คุณภาพของวัตถุดิบจากแหล่งภายนอกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตร
ฐานตามที่ต้องการหรือบ่อยครั้ง อาจต่ำกว่า
- กรณีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศบางครั้งถูกจำกัดจำนวนที่สามารถนำเข้าได้ หรือแม้แต่กรณี
การถูกเรียกเก็บภาษีการนำเข้าวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อทั้งปริมาณที่จะสามารถผลิตได้และต้นทุนที่จะต้องมีการ
เปลี่ยนแปลงไป
6.2 ปัญหาและอุปสรรคทางด้านการตลาด
- ปัญหาทางด้านการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศเกิดความคุ้นเคยต
่อประเภทของสินค้าและตรายี่ห้อของสินค้านั้นทำได้ค่อนข้างยากลำบากหรือถ้าทำได้ก็จะต้องอาศัยเงินลงทุนในจำนวนที่ค่อนข้างสูง
ซึ่งไม่คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่จะได้รับ
- ปัญหาทางด้านจำนวนของคู่แข่งที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยที่คู่แข่งดังกล่าวเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงในเชิง
การแข่งขัน เพราะสามารถนำเสนอสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าและ/หรือมีคุณภาพที่ดีกว่า
- ในกลุ่มของสินค้าผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารด้วยกันเอง ยังขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจังใน
การสร้างอำนาจในการต่อรองทางการตลาด
- ตลาดนำเข้าส่วนใหญ่มีความเข้มงวดมากในการนำเข้าสินค้าอาหาร ซึ่งปกติจะเรียกร้องเอกสาร
รับรองต่าง ๆ มากมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือมีความรับผิดชอบต่อตัวสินค้าที่ส่งออก ซึ่งบางครั้งหน่วยงานราชการที่ทำหน้า
ที่สนับสนุนไม่สามารถออกเอกสารหรือหนังสือรับรองต่างๆ เหล่านั้นได้ทันตามกำหนดที่ต้องการได้ จึงทำให้เสียโอกาสทางการ
ตลาดในที่สุด
6.3 กฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการผลิตสามารถกล่าวได้ว่า ไม่พบปัญหาใดที่พาดพิงถึงกฎระเบียบข้อบังคับ
ทั้งที่เป็นของในประเทศไทยเองหรือเป็นของต่างประเทศที่จะเข้ามามีผลต่อการผลิตโดยตรงในทางกลับกันทางกลุ่มของผู้ประกอบ
การผลิตอาหารต่างเห็นว่าหน่วยงานภายนอกโดยเฉพาะหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกลับมีภาพพจน์
ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา
6.3.1 กฎระเบียบข้อบังคับจากต่างประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
การที่ทางต่างประเทศไม่ยอมรับผลการรับรองคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ออกจากหน่วยงานใน
ประเทศไทย เช่นการรับรองของคณะกรรมการอาหารและยา การรับรองของกรมประมงหรือกรมปศุสัตว์ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้
เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยอาจจะมีผลถึงการระงับการนำเข้าสินค้านั้นๆ
6.3.2 กฎระเบียบข้อบังคับจากภายในประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต
การตรวจสอบตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินงานโดยคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ หรือ
กรมประมงนั้น ในการออกหนังสือรับรองคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเพื่อการส่งออก พบว่าผู้ประกอบการผลิตหลายรายได้พูดถึง
เรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบว่านานเกินไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำการผลิตสินค้าเพื่อส่งให้กับลูกค้าได้
ทันตามกำหนดระยะเวลาและมีผลเสียตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการผลิตของแต่ละกิจการ
7. ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
7.1 ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวในการผลิต
วัตถุดิบ - วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตควรจะเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีมีความสะอาด
- การคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ
- ราคาของวัตถุดิบควรอยู่ในระดับมาตรฐานและมีความแน่นอน
- การช่วยลดหย่อนภาษี/ระบบการจ่ายคืนภาษีที่รวดเร็ว ในการนำเข้าวัตถุดิบจากต่าง ประเทศ
- ควรจะมีการทำวิจัยและพัฒนาในการนำวัตถุดิบใหม่ๆที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมเข้า
มาแทนที่วัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันอยู่อย่างต่อเนื่อง
แรงงาน - บุคลากรที่อยู่ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตจำเป็นที่จะต้องมี
ความรู้ ความชำนาญ ทั้งนี้ คงจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์
