แท็ก
รัฐมนตรี
การประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy- ACMECS) ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ACMECS Ministerial Meeting) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามเข้าร่วมด้วยที่ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำ ACMECS ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ณ ทำเนียบรัฐบาล สาระสำคัญของการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานภายใต้กรอบ ACMECS ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินความร่วมมือในอนาคต และเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ศกนี้
2. ที่ประชุมฯ ได้หารือและได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับถ้อยคำของร่างปฏิญญาสองฉบับ ซึ่งผู้นำจะออกแถลงการณ์ร่วมกันเป็นผลการประชุม ACMECS ในครั้งนี้ ได้แก่ ร่างปฏิญญาการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 และร่างปฏิญญาว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออื่นๆ
3. ที่ประชุมฯ ให้การต้อนรับเวียดนามที่ได้เข้าร่วมการประชุม ACMECS ในระดับผู้นำเป็นครั้งแรก และแสดงความขอบคุณเวียดนามที่ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำในครั้งต่อไปในช่วงปลายปี 2550
4. ที่ประชุมฯ เห็นพ้องร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคติดต่ออื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบตรวจสอบ ป้องกัน และการดำเนินการด้านสาธารณสุข และสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาการใช้วัคซีนในมนุษย์ เพื่อป้องกันการระบาด
5. ที่ประชุมฯ มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) จัดตั้งคณะทำงานทวิภาคีแบบรัฐต่อรัฐขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างความมั่นใจในการลงทุน Contract Farming และแนวทางการสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อนำไปสู่การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในอนาคต ทั้งนี้ Contract Farming จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและเป็นประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากร และการดำเนินการเรื่องนี้จะกระทำโดยการวางแผนระยะยาว โอกาสนี้ที่ประชุมฯ ยังได้ขอบคุณการไทยที่ขยายระบบการค้าเสรีฝ่ายเดียวให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกรายการภายใต้ระบบ Contract Farming
6. ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค โดยไทยได้เสนอที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย สบู่ดำ เพื่อใช้ในการพัฒนาพลังงานทางเลือก และการสร้างความเชื่อมโยงในระบบไฟฟ้าในอนุภูมิภาค โดยคำนึง ถึงความเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเทศสมาชิก
7. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ร่วมกันจัดทำการทบทวนกฎ/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างสมาชิกร่วมกัน อาทิ ข้อจำกัดในการส่งออกสินค้า โดยมอบหมายให้ SOM ดำเนินการต่อไป
8. ที่ประชุมฯ แสดงความยินดีต่อ 1) การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทย-กัมพูชาในการจัดทำโครงการนำร่อง ACMECS Single Visa ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค 2) การจัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านอาชีวศึกษาระหว่างไทยกับเวียดนาม 3) การเสนอตัวจัด ACMECS Festival โดยกัมพูชาในปี 2549 และ 4) ข้อเสนอในการจัดการอบรมเรื่อง inland waterway ของเวียดนาม
9. ที่ประชุมฯ เห็นชอบ concept paper ของไทย 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการไบโอดีเซลระดับชุมชุน 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) การพัฒนาระบบ E-learning และ 4) การจัดทำระบบ E-Health (telemedicine) และได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ให้ศึกษาโครงการดังกล่าวในรายละเอียดในระดับคณะทำงานต่อไป
10. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ SOM จัดประชุม ACMECS Coordination Working Group ขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นประจำทุก 2 เดือน โดยสถานเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกฯ ส่งผู้แทนผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานและติดตามการดำเนินงานในกลุ่มความร่วมมือต่างๆ
11. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ SOM จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในช่วงต้นปี 2549 ที่ประเทศไทย โดยมีลาวเป็นประธาน เพื่อปรับปรุง Plan of Action ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ACMECS ของเวียดนาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ACMECS Ministerial Meeting) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามเข้าร่วมด้วยที่ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำ ACMECS ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ณ ทำเนียบรัฐบาล สาระสำคัญของการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานภายใต้กรอบ ACMECS ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินความร่วมมือในอนาคต และเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ศกนี้
2. ที่ประชุมฯ ได้หารือและได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับถ้อยคำของร่างปฏิญญาสองฉบับ ซึ่งผู้นำจะออกแถลงการณ์ร่วมกันเป็นผลการประชุม ACMECS ในครั้งนี้ ได้แก่ ร่างปฏิญญาการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 และร่างปฏิญญาว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออื่นๆ
3. ที่ประชุมฯ ให้การต้อนรับเวียดนามที่ได้เข้าร่วมการประชุม ACMECS ในระดับผู้นำเป็นครั้งแรก และแสดงความขอบคุณเวียดนามที่ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำในครั้งต่อไปในช่วงปลายปี 2550
4. ที่ประชุมฯ เห็นพ้องร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคติดต่ออื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบตรวจสอบ ป้องกัน และการดำเนินการด้านสาธารณสุข และสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาการใช้วัคซีนในมนุษย์ เพื่อป้องกันการระบาด
5. ที่ประชุมฯ มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) จัดตั้งคณะทำงานทวิภาคีแบบรัฐต่อรัฐขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างความมั่นใจในการลงทุน Contract Farming และแนวทางการสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อนำไปสู่การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในอนาคต ทั้งนี้ Contract Farming จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและเป็นประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากร และการดำเนินการเรื่องนี้จะกระทำโดยการวางแผนระยะยาว โอกาสนี้ที่ประชุมฯ ยังได้ขอบคุณการไทยที่ขยายระบบการค้าเสรีฝ่ายเดียวให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกรายการภายใต้ระบบ Contract Farming
6. ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค โดยไทยได้เสนอที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย สบู่ดำ เพื่อใช้ในการพัฒนาพลังงานทางเลือก และการสร้างความเชื่อมโยงในระบบไฟฟ้าในอนุภูมิภาค โดยคำนึง ถึงความเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเทศสมาชิก
7. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ร่วมกันจัดทำการทบทวนกฎ/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างสมาชิกร่วมกัน อาทิ ข้อจำกัดในการส่งออกสินค้า โดยมอบหมายให้ SOM ดำเนินการต่อไป
8. ที่ประชุมฯ แสดงความยินดีต่อ 1) การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทย-กัมพูชาในการจัดทำโครงการนำร่อง ACMECS Single Visa ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค 2) การจัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านอาชีวศึกษาระหว่างไทยกับเวียดนาม 3) การเสนอตัวจัด ACMECS Festival โดยกัมพูชาในปี 2549 และ 4) ข้อเสนอในการจัดการอบรมเรื่อง inland waterway ของเวียดนาม
9. ที่ประชุมฯ เห็นชอบ concept paper ของไทย 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการไบโอดีเซลระดับชุมชุน 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) การพัฒนาระบบ E-learning และ 4) การจัดทำระบบ E-Health (telemedicine) และได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ให้ศึกษาโครงการดังกล่าวในรายละเอียดในระดับคณะทำงานต่อไป
10. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ SOM จัดประชุม ACMECS Coordination Working Group ขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นประจำทุก 2 เดือน โดยสถานเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกฯ ส่งผู้แทนผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานและติดตามการดำเนินงานในกลุ่มความร่วมมือต่างๆ
11. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ SOM จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในช่วงต้นปี 2549 ที่ประเทศไทย โดยมีลาวเป็นประธาน เพื่อปรับปรุง Plan of Action ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ACMECS ของเวียดนาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-