แท็ก
สิงคโปร์
นโยบายแรงงานต่างชาติของรัฐบาลสิงคโปร์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจำนวนแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2539 มีจำนวนแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ทั้งสิ้น 350,000 คน และได้เพิ่มขึ้นเป็น 450,000 คนในปี 2541 ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมาหลายประการ อาทิ ปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย การหลบหนีเข้าเมืองและการลักลอบอยู่เกินกำหนด ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ประกาศปรับอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติซึ่งเรียกเก็บจากนายจ้างใหม่ เพื่อควบคุมและลดความต้องการแรงงานต่างชาติในประเทศลง โดยเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานไร้ฝีมือเป็น 470 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน และเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมแม่บ้านเป็น 345 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับแรงงานมีฝีมือต่างชาติปรับลดลงจาก 200 ดอลลาร์สิงคโปร์ เหลือ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน และต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติสิงคโปร์ได้ประกาศมาตรการปรับปรุงโครงสร้างของอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับเหมาที่ว่าจ้างแรงงานต่างชาติทำงานนั้นร้อยละ 20 ของแรงงานดังกล่าว จะต้องผ่านการทดสอบฝีมือขั้นพื้นฐาน (Basic Skill Test) เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่ตกต่ำลง เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในสิงคโปร์มักจะจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือจำนวนมากไว้รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เพราะอัตราค่าแรงถูกกว่าแรงงานฝีมือ ซึ่งทำให้คุณภาพผลผลิตทางอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลง โดยมีมูลค่าเพิ่ม (Value-added) ลดลงจากเดิมร้อยละ 4 ในปี 2534 เหลือร้อยละ -5.7 ในปี 2540
นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศแผนสมนาคุณ (Bonus Scheme) ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อจูงใจให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานให้ได้ระดับมาตรฐาน รวมทั้งยังมีแผนที่จะยกระดับฝีมือแรงงานในสิงคโปร์ให้เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือทั้งหมดภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ข้างต้น ได้ส่งผลให้นายจ้างหันมาจ้างแรงงานมีฝีมือหรือกึ่งฝีมือมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาล ทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ตามนโยบายของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ ที่ได้ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2540 ด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์พบว่าปัจจุบันแรงงานต่างชาติมีฝีมือในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นร้อยละ 20 ขณะที่ในปี 2540 ก่อนการประกาศปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติ พบว่า มีจำนวนแรงงานต่างชาติมีฝีมือเพียงร้อยละ 10
สถานการณ์ตลาดแรงงานในสิงคโปร์
ปัญหาการว่างงาน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2541 มีผู้ถูกเลิกจ้างงานในสิงคโปร์จำนวนทั้งสิ้น 14,440 คน โดยร้อยละ 67 มาจากภาคการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแต่ความต้องการของตลาดลดลง สำหรับจำนวนคนว่างงานรวมในช่วง 6 เดือนแรก รวมมีประมาณ 62,100 คน เพิ่มขึ้นจากในปี 2540 ซึ่งมีจำนวนเพียง 45,500 คนถึง 16,600 คน โดยอัตราการว่างงานในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 2.2 แต่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น ซึ่ง National Trade Union Congress ของสิงคโปร์ ได้ประมาณการณ์ว่า อัตราการว่างงานในปี 2542 อาจจะสูงถึงร้อยละ 5-7 หากเศรษฐกิจสิงคโปร์ประสบภาวะถดถอยมากกว่าที่เป็นอยู่
ความต้องการแรงงานในสิงคโปร์ในปัจจุบัน
ภาคการก่อสร้าง 8,500 ตำแหน่ง
ภาคการเงิน การธนาคาร การบริการและการท่องเที่ยว 4,000 ตำแหน่ง
ภาคการผลิต 700 ตำแหน่ง
ภาคการคมนาคม/สื่อสาร 500 ตำแหน่ง
ภาคการค้า 2,800 ตำแหน่ง
สถานการณ์ตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในขณะนี้จะประสบภาวะถดถอย แต่รัฐบาลก็ได้พยายามสนับสนุนและกระตุ้นให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.7 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2540 เป็นร้อยละ 11 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 โดยโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นงานสำรวจภาคสนาม ภาควิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค รองลงมาได้แก่ งานก่อสร้างและปรับปรุงที่พักอาศัยของรัฐบาล อย่างไรก็ดี โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีอตราลดลง โดยในขณะนี้มีจำนวนโครงการก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 67 โครงการ มีมูลค่าโครงการระหว่าง 10-50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์มีแผนการระดมเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดในอนาคต (Knowledge-based economy) โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะจัดสรรเงินให้จำนวน 50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนอีก 50 ล้านดอลลาร์จะมาจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (Skills Development Fund)
มาตรการแก้ไขปัญหาการว่างงานในประเทศของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ สรุปได้ดังนี้
- จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ตกงาน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายจ้างและองค์กรต่าง ๆ จะร่วมมือกันหางานใหม่ให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง
- จัดตั้ง Employment Facilitation Team เพื่อช่วยเหลือฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของแรงงานที่จะป้อนเข้าสู่ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัว
หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังถดถอยอยู่เช่นนี้ รัฐบาลสิงคโปร์อาจจะต้องประกาศปรับลดอัตราเงินกองทุนเลี้ยงชีพส่วนกลาง (Central Provident Fund : CPF) ในส่วนที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 20 ของเงินเดือนลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการดังกล่าวในขณะนี้
ข้อสังเกต
1. ปัญหาแรงงานได้กลายเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากความห่วงกังวลและความกระตือรือร้นต่อเรื่องดังกล่าวของผู้นำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด รัฐบาลสิงคโปร์มีเป้าหมายหลักในขณะนี้ คือ เร่งแก้ไขปัญหาการว่างงาน รวมทั้งรักษาความสามารถในการแข่งขันและลดต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจอย่างไรก็ตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาค่าเงินตกต่ำลง ทำให้สิงคโปร์สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
2. แนวนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ที่มุ่งสนับสนุนและชักจูงให้ชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในสิงคโปร์มากขึ้น ได้ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจในหมู่ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลสิงคโปร์ควรจะให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาแรงงานในประเทศมากกว่านอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลยังไม่สอดคล้องกับปัญหาการว่างงานที่มีเพิ่มมากขึ้นด้วย
3. โอกาสของแรงงานไทยที่จะเข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างของสิงคโปร์ (ซึ่งมีสัดส่วนของการใช้แรงงานต่างชาติมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ) นับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างสิงคโปร์ (Construction Industry Development Board : CIDB) ดังนั้น ทางการไทยจึงต้องเร่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพแรงงานไทยในปัจจุบันให้เป็นแรงงานมีฝีมือและกึ่งฝีมือ เพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการของตลาดแรงงานในสิงคโปร์ ซึ่งขณะนี้สิงคโปร์ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณแรงงานมีฝีมือได้มากนัก เนื่องจากแรงงานต่างชาติส่วนใหญ่มักจะไม่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ CIDB --จบ--
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/30 พฤศจิกายน 2541--
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจำนวนแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2539 มีจำนวนแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ทั้งสิ้น 350,000 คน และได้เพิ่มขึ้นเป็น 450,000 คนในปี 2541 ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมาหลายประการ อาทิ ปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย การหลบหนีเข้าเมืองและการลักลอบอยู่เกินกำหนด ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ประกาศปรับอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติซึ่งเรียกเก็บจากนายจ้างใหม่ เพื่อควบคุมและลดความต้องการแรงงานต่างชาติในประเทศลง โดยเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานไร้ฝีมือเป็น 470 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน และเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมแม่บ้านเป็น 345 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับแรงงานมีฝีมือต่างชาติปรับลดลงจาก 200 ดอลลาร์สิงคโปร์ เหลือ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน และต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติสิงคโปร์ได้ประกาศมาตรการปรับปรุงโครงสร้างของอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับเหมาที่ว่าจ้างแรงงานต่างชาติทำงานนั้นร้อยละ 20 ของแรงงานดังกล่าว จะต้องผ่านการทดสอบฝีมือขั้นพื้นฐาน (Basic Skill Test) เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่ตกต่ำลง เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในสิงคโปร์มักจะจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือจำนวนมากไว้รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เพราะอัตราค่าแรงถูกกว่าแรงงานฝีมือ ซึ่งทำให้คุณภาพผลผลิตทางอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลง โดยมีมูลค่าเพิ่ม (Value-added) ลดลงจากเดิมร้อยละ 4 ในปี 2534 เหลือร้อยละ -5.7 ในปี 2540
นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศแผนสมนาคุณ (Bonus Scheme) ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อจูงใจให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานให้ได้ระดับมาตรฐาน รวมทั้งยังมีแผนที่จะยกระดับฝีมือแรงงานในสิงคโปร์ให้เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือทั้งหมดภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ข้างต้น ได้ส่งผลให้นายจ้างหันมาจ้างแรงงานมีฝีมือหรือกึ่งฝีมือมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาล ทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ตามนโยบายของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ ที่ได้ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2540 ด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์พบว่าปัจจุบันแรงงานต่างชาติมีฝีมือในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นร้อยละ 20 ขณะที่ในปี 2540 ก่อนการประกาศปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติ พบว่า มีจำนวนแรงงานต่างชาติมีฝีมือเพียงร้อยละ 10
สถานการณ์ตลาดแรงงานในสิงคโปร์
ปัญหาการว่างงาน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2541 มีผู้ถูกเลิกจ้างงานในสิงคโปร์จำนวนทั้งสิ้น 14,440 คน โดยร้อยละ 67 มาจากภาคการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแต่ความต้องการของตลาดลดลง สำหรับจำนวนคนว่างงานรวมในช่วง 6 เดือนแรก รวมมีประมาณ 62,100 คน เพิ่มขึ้นจากในปี 2540 ซึ่งมีจำนวนเพียง 45,500 คนถึง 16,600 คน โดยอัตราการว่างงานในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 2.2 แต่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น ซึ่ง National Trade Union Congress ของสิงคโปร์ ได้ประมาณการณ์ว่า อัตราการว่างงานในปี 2542 อาจจะสูงถึงร้อยละ 5-7 หากเศรษฐกิจสิงคโปร์ประสบภาวะถดถอยมากกว่าที่เป็นอยู่
ความต้องการแรงงานในสิงคโปร์ในปัจจุบัน
ภาคการก่อสร้าง 8,500 ตำแหน่ง
ภาคการเงิน การธนาคาร การบริการและการท่องเที่ยว 4,000 ตำแหน่ง
ภาคการผลิต 700 ตำแหน่ง
ภาคการคมนาคม/สื่อสาร 500 ตำแหน่ง
ภาคการค้า 2,800 ตำแหน่ง
สถานการณ์ตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในขณะนี้จะประสบภาวะถดถอย แต่รัฐบาลก็ได้พยายามสนับสนุนและกระตุ้นให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.7 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2540 เป็นร้อยละ 11 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 โดยโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นงานสำรวจภาคสนาม ภาควิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค รองลงมาได้แก่ งานก่อสร้างและปรับปรุงที่พักอาศัยของรัฐบาล อย่างไรก็ดี โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีอตราลดลง โดยในขณะนี้มีจำนวนโครงการก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 67 โครงการ มีมูลค่าโครงการระหว่าง 10-50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์มีแผนการระดมเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดในอนาคต (Knowledge-based economy) โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะจัดสรรเงินให้จำนวน 50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนอีก 50 ล้านดอลลาร์จะมาจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (Skills Development Fund)
มาตรการแก้ไขปัญหาการว่างงานในประเทศของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ สรุปได้ดังนี้
- จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ตกงาน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายจ้างและองค์กรต่าง ๆ จะร่วมมือกันหางานใหม่ให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง
- จัดตั้ง Employment Facilitation Team เพื่อช่วยเหลือฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของแรงงานที่จะป้อนเข้าสู่ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัว
หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังถดถอยอยู่เช่นนี้ รัฐบาลสิงคโปร์อาจจะต้องประกาศปรับลดอัตราเงินกองทุนเลี้ยงชีพส่วนกลาง (Central Provident Fund : CPF) ในส่วนที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 20 ของเงินเดือนลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการดังกล่าวในขณะนี้
ข้อสังเกต
1. ปัญหาแรงงานได้กลายเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากความห่วงกังวลและความกระตือรือร้นต่อเรื่องดังกล่าวของผู้นำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด รัฐบาลสิงคโปร์มีเป้าหมายหลักในขณะนี้ คือ เร่งแก้ไขปัญหาการว่างงาน รวมทั้งรักษาความสามารถในการแข่งขันและลดต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจอย่างไรก็ตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาค่าเงินตกต่ำลง ทำให้สิงคโปร์สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
2. แนวนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ที่มุ่งสนับสนุนและชักจูงให้ชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในสิงคโปร์มากขึ้น ได้ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจในหมู่ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลสิงคโปร์ควรจะให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาแรงงานในประเทศมากกว่านอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลยังไม่สอดคล้องกับปัญหาการว่างงานที่มีเพิ่มมากขึ้นด้วย
3. โอกาสของแรงงานไทยที่จะเข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างของสิงคโปร์ (ซึ่งมีสัดส่วนของการใช้แรงงานต่างชาติมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ) นับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างสิงคโปร์ (Construction Industry Development Board : CIDB) ดังนั้น ทางการไทยจึงต้องเร่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพแรงงานไทยในปัจจุบันให้เป็นแรงงานมีฝีมือและกึ่งฝีมือ เพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการของตลาดแรงงานในสิงคโปร์ ซึ่งขณะนี้สิงคโปร์ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณแรงงานมีฝีมือได้มากนัก เนื่องจากแรงงานต่างชาติส่วนใหญ่มักจะไม่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ CIDB --จบ--
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/30 พฤศจิกายน 2541--