ของเจ้าหน้าที่แต่ละคนที่มีอยู่ในขั้นตอนของงานหนึ่งๆ
- มีแรงงานเพียงพอต่อความต้องการของแต่ละส่วนงานการผลิต
- บุคลากรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญต่องานในแต่ละหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ
- ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร แรงงานที่จะมีต่อเทคนิคการ
ผลิตการควบคุมคุณภาพ
เครื่องจักร - ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์จักรอุปกรณ์การ
ผลิตตลอดจน Know How ต่างๆ ที่เหมาะสมและเลือกที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการ
พัฒนาเสริมสร้างกำลังการผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- มีเจ้าหน้าที่เทคนิคที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อดูแลในส่วนของการซ่อมบำรุงให้เครื่อง
มือเครื่องจักรปฎิบัติงานให้เต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา
การควบคุม - การเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ของเจ้าหน้าที่จากหน่วยคุณภาพและส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการพัฒนาทางด้านเทคนิคการผลิตการส่งออก
หรือในเรื่องของเทคนิคการผลิตต่างๆ
- มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิตทำสินค้าให้มีความเป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
ของผู้บริโภค
- คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นให้ถูกจุดทั้งการควบคุมคุณภาพและการทำการผลิต รวมทั้ง
พยายามหาทางแก้ไข ตลอดจนหาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเดิม
หรือลักษณะใหม่
อื่นๆ - มีแหล่งเงินทุนที่ดี ที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา - มีการทำการศึกษาการวิจัยและพัฒนา ทั้งทางด้านการผลิตและทางด้านการตลาดอย่างต่อ เนื่อง
- มีการทำธุรกิจแบบครบวงจร กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบเอง การผลิต
และการนำเสนอสินค้าต่อผู้บริโภค
- ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ไม่เอารัดเอาเปรียบโดยการพยายามผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
และจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
7.2 ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทางการตลาด
- ความสามารถที่ดีในการดำเนินงานในส่วนของการผลิตให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งใน
เรื่องของคุณภาพมาตรฐานและการมีกำลังการผลิตที่เพียงพอกับความต้องการที่แท้จริงของตลาด
- ข้อมูลทางการตลาดทั้งที่เป็นข้อมูลรวมทางการตลาดหรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ข้อมูล
ทางการตลาดนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทางการผลิตและแผนทางการตลาดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดที่แท้จริง
ได้
- การทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนรูป
แบบของสินค้าและการกำหนดราคาเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม รวมถึงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่
เป็นที่ต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทางการตลาด
- สินค้าที่มีการนำเสนอสู่ตลาด นอกจากจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี และผ่านการ
ควบคุมการผลิตที่ดีแล้ว การนำเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาใช้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถทำการผลิตสินค้าคุณภาพ ซึ่งจะ
ส่งผลถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จะมีต่อตัวสินค้าและเป็นที่ยอมรับในที่สุด
- การเข้ามาให้ความช่วยเหลือของภาครัฐบาลในเรื่องของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การเปิด
ตลาดใหม่ ๆ ให้กับสินค้า เช่น การจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- การปรับปรุงระบบการทำงานในส่วนของภาครัฐบาล ซึ่งรวมถึงทุก ๆ หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง
ซึ่งการปรับปรุงระบบดังกล่าวจะส่งผลถึงความรอบคอบและความรวดเร็วในการทำงาน การให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ
ต่อไป
- การได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินลงทุนจากภาครัฐบาล
- ประสบการณ์ของผู้ประกอบการเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถเป็นพื้นฐานที่ดีที่ทำให้กิจการมีการ
พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง--จบ--
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก